นโยบายขายฝันแบบซัพพลายไซด์
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกโรงประกาศนโยบายขายฝันครั้งใหม่เมื่อวานนี้ ด้วยการก่อหนี้ภาครัฐเพิ่มอีก โดยอ้างว่าเป็นเงินกู้เพื่อความยั่งยืน
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกโรงประกาศนโยบายขายฝันครั้งใหม่เมื่อวานนี้ ด้วยการก่อหนี้ภาครัฐเพิ่มอีก โดยอ้างว่าเป็นเงินกู้เพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainability Bond วงเงิน 3 หมื่นลบ. ในปีงบประมาณ 2567 เพื่อทำให้องค์กรที่เกี่ยวข้องดำเนินนโยบายสร้างความยั่งยืน ได้ทำงานตามภารกิจให้ลุล่วงไปได้
ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย เพราะองค์กรที่จะสร้างเศรษฐกิจยั่งยืนที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่ควรก่อหนี้มากมายขึ้นมาในงบประมาณแผ่นดิน
การประกาศก่อหนี้ของรัฐบาลชุดนี้ซึ่งจะต้องถูกซักถามกัน
อย่างมากในการเสนองบประมาณแผ่นดินที่ล่าช้ามากเกินไปแล้วในปีนี้หลังจากการตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า จนทำให้งบประมาณแผ่นดินประจำปี 2567 ที่ควรแล้วเสร็จในเดือน กันยายนไปแล้วต้องเริ่มการนำเสนอวาระแรกต่อรัฐสภาหลังจากที่ปีงบประมาณได้เริ่มไปแล้ว
หากเป็นงบประมาณประจำปีของรัฐบาลสหรัฐฯ มาตรการชัตดาวน์จะต้องเกิดขึ้นไปแล้ว แต่เมืองไทยอย่างประเทศกูมีนั้น สำนักงบประมาณมีความสามารถในการบริหารโดยอาศัยใช้งบประมาณประจำปีก่อนเป็นรากฐาน แล้วให้รัฐบาลสามารถเสนองบประมาณประจำปีตามมาในภายหลังได้
นายกรัฐมนตรี กล่าวอ้างว่า รัฐบาลเข้ามาบริหารในช่วงที่ประเทศเผชิญกับความท้าทายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งปัญหาโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการเมืองระหว่างประเทศ โครงสร้างอุตสาหกรรมที่กระจุกตัวไม่กี่หมวดสินค้า ปัญหาหนี้สินภาคเกษตรที่เรื้อรัง ซึ่งทั้งหมดส่งผลทำให้ประเทศมีปัญหาอยู่ทุกวันนี้
นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานต่อประชากรลดลง และรัฐใช้เงินมากขึ้นในการดูแลประชาชนทุกคน ความเปราะบางที่เกิดจากหนี้สิน หนี้ครัวเรือน ค่าแรงขั้นต่ำไม่เป็นธรรม รวมถึงปัญหายาเสพติด ทำให้เกิดภาระการคลัง ทั้งแง่การลงทุน สวัสดิการ และสาธารณสุข จากความท้าทายทั้งหมด รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายอย่างจริงจัง
โดยในระยะสั้น รัฐบาลให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูรายได้ ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 67 อัดฉีดเม็ดเงิน 5.6 แสนล้านบาท เข้าไปในระบบ กระตุ้นทั้งอุปสงค์-อุปทาน ด้วยการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ในระยะเวลา 6 เดือนทำให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจ ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ตั้งคณะกรรมการมาดูแล ทั้งการพัฒนาแอปพลิเคชัน การหาแหล่งเงิน การกำหนดกฎระเบียบ โดยคาดว่าจะสามารถใช้ได้แน่นอนภายใน ก.พ. 2567
ด้านการท่องเที่ยว จะมีการฟื้นฟูจากภายในและนอกประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการยกเว้นวีซ่าชั่วคราวให้กับนักท่องเที่ยวจากจีนและคาซัคสถานไปแล้ว และจะดำเนินการกับประเทศอื่น ๆ ต่อไป และจะมีการวางแผนและกำหนดมาตรการอื่น ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น สนับสนุนค่าใช้จ่าย อำนวยความสะดวก หรือมาตรการอื่น ๆ ที่เหมาะสม รวมถึงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
นโยบายขายฝันของรัฐบาลชุดนี้ถือได้ว่าเป็นนโยบายแบบ suppy-sided economics policy นี้ นับรวมความกินไปถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในลักษณะขั้นบันได ขึ้นไปกว่า 100% (จากระดับปัจจุบันที่ 300 บาทต่อวันโดยตั้งเป้าหมายว่าค่าแรงขั้นต่ำจะเริ่มต้นในเดือน กุมภาพันธ์ปีหน้าแล้วขึ้นไปเรื่อย ๆ ถึงปี 2570 ที่จะกำหนดกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำที่เป้าหมาย 600 บาทต่อวันโดยไม่ไต่ถามความเป็นไปได้ของฝ่ายนายจ้างที่น่าจะไม่สามารถแบกรับภาระค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้นอย่างมากหากว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมาจากก้นเหวได้ เพราะที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยไม่เคยเติบโตเกินปีละ 5% มานานแล้ว
การมีท่าทีขึงขังของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ที่บอกถึงการสร้างประสิทธิภาพในภาครัฐโดยผ่านระบบการจัดการแบบ supply-sided ที่ขายฝันโดยไม่คำนึงความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ ดังเช่นที่ประธานาธิบดีอเมริกันอย่างนายโรนัลด์ เรแกน (เจ้าของนโยบาย Reaganomics) และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นชินโซอาเบะโนมิกส์ (เจ้าของนโยบาย Abenomics) ที่ล้างผลาญงบประมาณของประเทศให้เสื่อมลงไปอีก จนเข้าข่ายมีหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นที่มาของการที่เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมากนับแต่การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเมื่อปีก่อนที่มีตัวเลขขาดทุนหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่สังคมญี่ปุ่นกลายสภาพเป็นสังคมของผู้สูงวัยที่แก้ปัญหาไม่ตก
คิดดูง่าย ๆ ก็แล้วกันว่าการที่รัฐบาลญี่ป่นต้องตกอยู่ในสภาพ “นุ่งผ้าตูดขาด” เรื้อรังจนค่าเงินเยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐต่ำสุดในรอบ 40 ปี ทั้งที่มีหนี้ต่างประเทศต่ำมาก เทียบกับประเทศไทยที่มีสัดส่วนเศรษฐกิจแบบเปิดมากกว่า 75% ของมูลค่าการค้าของประเทศนั้นจะมีอนาคตที่เลวร้ายกว่ากันสักเพียงไหน
นโยบายขายฝันของรัฐบาลชุดนี้จึงน่าเสียวสยองอย่างมาก