กทม. เปิด 18 พื้นที่ PM2.5 เกินมาตรฐาน เขต “ตลิ่งชัน” หนักสุด
กทม. เปิด 18 พื้นที่วันนี้ ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ พบเขต “ตลิ่งชัน” ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี หนักสุด มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานผลการตรวจวัด PM 2.5 วันที่ 7 เม.ย. 66 เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 33-57 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 18 พื้นที่ ได้แก่
- เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
- เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
- เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
- สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
- เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
- เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
- เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
- เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
- เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
- เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ในช่วงวันที่ 7-14 เม.ย. 66 จะมีสภาพอากาศเปิดและมีฝนบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
โดยลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง 10% ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (Hot spot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลก บริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ วันที่ 7 เม.ย. จำนวน 2 จุดดังนี้
จุดที่ 1 เวลา 01.58 น. แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก
จุดที่ 2 เวลา 01.58 น. แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก