BCP อินเตอร์เต็มขั้น.!

...ฉันมาไกล มาไกลเหลือเกิน ฉันเดินทาง มาไกลแสนไกล...น่าจะเป็นประโยคตอกย้ำความสำเร็จของ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น หรือ BCP ได้เป็นอย่างดี


…ฉันมาไกล มาไกลเหลือเกิน ฉันเดินทาง มาไกลแสนไกล…น่าจะเป็นประโยคตอกย้ำความสำเร็จของบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าย้อนความไปเกือบ 30 ปีที่แล้ว BCP เป็นบริษัทที่ประสบภาวะขาดทุน เรียกว่าอาการร่อแร่…เกือบไม่รอดแล้วนะ

แต่มาวันนี้ไม่เพียงแค่รอดเท่านั้น… BCP ยังเติบใหญ่จนกลายเป็นบริษัทข้ามชาติไปแล้ว..!!

โดยช่วง 10 ปีมานี้ จะเห็นพัฒนาการที่สำคัญ ๆ ของ BCP อย่างชัดเจน ไล่มาตั้งแต่การสปินออฟ 2 บริษัทลูกเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มจากลูกคนโต บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG ซึ่งประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ทั้งจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานลม เข้าช่วงปลายปี 2559…

ถัดมาอีก 2 ปี หรือช่วงปลายปี 2561 ก็ส่งลูกคนรอง บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ BBGI ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวภาพ เข้าตลาดฯ เช่นกัน

ขณะที่ ภาพจำของ BCP เดิมจากปั๊มน้ำมัน ก็ขยับขยายไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ทำให้มีครบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ยันปลายน้ำ..!!

ล่าสุดเพิ่งปิดดีลใหญ่ ซื้อบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO มูลค่า 22,605.92 ล้านบาท ทำให้ BCP จากเดิมเป็นบริษัทโลคอล หากินแค่ภายในประเทศ ก็อัปเกรดเป็นบริษัทข้ามชาติโดยสมบูรณ์แบบ…(จากมีกำลังกลั่นเฉลี่ยเพิ่มมาเป็นเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน คงต้องหันไปค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น)

สิ่งที่ตามมา ก็จะมีความเสี่ยงทั้งอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของน้ำมันดิบ เนื่องจากสินค้าของ BCP เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ซึ่งจะผันแปรไปตามวัฏจักร ก็จะยากต่อการควบคุม

เลยเป็นที่มาของการจัดตั้งบริษัท บางจาก ศูนย์บริหารเงิน จำกัด (BCTC) เพื่อประกอบกิจการเป็นศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center : TC) และศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center : IBC) ซึ่งล่าสุดได้ไลเซนส์จากกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว

ที่น่าสนใจ BCTC จะทำหน้าที่ในการบริหารความเสี่ยงทั้งในเรื่อง Hedging จากการผันผวนของค่าเงิน เทรดดิ้ง อนุพันธ์ รวมถึงการลงทุนต่าง ๆ ในต่างประเทศ เสมือนเป็นตัวกลางคัดกรองให้กับ  BCP นั่นแหละ…ซึ่งที่ผ่านมาอาจเป็นแค่แผนกหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในบางจาก แต่ต่อไปจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นบริษัทเต็มรูปแบบ…

ตอกย้ำว่า BCP โกอินเตอร์ฯ เต็มขั้นแล้วน่ะสิ…

ซึ่งถ้าถามว่าจะมีโอกาสเห็น BCP ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ขาดทุนอนุพันธ์ หรือขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน ฯลฯ น้อยลงป๊ะเนี่ย..? อันนี้ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้

แต่ที่พอตอบได้…จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสภาพคล่อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศของกลุ่ม BCP ตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติม ทำให้กลุ่มบริษัทมีต้นทุนที่ลดลง มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ ส่งผลให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น

อ้อ…ถ้านึกภาพไม่ออก บริษัทใหญ่ ๆ ที่ค้าขายกับต่างชาติเป็นหลัก ก็มีบริษัท ศูนย์บริหารเงิน เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT และบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เป็นต้น…ก็คงคล้ายคลึงกัน (มั้ง) ซึ่งจะทำให้ BCP บริหารความเสี่ยงได้ดีขึ้น ในแง่ของการลงทุนก็จะมีความพร้อมมากขึ้น

ส่วนจะช่วยให้ BCP เปล่งรัศมีได้มากน้อยแค่ไหน..? เป็นอีกช็อตที่ต้องติดตามกันต่อไป…

เอาเป็นว่า ใครจะคิดล่ะว่า บางจากในวันนั้น…จะมาไกลได้ขนาดนี้..?

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล ต้องยกให้เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของชายที่ชื่อ “ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช” แม่ทัพใหญ่แห่ง BCP แล้วล่ะ…

…อิ อิ อิ…

Back to top button