หุ้นมีกำไรเพิ่มหลัง IPO

มีข้อมูลน่าสนใจจาก ตลท. เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประกอบการของ บจ. ที่ไอพีโอเข้ามาทั้งใน SET และ mai ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวน 305 บริษัท


มีข้อมูลน่าสนใจจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ไอพีโอเข้ามาทั้งใน SET และ mai ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2013-2022) จำนวน 305 บริษัท

สัดส่วนที่เข้ามาใน SET กับ mai ค่อนข้างใกล้เคียงกัน

ทว่าจะกระจายตัวในเชิงกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

แต่มีความโดดเด่นในกลุ่ม Services และ Property & Construction ที่มีสัดส่วนจำนวน “บจ.” IPO มากสุด

หุ้นไอพีโอ เมื่อผ่านเกณฑ์ และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แล้ว

พบว่าบริษัทที่เข้า IPO ตลอด 10 ปีที่ผ่านมามีค่าเฉลี่ยการเติบโตของกำไรสุทธิรายปีในช่วง 3 ปีหลังเข้า IPO ค่อนข้างดี

หรือ 65% มีกำไรเฉลี่ยเติบโตทุกปี

และพบ 61% ของบริษัทในกลุ่ม SET100 จำนวน 49% ของบริษัทในกลุ่ม Non-SET100

และ 44% ของบริษัทในกลุ่ม mai ที่เติบโตเฉลี่ยในอัตราที่เกินกว่า 20% ต่อปี

ที่น่าสนใจคือ บจ. ในกลุ่ม Financials และ Resources โดดเด่นมากสุด มีสัดส่วนบริษัท 75-80% ที่มีกำไรเฉลี่ยเติบโตทุกปี

แต่มี 25 บริษัท หรือคิดเป็น 8% ของ บจ. IPO ทั้งหมด ที่มีผลประกอบการรวมขาดทุนในช่วง 3 ปีหลังเข้า IPO

มีข้อมูลเพิ่มว่า หากพิจารณาการเติบโตด้านรายได้หลังจากเข้า IPO

มีจำนวน บจ. ที่รายได้ 3 ปีหลังเข้า IPO เติบโตดีมาก

โดยเกือบ 80% มีรายได้เฉลี่ยเติบโตทุกปี

อีกทั้ง ประมาณ 30% ของ บจ. ที่เข้า IPO ทั้งในตลาด SET และ mai มีรายได้เฉลี่ยเติบโตมากกว่า 20% ต่อปี

ซึ่งในระดับรายอุตสาหกรรมพบว่า 80-90% ของ บจ. ในกลุ่ม Financials Technology Services และ Agro & Food มีรายได้เฉลี่ย 3 ปีหลัง IPO เติบโตทุกปี

อีกมุมหนึ่งที่หลายคนสนใจคือการเติบโตด้านมูลค่าและขนาดของบริษัทหลังเข้าจดทะเบียน IPO

พบด้วยว่าหลังจากบริษัทได้เข้ามาระดมเงินทุนและใช้ประโยชน์จากตลาดทุนเพื่อการขยายธุรกิจแล้ว

ประมาณ 70% ของ บจ. ที่ IPO ในตลาด mai และประมาณครึ่งหนึ่งของ บจ. ที่จดทะเบียนในตลาด SET มี market cap เติบโตดีถึงปัจจุบัน

หากพิจารณารายอุตสาหกรรม

มีกลุ่ม Technology และ Agro & Food มีความโดดเด่น

โดยประมาณ 75% มี market cap ขยายตัวดีถึงปัจจุบัน รองลงมาคือกลุ่ม Services และ Financials ที่ประมาณ 65% มี market cap เติบโตดี

และมี 7 บริษัท คิดเป็น 2% ของ บจ. IPO ทั้งหมด ที่มูลค่า market cap ปัจจุบันหดตัวลงเกินกว่า 25% เมื่อเทียบกับ ณ IPO

นอกจากการมีมูลค่า market cap ที่เติบโตดีขึ้น

ยังพบ บจ. ที่เติบโตจนสามารถย้ายจากตลาด mai ไปที่ตลาด SET ได้ถึง 21 บริษัท คิดเป็น 14% ของ บจ. ที่เข้า IPO ในตลาด mai ทั้งหมดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ที่น่าสนใจคือ เกินกว่าครึ่งหนึ่งของ บจ. ดังกล่าว

พวกเขาใช้เวลาเพียงไม่เกิน 3 ปีเพื่อที่จะเติบโตและได้ย้ายตลาด

และส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Resources และ Services 

การที่บริษัทเข้ามา IPO

นอกจากตัวบริษัทได้ใช้กลไกตลาดทุนเพื่อระดมทุนไปขยายธุรกิจให้เติบโตได้แล้ว

ในมุมนักลงทุน บริษัท IPO เหล่านี้ยังเป็นทางเลือกให้สามารถลงทุนในธุรกิจได้หลากหลาย

นี่เป็นข้อมูลที่ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยแพร่ล่าสุด

ส่วนข้อมูลผลประกอบการของ IPO ในปี 2566 (2023)

คงต้องรอมาดูในช่วงสิ้นปีนี้ว่าจะออกมากันอย่างไร

เพราะส่วนใหญ่ราคาหุ้นร่วงลงต่ำกว่าไอพีโอ

Back to top button