LEO ผนึก PORT ลุยคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ มั่นใจปีนี้กำไรขั้นต้นพุ่ง 20%

LEO ผนึก PORT ลุยคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิระบบอัจฉริยะรายแรกของไทย คาดตลอดโครงการรับรู้รายได้ 800 ล้านบาท ทุ่มงบลงทุนปีนี้ 400-500 ล้านบาท แย้มไตรมาส 3 ปิดดีล M&A ธุรกิจขนส่งเคมิคอลส์ พร้อมรุกหนักธุรกิจ Non-freight ปักธงเพิ่มสัดส่วน 30% ใน 1-2 ปี มั่นใจปีนี้ดันอัตรากำไรขั้นต้นตามเป้า 15-20%


นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยว่า บริษัทลงนามความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic Cooperation Agreement-SCA) กับ บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) หรือ PORT เปิดโครงการ The 1st Intelligent & Robotic Cold Chain Bonded Warehouse/Logistics Center in Bangkok คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิที่ใช้ระบบ Automation & Robot ระบบอัจฉริยะใช้ Robot ทำงานแทนมนุษย์แห่งแรกของประเทศไทย และยังเป็นพื้นที่ที่ได้รับการอนุมัติจากทางกรมศุลกากรให้เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse)

โดยซึ่งลูกค้าที่มาใช้บริการสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องภาษีนำเข้าของการใช้คลังสินค้าทัณฑ์บนทุกประการ และยังเป็น Bonded Cold Chain Logistics Center ที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางธุรกิจและการค้าของกรุงเทพมหานครมากที่สุด จึงจะเป็นจุดแข็งที่สำคัญของโครงการนี้ในการให้บริการกับผู้นำเข้าสินค้าที่เป็นสินค้าแช่แข็งและควบคุมอุณหภูมิทุกประเภท ในการนำเข้าสินค้ามาเพื่อจัดเก็บและกระจายสินค้าให้กับซุปเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม และร้านอาหารต่างๆในกรุงเทฑและปริมณฑล

สำหรับโครงการ The 1st Intelligent & Robotic Cold Chain Bonded Warehouse/Logistics Center in Bangkok ตั้งอยู่ในบริเวณท่าเทียบเรือสหไทยฯ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภายใต้งบการลงทุน 232 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเช่าทรัพย์สินตลอดระยะเวลาอายุสัญญา 72 ล้านบาท และเงินลงทุนในการพัฒนาโครงการ 160 ล้านบาท และคาดว่าจะสร้างรายได้อย่างน้อย 800 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 14 ปี

อีกทั้งด้วยจุดเด่นของบริษัทที่มีการให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรสามารถให้บริการขนส่งสินค้าธรรมดา และสินค้าที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ จึงมีความพร้อมในการให้บริการ คาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ในไตรมาส 1/67 นี้ ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในแผนงานที่ LEO จะพัฒนาในส่วนของธุรกิจ Non-freight (นอน-เฟรต) ในทุกมิติ และเข้ามาช่วยเสริมให้บริษัทฯ มีการเติบโตทางรายได้และผลประกอบการอย่างก้าวกระโดด โดยตั้งเป้าสัดส่วนรายได้ธุรกิจ Non-freight เพิ่มเป็น 30% ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า

“ความร่วมมือกับ PORT ในครั้งนี้ เป็นการให้บริการคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า (Warehouse / Logistics Center) ที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิ เพื่อเป็นการเปิดใช้คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ระบบ Automation & Robot ระบบอัจฉริยะ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และใช้ Robot ทำงานแทนมนุษย์ ภายในห้องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิ 0 -25 องศาเซลเซียส ในท่าเรือสหไทยที่เป็นพื้นที่คลังสินค้าทัณฑ์บน  การใช้ ระบบ Automation & Robot นี้จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการลดต้นทุนเรื่องการหาบุคคลากรในระดับแรงงานที่นับวันก็จะยิ่งหายาก และยังทำให้บริษัทฯ สามารถให้บริการที่รวดเร็วและมีความแม่นยำและสนองตอบความต้องการของลูกค้า”

ส่วนแนวโน้มธุรกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าไตรมาส 2/66 จะเริ่มฟื้นตัว เนื่องจากตัวเลขการนำเข้าและส่งออกของประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจะฟื้นตัวแกร่งในครึ่งหลังของปี 66 เนื่องจากเป็นช่วงพีกของการส่งออก และมั่นใจผลงานทั้งปี 66 จะได้รับแรงหนุนจากการเริ่มรับรู้รายได้จากการขนส่งสินค้าทางรางไปยังประเทศจีน, โครงการ JV และการ M&A ซึ่งจะช่วยผลักดันให้อัตรากำไรขั้นต้นเข้าเป้า 15-20%

ขณะที่ปีนี้บริษัทตั้งงบลง 400-500 ล้านบาท โดยในไตรมาส 3/66 เตรียมปิดดีลเข้าซื้อกิจการ(M&A) ซึ่งเป็นธุรกิจขนส่งเคมิคอลส์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการธุรกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศด้าน Chomical Logistics ที่มีการดำเนินการทางธุรกิจในประเทศสิงดโปร์ จีน และฮ่องกง และมีการบริการที่ครอบคลุมทั่วโลก สัดส่วนราว 35% โดยบริษัทดังกล่าวคาดมียอดขายราว 600 ล้านบาทต่อปี โดยตั้งงบลงทุนดีลนี้ประมาณ 150 ล้านบาท และคาดว่าจะเริ่มรับรายได้ในไตรมาส 4/66 โดยล่าสุดวันนี้(7 มิ.ย.66) บริษัทฯได้แจแต่งตั้งบริษัท ไพรัซวอเตอร์ เฮาส์ดูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด ( PwC) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) เพื่อให้ความเห็นดีลซื้อกิจการครั้งนี้

นอกจากนี้ LEO มีแผนที่จะยื่นเรื่องขอการสนับสนุนการลงทุนจากทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนทนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และยังตั้งเป้าที่จะทำให้ Cold Chain Warehouse/Logistics Center แห่งนี้เป็น Green Logistics โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell และมีระบบการบริการจัดการที่สามารถช่วยลดโลกร้อน (Carbon Emission) ได้อีกด้วย

Back to top button