Cover short หุ้นสีสันยามตลาดเริ่มฟื้นจากข่าวร้าย

ในช่วงที่ตลาดหุ้นไทย ได้รับผลกระทบจากตัวเลขเงินเฟ้อ ต้นทุนพลังงาน ค่าเงินบาทอ่อน รวมถึง แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ย


ในช่วงที่ตลาดหุ้นไทย ได้รับผลกระทบจากตัวเลขเงินเฟ้อ ต้นทุนพลังงาน ค่าเงินบาทอ่อน รวมถึง แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ย

สี่ประเด็นหลักนี้เป็นตัวกดดันที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยเกิดความผันผวนและกดดันให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา

การปรับตัวลดลงของราคาหุ้นรายตัว เกิดได้ 2 กรณี 1.การเทขายหุ้นที่อยู่ในมือของนักลงทุน 2.การยืมหุ้นจากโบรกเกอร์ (SBL) มาขายก่อนโดยที่ตนเองไม่มีหุ้นในครอบครอง ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นในกลุ่ม SET50

ในกรณีแรกถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าหากนักลงทุนไม่มั่นใจว่าตลาดหุ้นจะสามารถยืนหยัด หรือขึ้นไปต่อได้ ก็จะมีแรงเทขายออกมา

ในกรณีที่สอง จะเป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ หากนักลงทุนมีความมั่นใจว่าภาพรวมของตลาดหุ้นเริ่มที่จะอ่อนแอ สามารถไปหาโบรกเกอร์ เพื่อยืมหุ้นมาทำการขายออกไปก่อน (SBL) หรือในอีกภาษาหนึ่งจะเรียกว่า “ยืมหุ้นมา short”

จากนั้นค่อยซื้อหุ้นคืนในจำนวนที่เท่ากันกับที่ยืมมาขายออกไปก่อน ในราคาที่ถูกกว่าจะทำให้ ได้กำไรจากการทำ SBL

สำหรับช่วงนี้เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นเริ่มซึมซับข่าวร้ายต่าง ๆ ไปหมดแล้ว การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นรายตัวก็สามารถเกิดขึ้นได้ 2 กรณีเช่นกัน

1.นักลงทุนกลับมาซื้อหุ้นด้วยเงินสด หลังจากที่ก่อนหน้านี้เทขายหุ้นออกมาเพื่อลดความเสี่ยง หรือความไม่แน่นอนของตลาดหุ้น

2.นักลงทุนที่ได้ยืมหุ้นมาทำการ SBL ไปก่อนหน้านี้ เมื่อเห็นว่าตลาดหุ้นคงไม่ไปมากกว่านี้แล้ว จึงทำการซื้อหุ้นกลับคืน (cover short) เพื่อส่งมอบให้กับโบรกเกอร์ก่อนที่ราคาหุ้นตัวนั้นจะปรับตัวสูงกว่าต้นทุนที่ได้ยืมมาขายก่อนหน้านี้

สรุปความก็คือ ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้น หรือลง เกิดจาก1.การซื้อ 2.การขาย 3.การยืมหุ้นมาทำ SBL 4.การ cover short

อย่างที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นเริ่มฟื้นตัวจากข่าวร้าย นอกเหนือจากการกลับมาซื้อหุ้นตัวด้วยเงินสดของนักลงทุนแล้ว

หุ้นที่อยู่ในข่าย หรือเป็นเป้าหมายที่ถูก ทำการ short ออกมาหนัก ๆ ในช่วงที่ผ่านมาก็มักจะถูกทำ cover short

การ cover short จะส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่จำเป็นต้องมีข่าวดีอะไรมาซับพอร์ต โดยผู้ที่ทำ SBL ต้องรีบหาหุ้นจำนวนเท่าเดิม มาคืนให้กับโบรกเกอร์ก่อนที่ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นเกินราคาที่ได้ยืมมาขายไปก่อนหน้านี้

สำหรับรายชื่อหุ้นที่มียอดการขาย short หนัก ๆ ตั้งแต่วันที่ 1-21 ก.ค. 2565 มีดังนี้

1.PTT มีมูลค่าการขาย short ออกมา 110.29 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 3,753 ล้านบาท

2.BDMS 96.63 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 2,555 ล้านบาท

3.BANPU 176.31 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 2,209 ล้านบาท

4.PTTEP 13.34 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 2,103 ล้านบาท

5.AOT 28.19 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 1,978 ล้านบาท

6.KBANK 13.50 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 1,951 ล้านบาท

7.JMT 14.07 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 983.56 ล้านบาท

8.SCB 8.44 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 824.61 ล้านบาท

9.JMART 7.29 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 339.83 ล้านบาท

หากตลาดหุ้นฟื้นจริง และทุกคนเชื่อว่าจะดีดกลับ แรง cover short คงจะสร้างสีสันให้ตลาดหุ้นไทยไม่น้อยเลยทีเดียว

Back to top button