คุณตลาดในภาวะ Stagflation

ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน ภาวะของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยยามนี้ และตลอดไปจนถึงสิ้นปีหรือต้นปีหน้า จะต้องเข้าสู่แรกปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า Stagflation


ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน ภาวะของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยยามนี้ และตลอดไปจนถึงสิ้นปีหรือต้นปีหน้า จะต้องเข้าสู่แรกปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า Stagflation ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเรียนเศรษฐศาสตร์ทุกคนเกรงกลัวมากเป็นพิเศษ เพราะการที่เงินเฟ้อรุนแรง เกิดขึ้นพร้อมกับการชะงักงันทางเศรษฐกิจ การจ้างงานถดถอย และผลิตภาพของแรงงานต่ำลง…แก้ได้ยากมาก

เรียกว่าต่อให้อาจารย์โกร่งจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาสักสิบคนก็ยากจะ (ดร.วีรพงษ์ รามางกูร) ต้องคงส่ายหน้าไปตาม ๆ กัน

เหตุผลเพราะว่าภาวะ Stagflation นั้นเมื่อเกิดขึ้นมา จะถือเป็นหนึ่งปรากฏการณ์ที่สะท้อนความผิดปกติของเศรษฐกิจ

โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจช่วงใด ๆ ในโลกล้วนมีแนวโน้มของภาวะเงินเฟ้อ หรือเงินฝืด อย่างใดอย่างหนึ่ง

เงินเฟ้อในทางการตลาดสินค้า หมายถึงช่วงเวลาที่ราคาสินค้าเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นรุนแรงต่อเนื่องเพราะ1) เกิดการขาดแคลนสินค้า ที่เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อจากด้านอุปสงค์ หรือ Demand pulled inflation และอีกด้านอุปทาน หรือ Cost-push inflation

การนำเอาคำว่า Stagnation ที่แปลว่าสภาวะหยุดนิ่ง และ Inflation ที่แปลว่าสภาวะเงินเฟ้อรวมเข้าด้วยกัน สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อพุ่ง ของแพงขึ้น แต่สภาวะเศรษฐกิจกลับโตไม่ทันกัน และมีอัตราว่างงานสูงจึงมีความหมายมากกว่าการเล่นคำ

ผลจากภาวะเงินเฟ้อในตลาดสินค้า ส่งผลให้ปริมาณเงินในท้องตลาดมากกว่าปริมาณสินค้า ทางออกของการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อจึงเป็นการลดปริมาณเงินหมุนเวียนในตลาดลงไป และเพิ่มจำนวนสินค้าในท้องตลาดลงไปส่วนเงินฝืดเกิดขึ้นจากราคาสินค้าลดลงและในทางตลาดเงินก็เพื่อลดปริมาณเงินที่หมุนเวียนในท้องตลาดลงไป

ภาวะดีที่กล่าวมาข้างต้น เกิดขึ้นและมีทางแก้ของมันตายตัว โดยรัฐบาลในขณะนั้นจะงัดเอามาตรการทางการคลังมาแก้ปัญหา แต่ภาวะเงินเฟ้อสูง แต่การจ้างงานต่ำแก้ยากมากเพราะมีลักษณะเสมือนคนไข้ที่เป็นทั้งเบาหวานและโรคหัวใจพร้อมกัน แก้ไขยากมาก

ในอดีตที่ผ่านมา โลกเคยเผชิญกับภาวะ Stagflation ร้ายแรงหลังจากวิกฤตราคาน้ำมันพุ่งขึ้นครั้งแรกช่วงปี 2518-2519 ซึ่งทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่วจากภาวะ “ข้าวยาก หมากแพง” แต่หลังจากนั้นก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาอีกจนกระทั่งปีนี้

ภาวะ Stagflation ครั้งรุนแรงที่สุดครั้งแรกในขณะนั้นอัตราว่างงานสูง 9% ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อกลับพุ่งสูงกว่าเป็น 12% ซึ่งครั้งนั้นมีที่มาจากราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ราคาสินค้าและบริการกลับแพงขึ้น

ครั้งนี้ ต้นทุนการผลิตสินค้าทุนที่ทำจากน้ำมันมีราคาสูงขึ้น ราคาปุ๋ยเคมีที่เพิ่มขึ้นกว่า 120% และราคาอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นกว่า 100% ทำให้ราคาอาหารแพงขึ้นจน “ห้ามไม่หยุด ฉุดไม่อยู่” ในขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกยังต่ำติดพื้น จะยิ่งทำให้ภาวะ Stagflation เลวร้ายยิ่งขึ้น

กรณีอย่างนี้ บริษัทที่ได้รับประโยชน์จากภาวะ Stagflation จะหาได้ยากกว่าภาวะปกติ และราคาหุ้นจะผันผวนไปตามสถานการณ์ทางอารมณ์ของคุณตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

กลยุทธ์ของการลงทุนในตลาดหุ้นยามนี้จึงมีคำแนะนำดังนี้ (ไม่ว่าคำแนะนำเป็นเรื่องถูกต้องแค่ไหนแต่การพิสูจน์คำแนะนำก็เป็นความเสี่ยงชนิดหนึ่ง) คือ

* อาจต้องมองหาสินทรัพย์การลงทุนที่ได้ประโยชน์เงินเฟ้อ เช่น สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ และหุ้นวัฏจักร เช่น ธุรกิจพลังงานและธนาคาร

* สังเกตได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นสินทรัพย์การลงทุนที่อาศัยความรู้ความเข้าใจที่ค่อนข้างเฉพาะทาง และจำเป็นที่จะต้องติดตามข่าวสารจากตลาดการลงทุนอย่างใกล้ชิดควบคู่กันไปด้วย

* ถึงแม้ในมุมของนักลงทุน การปรับพอร์ตการลงทุนอาจเป็นเรื่องที่ทำได้เพียงปลายนิ้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่าการรับมือและแก้ไขปัญหา Stagflation นั้นเกินกำลังของปัจเจกชนอย่างเรา ๆ จึงเป็นทั้งหน้าที่และบทพิสูจน์ความสามารถของภาครัฐในการดำเนินนโยบาย

Back to top button