สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 23 ส.ค.2566

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 23 ส.ค.2566


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (23 ส.ค.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นกว่า 200 จุด ขานรับการคาดการณ์ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทอินวิเดีย (Nvidia) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล ในวันศุกร์นี้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,472.98 จุด เพิ่มขึ้น 184.15 จุด หรือ +0.54%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,436.01 จุด เพิ่มขึ้น 48.46 จุด หรือ +1.10% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,721.03 จุด เพิ่มขึ้น 215.16 จุด หรือ +1.59

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันพุธ (23 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะหยุดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.นี้ หลังจากที่มีการเปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่ากิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซนชะลอตัวเกินคาดในเดือนส.ค. โดยเฉพาะในเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรป

ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ระดับ 453.45 จุด เพิ่มขึ้น 1.75 จุด หรือ +0.39%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 7,246.62 จุด เพิ่มขึ้น 5.74 จุด หรือ +0.08%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,728.41 จุด เพิ่มขึ้น 22.79 จุด หรือ +0.15% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,320.53 จุด เพิ่มขึ้น 49.77 จุด หรือ +0.68%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกในวันพุธ (23 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อาจจะไม่ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเป็นเวลานาน หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลบ่งชี้ว่า กิจกรรมการผลิตของอังกฤษอ่อนแอลง

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,320.53 จุด เพิ่มขึ้น 49.77 จุด หรือ +0.68%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพุธ (23 ส.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลว่า การชะลอตัวของกิจกรรมในภาคการผลิตของหลายประเทศจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของสต็อกน้ำมันเบนซินสหรัฐยังทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอของอุปสงค์พลังงานในสหรัฐ

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 75 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 78.89 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 82 เซนต์ หรือ 0.98% ปิดที่ 83.21 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพุธ (23 ส.ค.) ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วันทำการ เนื่องจากการชะลอตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐและการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยหนุนตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล ในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 22.10 ดอลลาร์ หรือ 1.15% ปิดที่ 1,948.10 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 94.20 เซนต์ หรือ 4.02% ปิดที่ 24.392 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 12.70 ดอลลาร์ หรือ 1.37% ปิดที่ 938.20 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 16.60 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 1,281.40 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (23 ส.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ชะลอตัวลงในเดือนส.ค. ขณะที่นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล ในวันศุกร์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.14% แตะที่ระดับ 103.4197

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0858 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0852 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2716 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2738 ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 144.7830 เยน จากระดับ 145.8630 เยน ขณะเดียวกันก็อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8778 ฟรังก์ จากระดับ 0.8800 ฟรังก์, อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3542 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3552 ดอลลาร์แคนาดา และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดน ที่ระดับ 10.9193 โครนา จากระดับ 10.9374 โครนา

Back to top button