บอร์ด PSTC จัดเต็ม! เพิ่มทุน-ออกวอแรนต์-ซื้อกิจการ-ลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่ม

บอร์ด PSTC ไฟเขียวเข้าซื้อกิจการธุรกิจโรงไฟฟ้า 2 แห่ง -ลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล 3 แห่ง รวมมูลค่าไม่เกิน 962 ลบ.พร้อมอนุมัติเพิ่มทุนจำนวน 2,680,297,833 หุ้น แบ่งเป็นจำนวนไม่เกิน 2,211,419,375 หุ้น เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วน (Right Offering) จำนวนไม่เกิน 442,283,875 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิ PSTC-W1 ที่บริษัทจะออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่จองซื้อและได้รับจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Right Offering)และจำนวนไม่เกิน 26,594,583 หุ้น เพื่อรองรับการปรับอัตราการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ PSTC-ESOP


บริษัท เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PSTC ระบุว่า ตามที่ บริษัทได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นสมควรให้เสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 เพื่อพิจารณาอนุมัติให้บริษัทและบริษัทย่อยของบริษัทลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจพลังงานทางเลือก

โดยพิจารณาอนุมัติให้บริษัท (ก) เข้าซื้อหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดในบริษัท อรัญ เพาเวอร์ จำกัด (“อรัญเพาเวอร์”) ผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย ซึ่งมีกำลังการผลิต 4 เมกะวัตต์ (MW) โดยมีที่ตั้งโครงการอยู่ที่ ตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) เมื่อเดือนมีนาคม 2557 ในราคาเบื้องต้นประมาณ 228.3 ล้านบาท จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งมิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท

อนึ่ง การเข้าทำรายการดังกล่าวข้างต้นมีผลทำให้อรัญเพาเวอร์มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัท และ (ข) ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนของอรัญเพาเวอร์ อีกเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 176.7 ล้านบาท เพื่อให้อรัญเพาเวอร์ใช้คืนเงินกู้ยืม ซื้อที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ขายหุ้นอรัญเพาเวอร์ เพื่อปรับปรุงสินทรัพย์ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ มูลค่าเงินลงทุนในข้อ (ก) และ (ข) ข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งโครงการจะไม่เกิน 405 ล้านบาท

นอกจากนี้ อรัญเพาเวอร์ยังมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอีกหนึ่งฉบับ ซึ่งมีขนาดพลังงานไฟฟ้าสูงสุด 4 เมกะวัตต์ (MW) ณ ปัจจุบันอรัญเพาเวอร์ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการใดๆ โดยบริษัทคาดว่าจะดาเนินการในอนาคต ทั้งนี้ สัญญาซื้อขายไฟฟ้าดังกล่าว มีกำหนดวันเริ่มขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (SCOD) ในวันที่ 30 กันยายน 2560

พร้อมทั้งพิจารณาอนุมัติให้บริษัท (ก) เข้าซื้อหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดในบริษัท เศรษฐีสุพรรณ ไบโอกรีน เพาเวอร์ จากัด (“เศรษฐีสุพรรณ”) ผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 เมกะวัตต์ (MW) โดยมีที่ตั้งโครงการอยู่ที่ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) เมื่อเดือนตุลาคม 2558 ในราคาเบื้องต้นประมาณ 43.4 ล้านบาท จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งมิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท

อนึ่ง การเข้าทำรายการดังกล่าวข้างต้นมีผลทำให้เศรษฐีสุพรรณมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัท และ (ข) ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนของเศรษฐีสุพรรณ อีกเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 153.6 ล้านบาท เพื่อให้เศรษฐีสุพรรณใช้คืนเงินกู้ยืม ซื้อที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ขายหุ้นเศรษฐีสุพรรณ เพื่อปรับปรุงสินทรัพย์ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ มูลค่าเงินลงทุนในข้อ (ก) และ (ข) ข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งโครงการจะไม่เกิน 197 ล้านบาท

อีกทั้งพิจารณาอนุมัติให้บริษัท ไบโอโกกรีน จำกัด (“ไบโอโกกรีน”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนประมาณร้อยละ 99.7 ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลกำลังการผลิต 990 กิโลวัตต์ (kW) ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันไบโอโกกรีนได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้ว (ทั้งนี้ ไบโอโกกรีนอยู่ระหว่างดาเนินการเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากจังหวัดตรังไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช) โดยมีมูลค่าเงินลงทุนเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 120 ล้านบาท

พร้อมอนุมัติลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลกาลังการผลิต 990 กิโลวัตต์ (kW) ในจังหวัดสุโขทัย ซึ่งปัจจุบันไบโอโกกรีนได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้ว โดยมีมูลค่าเงินลงทุนเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 120 ล้านบาท

รวมถึงอนุมัติลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลกาลังการผลิต 990 กิโลวัตต์ (kW) ในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งปัจจุบันไบโอโกกรีนได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้ว โดยมีมูลค่าเงินลงทุนเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 120 ล้านบาท

พ้รอมกันนี้ ที่ประชุมยังอนุมติการออกและจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 1 (“ใบสาคัญแสดงสิทธิ PSTC-W1”) จำนวนไม่เกิน 442,283,875 หน่วย ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่จองซื้อและได้รับจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Right Offering) ในอัตราส่วน 5 หุ้นสามัญเพิ่มทุน ต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยไม่คิดมูลค่าและมีราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสำคัญแสดงสิทธิ PSTC-W1 ดังกล่าว เท่ากับ 0.50 บาทต่อหุ้น

ขณะเดียวกันอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทจำนวน 2,680,297,833 หุ้น ซึ่งมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท โดยจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทจำนวนไม่เกิน 2,211,419,375 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วน (Right Offering) โดย เสนอขายในอัตราส่วน 1 หุ้นสามัญเดิม ต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ ในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.40 บาท

ส่วนหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทจำนวนไม่เกิน 442,283,875 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ PSTC-W1 ที่บริษัทจะออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่จองซื้อและได้รับจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Rights Offering) ตามที่ได้รับอนุมัติในวาระที่ 3 และจำนวนไม่เกิน 26,594,583 หุ้น เพื่อรองรับการปรับอัตราการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ PSTC-ESOP

 

Back to top button