ยุทธศาสตร์หนีตายของซาอุดีอาระเบีย
ในวงการฟุตบอลสโมสรระดับโลกปีนี้ซาอุดีอาระเบียสร้างความฮือฮามาที่สุดที่พวกเขาทุ่มเงินชนิดเกินเพดานเพื่อซื้อตัวนักเตะระดับโลก
ในวงการฟุตบอลสโมสรระดับโลกปีนี้ซาอุดีอาระเบียสร้างความฮือฮามากที่สุดที่พวกเขาทุ่มเงินชนิดเกินเพดานเพื่อซื้อตัวนักเตะระดับโลกที่มองหาแหล่งเงินครั้งสุดท้ายก่อนเลิกเตะไปอย่างไม่อั้น โดยเฉพาะนักเตะค่าตัวระดับเหลือเชื่ออย่างเนย์มาร์จูเนียร์ ที่ได้รับรายได้ส่วนตัวเป็นต้นทุนมหาศาล อย่างชนิดที่มองอย่างไรก็ไม่คุ้มและไม่อาจจะปฏิเสธได้ถึงปีละกว่า 1 หมื่นกว่าล้านบาททั้งทางตรงและทางอ้อม
กองทุน PIF ซึ่งบริหารโดยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียคือกลุ่มทุนที่อยู่เบื้องหลังดีลใหญ่ระดับโลกรายล่าสุดที่เป็นเจ้าของทีมฟุตบอลสโมสรระดับกลางของอังกฤษ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ดที่เข้ามาเทกโอเวอร์แล้วทำให้กลายเป็นทีมระดับหัวแถวของพรีเมียร์ลีกได้อย่างรวดเร็ว (financial fair play) ที่กำหนดให้ค่าจ้างนักเตะจะต้องไม่เกินเพดาน และฐานะทางการเงินของสโมสรจะต้องสมดุลกันในทางบัญชีทุกปี
* เหตุผลก็เพราะว่าลีกฟุตบอลซาอุดีอาระเบียนั้นอยู่นอกข้อบังคับของฟีฟ่า จึงทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ภายใต้ข้ออ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Vision 2030 ที่วางแผนไว้ค่อนข้างละเอียดโดยมีเป้าหมาย 3 ด้าน คือ
* 1.An Ambitious Nation: การเพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐ และความรับผิดชอบต่อสังคม 2.Thriving Economy: สร้างระบบการศึกษาที่รองรับงานในอนาคต และเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจทุกระดับ 3.Vibrant Society: พัฒนาศาสนาอิสลามและอัตลักษณ์ของประเทศ เพื่อชีวิตที่มีคุณภาพ
และในแต่ละด้านก็มีเป้าหมายย่อยลงไปอีกหลายชั้น รวมแล้วทั้งหมดมี 96 เรื่องที่พวกเขาต้องบรรลุให้ได้ในอีก 9 ปีข้างหน้า ซึ่งหมดนี้จะกระทำผ่านกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ sovereign wealth fundที่เรียกว่า PIF
และซาอุดีอาระเบียยังมีอีก 4 Giga Projects ที่กำลังดำเนินการอยู่ ทั้งในด้าน 1.การท่องเที่ยวหรู 2.เมืองหลวงแห่งความบันเทิงและกีฬา 3.นวัตกรรมสำหรับโลกใหม่ 4.การสร้างชุมชนและอสังหาริมทรัพย์
PIF คือใคร?
PIF ก่อตั้งในปี 1971 ซึ่งในช่วงแรกก็ถือหุ้นและลงทุนในบริษัทที่เป็นเสาหลักของประเทศ แต่จุดเปลี่ยนสำคัญ คือในปี 2015 ที่ Mohammed bin Salman bin Abdulaziz มกุฎราชกุมาร และประธานของ PIF ได้ปรับโครงสร้าง กลยุทธ์และกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้ PIF นั้นสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
โดยปัจจุบัน PIF มีบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมา 35 บริษัท ใน 13 อุตสาหกรรม และสร้างงานไปมากกว่า 331,000 งาน ลงทุนในกองทุนที่ฝรั่งเศส รัสเซีย และบริษัทเอกชนดัง ๆ เช่น Uber Softbank AccorInvest เป็นต้น
และปัจจุบัน PIF เป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันประเทศตามเป้าหมาย Vision 2030 ที่ตั้งไว้
การที่ PIF ลงทุนนั้นนักเศรษฐศาสตร์ เรียกกันว่าเป็นความพยายามหลบหนีจากอนาคตที่จะต้องเผชิญกับปัญหาเรื่อง dutch dicease ของการที่เศรษฐกิจชาติใดชาติหนึ่งจะพึ่งพารายได้จากทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปแล้วทำให้เกิดปัญหาข้างเคียงตามมาจนกระทั่งนำไปสู่หายนะในท้ายที่สุดเช่นทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่ได้ และทำให้คนในประเทศเกิดอาการของโรคเศรษฐีใหม่อันไม่พึงประสงค์อีกมากมาย
เป้าหมายของซาอุดีอาระเบียจึงอยู่ที่การมองหาอนาคตยุคหลังภาวะน้ำมันที่เคยสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับชาติส่งออกน้ำมันมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งวิกฤตราคาน้ำมันครั้งแรกของโลกเมื่อ ปี ค.ศ. 1973 เป็นต้นมา
การสร้างกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติจึงเป็นการพยายามรุกเพื่อถอยมากกว่า เพราะกลัวว่าจะถูกอนาคตไล่ล่า
การคาดเดาอนาคตของการใช้เงินที่มีอยู่หน้าตักมหาศาล ด้วยความช่วยเหลือของที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนทำนองนี้ อาจจะไม่สำเร็จตามเป้าหมายก็ได้ แต่ก็ถือได้ว่านี่เป็นสิ่งที่ต้องกระทำของรัฐบาลซาอุดีอาระเบียที่ต้องติดตามผลกันต่อไป