NOAA ชี้โลกจ่อเผชิญภาวะ “เอลนีโญ” ปีนี้ หวั่นกระทบ “ข้าว-น้ำตาล-น้ำมันปาล์ม” ในไทย
NOAA ชี้โลกกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญในปีนี้ อาจกระทบต่อการผลิตน้ำตาล น้ำมันปาล์มและข้าวในอินโดนีเซีย, มาเลเซีย ตลอดจนประเทศไทย
องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ (NOAA) รายงานเมื่อวานนี้ (8 มิ.ย.66) ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญกลับมาแล้วอย่างเป็นทางการและมีแนวโน้มจะทำให้เกิดสภาพอากาศรุนแรงสุดขั้วในปีนี้ ตั้งแต่ไซโคลนเขตร้อนที่จะพัดเข้าหมู่เกาะแปซิฟิก ไปจนถึงฝนตกหนักในอเมริกาใต้ ตลอดจนภัยแล้งในออสเตรเลียและบางพื้นที่ในเอเชีย
ทั้งนี้ รายงานของ NOAA ระบุว่า หลังจากที่โลกเผชิญภาวะลานีญามา 3 ปี ซึ่งมักทำให้อุณหภูมิโลกเย็นลงเล็กน้อย ตอนนี้เอลนีโญจะเข้ามาแทนที่แล้ว ซึ่งทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ด้าน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เอลนีโญเกิดจากน่านน้ำที่อุ่นผิดปกติในแปซิฟิกตะวันออกใกล้ชายฝั่งอเมริกาใต้ และมักจะตามมาด้วยการชะลอตัวหรือการผกผันของอุณหภูมิแถบลมค้า (trade wind) ที่พัดมาจากทางตะวันออก
“ในเดือนพ.ค. ภาวะดังกล่าว เริ่มปรากฏขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิก” NOAA ระบุ
โดยอาจส่งผลให้เกิดสภาพอากาศรุนแรงขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ภัยแล้งไปจนถึงไซโคลน ด้านผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวที่รุนแรงอาจกระทบต่อการผลิตน้ำตาลในอินเดียและไทย และอาจกระทบต่อการเก็บเกี่ยวอ้อยในบราซิล นอกจากนี้ การปลูกกาแฟในเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่อันดับสองของโลกเทรดเดอร์น้ำตาลสหรัฐรายหนึ่งกล่าวว่า “ข่าวนี้อาจทำให้ผู้ซื้อที่รอราคาปรับตัวลงเกิดความวิตกอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม เอลนีโญอาจทำให้ผลผลิตพืชฤดูหนาวในออสเตรเลียลดลง 34% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันปาล์มและข้าวในอินโดนีเซีย, มาเลเซีย ตลอดจนประเทศไทยด้วย