GPSC ใหญ่กว่าที่คิด.!
เมื่อวันที่ 24 ส.ค.65 GPSC หนึ่งใน 5 บริษัทลูกที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มปตท. ประกาศจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาใหม่เอี่ยมอ่อง 2 บริษัทด้วยกัน...
ยังจำได้มั้ย จำได้หรือเปล่า..? ว่าเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2565 บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC หนึ่งใน 5 บริษัทลูกที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มปตท. ประกาศจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาใหม่เอี่ยมอ่อง 2 บริษัทด้วยกัน…
บริษัทแรกชื่อว่า บริษัท ยูรัสพลัส จำกัด (EurusPlus) ส่วนอีกบริษัทชื่อ บริษัท โบรีพลัส จำกัด (BoreePlus) โดยทั้ง 2 บริษัทมีทุนจดทะเบียนเท่ากันที่ 3.5 ล้านบาท..!!
ตอนนั้นดูจากวัตถุประสงค์เบื้องต้นไปลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศ ตามที่ภาครัฐประกาศจะรับซื้อไฟฟ้าเพิ่ม กำลังการผลิตรวม 5,203 เมกะวัตต์ ซึ่งแบ่งเป็น 1) ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) รับซื้อ 335 เมกะวัตต์ 2) พลังงานลม 1,500 เมกะวัตต์ 3) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน 1,000 เมกะวัตต์ และ 4) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 2,368 เมกะวัตต์ นั่นแหละ…
แต่ที่ไหนได้…ใหญ่กว่าที่คิดนะวิ..!!
เพราะล่าสุดไปเตะตากองทุนระดับโลก Copenhagen Infrastructure New Markets Fund I (CI NMF I) ซึ่งเป็นกองทุนภายใต้การบริหารจัดการของกลุ่ม Copenhagen Infrastructure Partners (CIP) บริษัทจัดการกองทุนชั้นนำจากประเทศเดนมาร์ก และเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในหลายภูมิภาคทั่วโลก เช่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐอินเดีย ไต้หวัน สนใจเข้ามาร่วมลงทุนด้วย
โดยกองทุน CI NMF I ได้เข้ามาถือหุ้นสัดส่วน 49% ในบริษัท ยูรัสพลัส และบริษัท โบรีพลัส (เดิม GPSC ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัทสัดส่วน 100%) …
บ่งบอกว่างานนี้ไม่ธรรมดา จะทำให้ GPSC กลายเป็นหุ้นโกอินเตอร์ฯ ทันที..!!
โอเค…จุดเริ่มต้นก็ไปยื่นเสนอขายไฟฟ้าให้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ตามแผนรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 อะนะ
แต่สิ่งที่น่าสนใจ…การได้กองทุน CI NMF I มาเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ คงไม่ได้หยุดอยู่แค่ในประเทศเท่านั้นหรอกมั้ง แต่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของ GPSC ในการขยายไปสู่ทวีปยุโรป และเป็นใบเบิกทางไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกต่อไป จากเดิมโฟกัสแค่ในเอเชียเท่านั้น
นั่นเท่ากับว่า พอร์ตไฟฟ้าของ GPSC นอกจากมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศแล้ว ก็มีพอร์ตต่างประเทศ โครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศอินเดีย กำลังการผลิต 1,897 เมกะวัตต์ (คิดตามสัดส่วนการลงทุนที่ 41.6%) และโครงการวินด์ฟาร์มในไต้หวัน กำลังการผลิตรวม 595 เมกะวัตต์
ต่อไปคงได้เห็นพอร์ตไฟฟ้าในยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ตามมาอีกแหง ๆ…เชื่อขนมกินได้เลย
อย่าลืมว่า เป้าหมายที่ GPSC ต้องพุ่งชน คือการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดในพอร์ตการลงทุนให้มีสัดส่วนมากกว่า 50% ของกำลังการผลิตรวมในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2573 เพื่อก้าวสู่การเป็นบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมพลังงานเพื่อความยั่งยืนระดับโลกนั่นเอง
ว่าแต่ GPSC จะมีเซอร์ไพรส์อีกป๊ะเนี่ย..!?? อยากรู้จัง…
…อิ อิ อิ…