7 หุ้นวิ่ง! รับข่าว “แรงงาน” ชงขึ้นค่าจ้าง 5-8% เข้าครม.พรุ่งนี้
7 หุ้นวิ่ง! ได้แก่ SAWAD, TIDLOR, SINGER, KTC, JMT,BE8, CBG รับข่าว “กระทรวงแรงงาน” เสนอขึ้นค่าแรง 5-8% เตรียมเข้าครม.พรุ่งนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (12 ก.ย.65) หลังจากกระทรวงแรงงานเสนอขึ้นค่าแรง ราคาหุ้นกลุ่มการเงินที่ได้รับประโยชน์ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำโดย บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD ล่าสุด ณ เวลา 10:36น. อยู่ที่ระดับ 51.00 บาท บวก 2.25 บาท หรือ 4.62% สูงสุดที่ระดับ 51.25 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 49.25 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 316.15 ล้านบาท
ราคาหุ้น บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR อยู่ที่ระดับ 30.00 บาท บวก 1.25 บาท หรือ 4.35% สูงสุดที่ระดับ 30.00 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 29.00 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 144.84 ล้านบาท
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER อยู่ที่ระดับ 47.00 บาท บวก 0.75 บาท หรือ 1.62% สูงสุดที่ระดับ 47.00 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 46.50 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 36.85 ล้านบาท
บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC อยู่ที่ระดับ 60.75 บาท บวก 0.25 บาท หรือ 0.41% สูงสุดที่ระดับ 61.00 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 60.00 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 150.44 ล้านบาท
บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT อยู่ที่ระดับ 78.25 บาท บวก 0.75 บาท หรือ 0.97% สูงสุดที่ระดับ 78.75 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 77.50 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 209.28 ล้านบาท
บริษัท เบริล 8 พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ BE8 อยู่ที่ระดับ 65.50 บาท บวก 1.25 บาท หรือ 1.95% สูงสุดที่ระดับ 66.25บาท ต่ำสุดที่ระดับ 65.00 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 48.73 ล้านบาท
บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG อยู่ที่ระดับ 99.50 บาท บวก 0.50 บาท หรือ 0.51% สูงสุดที่ระดับ 99.75 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 99.25 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 104.77 ล้านบาท
โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ย.65 เพื่อเห็นชอบขึ้นค่าแรงและค่าจ้างขั้นต่ำปี 65 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง โดยจะให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อวันที่ 29 ส.ค.65 ที่ผ่านมา มติคณะกรรมการค่าจ้าง กระทรวงแรงงาน ได้สรุปผลปรับค่าแรงขั้นต่ำปีนี้ โดยปรับขึ้นสูงสุด 354 บาท ต่ำสุด 328 บาท หรือเพิ่มขึ้นราว 5-8%
ทั้งนี้ บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า หากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ รวมถึงอาจกระทบต่อกำไรกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูง คือ กลุ่มโรงแรม, ร้านอาหาร, รับเหมาก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ส่วนที่กระทบจำกัด คือ กลุ่มค้าปลีก, ชิ้นส่วน และ กลุ่มเกษตรอาหาร
ส่วนกลุ่มได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มความเสี่ยงด้านเครดิตที่ต่ำลงของกลุ่มลูกค้าฐานราก คือ กลุ่มเช่าซื้อ ,บริหารหนี้, ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลัง และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี ได้แก่ SINGER, TIDLOR, KTC, JMT, CBG, OSP, BE8, BBIK และ IIG เช่นเดียวกับ บล.กสิกรไทย และ บล.ดาโอ (ประเทศไทย) ที่ระบุว่า การปรับขึ้นค่าแรงดังกล่าวเป็นบวกต่อ “กลุ่มการเงิน” ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ได้ดีขึ้น มีโอกาสเป็น NPL ที่ต่ำลง ส่วนกลุ่มรับเหมาจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการปรับขึ้นค่าแรง โดยถือเป็นข่าวดีของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน แต่ก็เป็นข่าวร้ายสำหรับผู้ประกอบการบางส่วน ก็คงต้องมาชั่งน้ำหนักว่าฝั่งไหนจะสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจได้