SMT อาจสดใสขึ้น
ในอดีต SMT มีข้อจำกัดทั้งในแง่การตลาดที่เดิมทำตลาดผ่านตัวแทนแห่งเดียวในสหรัฐ พึ่งพิงลูกค้าน้อยราย ความสามารถในการต่อรองต่ำ มีมาร์จิ้นน้อย และไม่สามารถเข้าถึงบางตลาด ส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทไม่แน่นอน บางปีมีกำไร และบางปีขาดทุนเป็นอย่างนี้เรื่อยมา
–คุณค่าบริษัท–
ในอดีต บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SMT มีข้อจำกัดทั้งในแง่การตลาดที่เดิมทำตลาดผ่านตัวแทนแห่งเดียวในสหรัฐ พึ่งพิงลูกค้าน้อยราย ความสามารถในการต่อรองต่ำ มีมาร์จิ้นน้อย และไม่สามารถเข้าถึงบางตลาด ส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทไม่แน่นอน บางปีมีกำไร และบางปีขาดทุนเป็นอย่างนี้เรื่อยมา
ส่วนฐานะบริษัทในอนาคตอาจเปลี่ยนไปในทางที่ดี โดยเฉพาะทางการตลาด เมื่อบริษัทมีความสามารถในทางการเข้าถึงลูกค้าใหม่มากขึ้น จากเข้าเป็นพันธมิตรกับ บ. Design House และ Global Sourcing รวม 5 รายในช่วงที่ผ่านมา และเริ่มชัดเจนว่าฐานทางการตลาดกว้างขึ้น จากเดิมมีลูกค้าเพียง 6 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Hard Disk และ Gross Margin ไม่เกิน 5%
ว่าแล้วล่าสุดตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 ปี 58 ถึง ไตรมาส 4 ปี 58 เริ่มผลิตสินค้า Value Add มีมาร์จิ้นสูงให้ลูกค้า 3 ราย คิดเป็นรายได้ที่เข้ามาในปีนี้ราว 200 ล้านบาท โดยมีไฮไลต์ที่เป็นพิเศษบริการแบบครบวงจร คือ 360 Camera ที่ติดขัดเรื่องชิ้นส่วนจากต่างประเทศทำให้ส่งมอบได้น้อยกว่าคาด แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีพิสูจน์ได้ว่า SMT ทำงานระดับ System Assembly และ Box Build ได้ ขณะที่ลูกค้าใหม่ในมือที่ผ่านการเสนอราคาแล้วและมีแผนผลิตในปี 59 มีอีก 7 ราย และอยู่ระหว่างเจรจาเสนอราคาอยู่อีก 8 ราย
ด้วยแนวโน้มเครือข่ายทางการตลาดดีขึ้น นี่จะส่งผลให้บริษัทมีจุดเปลี่ยนไปในทางที่ดี เพราะจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทจะดีขึ้น
แม้ว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2558 บริษัทมีรายได้รวมลดลงเหลือ 1,778.16 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,285.86 ล้านบาท เหตุจากบริษัทมีรายรับจากการขายสินค้าและบริการลดลง และบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทขาดทุนลดลงเหลือ 12.75 ล้านบาท หรือ 0.03 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 44.89 ล้านบาท หรือ 0.107 บาทต่อหุ้น
ขณะที่ผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2558 บริษัทมีรายได้รวมลดลงเหลือ 4,297.22 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4,402.10 ล้านบาท แต่บริษัทขาดทุนลดลงเหลือ 16.69 ล้านบาท หรือ 0.04 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขาดทุน 21.20 ล้านบาท หรือ 0.051 บาทต่อหุ้น
เมื่อวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของบริษัทเพื่อนำมาเป็นหนึ่งในตัวแปรตัดสินใจการลงทุน พบว่าฐานะทางการเงินยังดูดี เพราะบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 1,156.57 ล้านบาท ขณะที่มีหนี้สินหมุนเวียน 1,458.67 ล้านบาท และเมื่อนำมาเปรียบเทียบค่า CURRENT RATIO ได้ที่ระดับ 0.80 เท่าแสดงว่าสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทยังคล่องตัวอยู่
ส่วนปัญหาหนี้สินของบริษัทยังไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง เพราะมีหนี้สินรวมอยู่ที่ 1,507.31 ล้านบาท มาเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้นที่ระดับ 1,779.01 ล้านบาท ได้ค่า D/E อยู่ที่ระดับ 0.85 เท่า ส่วนนี้เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ปัญหาหนี้สินไม่ได้มารบกวนการดำเนินงานของบริษัทแต่อย่างใด
ขณะที่นักวิเคราะห์ บล.ไอร่า มองว่าความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นชัดเจน ยังแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าเหมาะสมที่ 12.20 บาท
…
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
1. MORGAN STANLEY & CO. INTERNATIONAL PLC 34,613,337 หุ้น 8.28%
2. นายเพชร ไวลิขิต 33,900,050 หุ้น 8.11%
3. บริษัท ซีกซ์ อีเอ็มเอส (ประเทศไทย) จำกัด 20,747,981 หุ้น 4.96%
4. น.ส.อรนุช ไชยกุล 15,100,000 หุ้น 3.61%
5. นายนัทธพงศ์ ไชยกุล 14,000,000 หุ้น 3.35%
รายชื่อกรรมการ
1. นาย สมนึก ไชยกุล ประธานกรรมการ
2. นายสมนึก ไชยกุล ประธานกรรมการบริหาร
3. นายพีระพล วิไลวงศ์เสถียรประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
4. นายชอง เคว็น ซัม กรรมการ
5. นางพูนพรรณ ไชยกุล กรรมการ