สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 27 เม.ย. 2565

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 27 เม.ย. 2565


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (27 เม.ย.) ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัทไมโครซอฟท์และวีซ่า อย่างไรก็ดี บรรยากาศการซื้อขายในตลาดยังคงถูกกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,301.93 จุด เพิ่มขึ้น 61.75 จุด หรือ +0.19%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,183.96 จุด เพิ่มขึ้น 8.76 จุด หรือ +0.21% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,488.93 จุด ลดลง 1.81 จุด หรือ -0.01%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันพุธ (27 เม.ย.) โดยฟื้นตัวขึ้นหลังจากปรับตัวลง 3 วันติดต่อกัน ขณะที่หุ้นกลุ่มวัสดุพื้นฐานพุ่งขึ้น 4.5% แต่การที่บริษัทก๊าซพรอมของรัสเซียหยุดส่งก๊าซให้กับบัลแกเรียและโปแลนด์ และการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมนีที่ร่วงลงนั้น ยังคงส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการซื้อขาย

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 444.31 จุด เพิ่มขึ้น 3.21 จุด หรือ +0.73%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,445.26 จุด เพิ่มขึ้น 30.69 จุด หรือ +0.48%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,793.94 จุด เพิ่มขึ้น 37.54 จุด หรือ +0.27% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,425.61 จุด เพิ่มขึ้น 39.42 จุด หรือ +0.53%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกในวันพุธ (27 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ และการเปิดเผยแนวโน้มผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน แม้หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ร่วงลง และการร่วงลงของหุ้นเอวีวาซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์อุตสาหกรรมนั้น สกัดกั้นการปรับตัวขึ้นของตลาด

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,425.61 จุด เพิ่มขึ้น 39.42 จุด หรือ +0.53%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (26 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่สต็อกน้ำมันเบนซินและน้ำมันกลั่นปรับตัวลง

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 32 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 102.02 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 33 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 105.32 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนในวันพุธ (27 เม.ย.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐและการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้รับปัจจัยลบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือนหน้า

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 15.4 ดอลลาร์ หรือ 0.81% ปิดที่ 1,888.7 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. 2565

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 8.5 เซนต์ หรือ 0.36% ปิดที่ 23.505 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.7 ดอลลาร์ หรือ 0.19% ปิดที่ 910.4 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 16.60 ดอลลาร์ หรือ 0.76% ปิดที่ 2,195.10 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (26 เม.ย.) ขานรับแนวโน้มที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลว่าเศรษฐกิจของยุโรปจะถูกกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน พุ่งขึ้น 0.63% แตะที่ 102.9540 เมื่อคืนนี้

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0563 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0647 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2541 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2589 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7121 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7147 ดอลลาร์สหรัฐ

ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 128.31 เยน จากระดับ 127.58 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9683 ฟรังก์ จากระดับ 0.9623 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2832 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2799 ดอลลาร์แคนาดา

Back to top button