มาถึงจุดนี้ได้ยังไงพลวัต2015
พี/อีของตลาดหุ้นไทยยามนี้ อยู่ที่ระดับ 24 เท่า คงไม่ต้องบอกหรอกว่าแพงหรือถูก เพราะตัวเลขไม่เคยโกหก และยิ่งหากเทียบกับพี/อีของตลาดสำคัญของโลก คงไม่ต้องบอกว่าควรลงทุนในตลาดหุ้นไทยต่อหรือไม่
พลวัต ปี 2015 : วิษณุ โชลิตกุล
พี/อีของตลาดหุ้นไทยยามนี้ อยู่ที่ระดับ 24 เท่า คงไม่ต้องบอกหรอกว่าแพงหรือถูก เพราะตัวเลขไม่เคยโกหก และยิ่งหากเทียบกับพี/อีของตลาดสำคัญของโลก คงไม่ต้องบอกว่าควรลงทุนในตลาดหุ้นไทยต่อหรือไม่
ดัชนีตลาดหุ้นล่าสุดที่ระดับ 1,360 จุด แต่ไม่เร้าใจพอให้ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ มันบอกเชิงสัญลักษณ์ว่า ความสามารถในการดึงดูดเงินทุนต่างชาติของตลาดหุ้นไทยนั้นโรยราอย่างมาก
คำถาม คือ ปัจจัยที่บั่นทอนความสามารถของตลาดหุ้นไทยยามนี้และในอนาคตอันใกล้คืออะไรกันแน่
คำตอบมีหลายปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกันทั้งระดับมหภาคและจุลภาค หากเอาแต่เรื่องหลักๆ จะพบว่ามีแค่ 2 แนวเท่านั้น
– ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยรวมย่ำแย่กัน
– ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน มีแนวโน้มถดถอยหรือย่ำอยู่กับที่ ทำให้โอกาสที่ค่าพี/อีในอนาคตของตลาดอาจจะต่ำลงไปได้อีก
ถึงแม้ว่าตัวเลขของความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจะยังขัดแย้งกันอยู่ เริ่มกันตั้งแต่ เมื่อกลางปีนี้ สภาการศึกษาอ้างถึงผลการศึกษาของ IMD ที่ทำการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันจาก21ประเทศ342 ตัวชี้วัดใน3เป็นข้อมูลสถิติที่ IMD ได้ข้อมูลมาจากองค์กรนานาชาติอาทิ IMF, World Bank, OECD, ILO และข้อมูลจากประเทศสมาชิกและ1 ใน3ของตัวชี้วัดนั้นเป็นข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารภาคธุรกิจทั้งหมดจำนวน6,234คนพบว่าล่าสุดประเทศไทยอยู่อันดับที่30 เพิ่มขึ้น1อันดับจากปี2014 ได้อันดับที่29 และเป็นอันดับที่3 ในประเทศกลุ่มอาเซียนมีอันดับต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซียแต่มีอันดับสูงกว่าฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
นอกจากนั้น การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด แต่ก็เป็นตัวชี้วัดย่อยหนึ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานจาก18 ตัวชี้วัดประเทศไทยอยู่อันดับที่48ดีขึ้นถึง6อันดับจากปี2014ที่อยู่อันดับที่54โดยจุดแข็งที่ทำให้อันดับความสามารถการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศไทยดีขึ้นคือ1) ร้อยละงบประมาณภาครัฐที่ใช้ในการศึกษาต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษา2) ร้อยละของผู้หญิงที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท3) อัตราการไม่รู้หนังสือของประชากรวัย15 ปีขึ้นไปดีขึ้นถึง10 อันดับ
ข้อมูลที่ดูไม่เลวร้ายกี่มากน้อยตรงกันข้ามกับข้อมูลของรองศาสตราจารย์ดร.พสุเดชะรินทร์คณบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเผยผลสำรวจผู้ประกอบการไทยและนักธุรกิจไทยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ถึงดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index : GCI) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม 2558 โดยร่วมกับ WEF (World Economic Forum) พบว่าภาพสะท้อนความสามารถการในการแข่งขันของประเทศไทยในปี 2558 ไทยอยู่ในอันดับที่ 32 ของโลก (จากปี 2557 อยู่อันดับที่ 31) และอยู่ในอันดับที่ 6 ในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 ทั้งนี้ซึ่งยืนยันว่าขีดความสามารถในหลายด้านของไทยจะมีความเข้มแข็ง
เพียงแต่ภาพรวมของจุฬาฯ และWEF มองโลกทางร้ายว่าหากหลังจากนี้ประเทศไทยไม่เร่งที่จะผลักดันนโยบายสร้างความเชื่อถือให้กับประเทศพร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถให้มีความเข้มแข็งและพัฒนาด้านที่ยังด้อยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโอกาสด้านขีดความสามารถของไทยอาจจะถูกปรับลดอันดับลงจากปัจจุบันได้ภายใน 2 ปีนี้และประเทศที่น่ากลัวที่จะเป็นคู่แข่งของไทยด้านการแข่งขันคือเวียดนามที่แนวโน้มการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเวียดนามดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้มีประเด็นที่น่าสนใจคือ สัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อค่า GDP ที่มีค่าสูงถึง 75.6% ได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 18 จาก 140 ประเทศทั่วโลกอันดับดีขึ้นส่วนตลาดต่างประเทศได้รับการประเมิน 6 คะแนนคิดเป็นอันดับที่ 14 และอันดับที่ 5 ในกลุ่มประเทศอาเซียน +3 รองจากประเทศจีนญี่ปุ่นเกาหลีใต้และสิงคโปร์
อุปสรรคซึ่งเป็นปัจจัยลบปี 2558 นี้ของประเทศไทย 3 อันดับได้แก่อันดับ 1.เสถียรภาพของรัฐบาลซึ่งดีขึ้นจากปีที่แล้วโดยมีคะแนนลดลงจาก 21 เหลือเพียง 18.1 คะแนนอันดับ 2.การคอร์รัปชั่นดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก 21.4 เหลือเพียง 12.5 คะแนนและอันดับ 3.ความไม่มีประสิทธิภาพด้านการบริหารของหน่วยงานรัฐลดลงจาก 12.7 เหลือ 12.3 คะแนนถือเป็นส่วนสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนนักธุรกิจต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
ปัจจัยระดับมหภาคดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่และรับรู้อยู่นานแล้วแต่หากนำมาเชื่อมโยงกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นจะพบว่าตัวแปรที่เป็นอุปสรรคที่ยกมา3 แรงหลักล้วนมีบริษัทจดทะเบียนเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้นและมีส่วนบั่นทอนผลประกอบการอย่างมีนัยสำคัญ
ในเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลแม้จะดีขึ้น แต่ประสิทธิภาพย่ำแย่ลงและแนวโน้มการคอร์รัปชั่นที่ตรวจสอบยากขึ้นคือ ประเด็นที่รบกวนความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนอย่างมีนัยสำคัญ
บริษัทจำนวนมากที่มีรายได้จากภาครัฐหรืองานภาครัฐในปีนี้มีผลประกอบการที่ย่ำแย่ลงส่วนหนึ่งเพราะว่ามีการชะลอโครงการของภาครัฐลงไปอย่างมากจากความไม่แน่นอนทางนโยบายของรัฐซึ่งเป็นที่เลื่องลืออย่างมากเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถปฏิเสธได้
ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเรียกร้องและต้องพึ่งพาการลงทุนภาครัฐอย่างเข้มข้นมากเป็นพิเศษเพราะเครื่องจักรด้านการส่งออกที่เคยขับเคลื่อนเศรษฐกิจมายาวนานทำงานย่อหย่อนลงจากเศรษฐกิจโลกที่ย่ำแย่ปี 2559 ยังคงเป็นช่วงเวลาที่จะพิสูจน์อีกครั้งว่าผลประกอบการและความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่อิงกับนโยบายภาครัฐจะฟื้นตัวมาแข็งแกร่งแค่ไหนนี่คือประเด็นสำคัญ
เพื่อที่อีก 1 ปีข้างหน้าเราจะไม่ต้องกลับมาถามคำถามซ้ำซากอีกครั้งว่า “เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง“หากว่าตัวเลขความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนเลวลงกว่าเดิมและพี/อีตลาดหุ้นไทยแพงกว่าเดิมอีก
ถึงเวลานั้นคงต้องโบกมือลาประเทศไทย ตามคำชี้แนะของดร.ก้องเกียรติโอภาสวงการ เมื่อเร็วๆ นี้กันแน่นอน