KBANK แบ่งรับแบ่งสู้.?

หลังจากปล่อยให้นักลงทุนตั้งหน้าตั้งตารอแล้วรอเล่า...ในที่สุดแบงก์สีเขียว ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ก็อดแจ้งเสียมิได้ถึงกระแสข่าวที่จะขายหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (KAsset) หรือ บลจ.กสิกรไทย มูลค่าสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6.7 หมื่นล้านบาท..!!


หลังจากปล่อยให้นักลงทุนตั้งหน้าตั้งตารอแล้วรอเล่า…ในที่สุดแบงก์สีเขียว ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ก็อดแจ้งเสียมิได้ถึงกระแสข่าวที่จะขายหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (KAsset) หรือ บลจ.กสิกรไทย มูลค่าสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6.7 หมื่นล้านบาท..!!

ซึ่งการแจ้งของ KBANK นั้น ก็ไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด เพราะถ้าดูจากถ้อยวลีที่ระบุว่า

“ตามที่มีข่าวว่า บมจ.ธนาคารกสิกรไทย กำลังพิจารณาทบทวนแผนกลยุทธ์ที่มีต่อธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) นั้น ธนาคารขอชี้แจงดังนี้ ธนาคารแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและแนวทางเพิ่มเติมที่จะสร้างประโยชน์ต่อลูกค้า และผู้ถือหุ้นในทุกธุรกิจของธนาคาร รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญของธนาคาร

ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติดังกล่าว ธนาคารอาจจะต้องมีการหารือร่วมกันกับหลายฝ่าย ซึ่งการหารือดังกล่าวนั้น อาจจะไม่ได้ส่งผลให้มีธุรกรรมเกิดขึ้นแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม หากมีธุรกรรมเกิดขึ้น ธนาคารจะเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเวลาที่เหมาะสม”

แหม๊…มันชวนให้ตีความเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจาก KBANK กำลังแบ่งรับแบ่งสู้ใช่ป่ะเนี่ย..?

แต่หาก KBANK ขาย บลจ.กสิกรไทยจริง…นักวิเคราะห์คาดว่า หากขายหุ้นทั้งหมด 100% ณ ราคาตามข่าว จะมีกำไรพิเศษสูงถึง 52,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..!!

ในขณะที่ บลจ.กสิกรไทย ถือเป็นกองทุนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีสาขาครอบคลุมที่เน้นรายย่อย ทำให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) มีศักยภาพในการเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยที่ผ่านมาสามารถปั๊มกำไรให้กับ KBANK ได้เฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 3,100-3,200 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7.6% ของกำไรทั้งปีเชียวนะ…

ทว่าไม่ว่า KBANK จะขายหุ้น บลจ.กสิกรไทย ทั้งหมด 100% หรือขายแค่บางส่วน ก็น่าคิดว่าทำไมต้องขาย..?

ความจำเป็นของ KBANK มองได้ 2–3 กรณี 1) ด้วยโครงสร้างแบงก์ ทำให้ต้องหันมาโฟกัสธุรกิจแบงก์จริง ๆ โดยเฉพาะการมุ่งสู่ยุคการเงินดิจิทัล เลยต้องมีการตัดขายแอสเซทที่เป็น Non-Core Business ออกไป

และ 2) ความจำเป็นเรื่องเงิน โอเค…เรื่องสภาพคล่องอาจไม่ใช่ปัญหาสำหรับ KBANK แต่เงินกองทุนอาจมีความสุ่มเสี่ยง ซึ่งถ้าดูจากหนี้เสีย หรือ NPL ณ สิ้นปี 2564 ที่สูงถึง 100,000 ล้านบาท หากมีปัญหา นั่นหมายถึง ธนาคารจะมีภาระต้องตั้งสำรองฯ อ้วกแตกอ้วกแตนเลยนะ…

เมื่อต้องตั้งสำรองสูงฯ ก็จะทำให้งบไม่ดี แถมเมื่อเศรษฐกิจกลับมา ความสามารถในการปล่อยสินเชื่อก็จะลดลง ทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจไปโดยปริยาย ก็เลยต้องมีการตัดขายแอสเซทออกไป

แต่คาดว่ากำไรที่ได้หากขาย บลจ.กสิกรไทยจริง คงไม่ได้นำมาบุ๊กเป็นกำไรหรอกนะ แต่น่าจะนำไปตั้งสำรองฯ มากกว่า ซึ่งถ้าดูจากสถานการณ์ NPL ในปีนี้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง…ถ้า KBANK ได้เงินก้อนนี้มาใช้ตั้งสำรองฯ ก็คงทำให้ปีนี้ตัวเบาขึ้นเยอะเลย…ว่าป๊ะล่ะ

แต่ก็น่าคิดอีกแหล่ะว่า ระหว่างเงินกองทุน KBANK ที่แข็งแกร่งกับงบการเงินที่สวยหรู…นักลงทุนจะชอบอย่างไหนมากกว่ากัน..!?

เดาไม่ถูกจริง ๆ…

…อิ อิ อิ…

Back to top button