หุ้นปันผล ยีลด์ชนะตลาด

วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วงลงมาต่ำกว่า 1,300 จุดตามคาด นอกจากปัจจัยภายนอก ที่รุมเร้ามาต่อเนื่องยังไม่พอ ยังมีปัจจัยภายในจากประเด็น “การเมือง” เข้ามา


วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วงลงมาต่ำกว่า 1,300 จุดตามคาด

นอกจากปัจจัยภายนอกที่รุมเร้ามาต่อเนื่องยังไม่พอ

ยังมีปัจจัยภายในจากประเด็น “การเมือง” เข้ามา ยิ่งทำให้ฝุ่นตลบยิ่งขึ้นไปอีก

อีกแนวทางสำหรับนักลงทุนที่หวังเอาชนะความผันผวนของตลาดหุ้นได้ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการดักเก็บ “หุ้นปันผล”

ล่าสุด บล.เอเซีย พลัส (ASPS) บอกว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองขณะนี้ กดดันให้ฟันด์โฟลว์ต่างชาติไหลออก 18 วันติดต่อกัน (จนถึง 17 มิ.ย.) รวมมูลค่ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท

และกดดัชนีหุ้นไทยให้ปรับตัวลงมา 5.5% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

ขณะที่ในวันนี้ (18 มิ.ย.) น่าจะเห็นทิศทางที่ชัดเจนเพียง 1 ประเด็นเท่านั้น

คือ การได้มาซึ่ง สว.ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งหากศาลชี้ขาดไม่ขัดรัฐธรรมนูญ นั่นคือยกคำร้อง ทำให้การดำเนินการเลือก สว. ปี 2567 ระดับประเทศในวันที่ 26 มิ.ย. ตามไทม์ไลน์เดิม

หากศาลชี้ขาดขัดรัฐธรรมนูญ จะกระทบต่อการเลือก สว. ปี 2567 อาจส่งผลต่อเซนติเมนต์การลงทุนในตลาดหุ้นได้

ส่วนดัชนีย่อตัวลงมาต่อเนื่อง ASPS เขาได้ค้นหาระดับการลงลึกของดัชนีในช่วง 1 เดือน

และมาเทียบเคียงกับข้อมูลในอดีต ย้อนหลังตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (ไม่นับปี 2563)

พบว่าการปรับตัวลงของดัชนีกว่า -5.5% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา เป็นการปรับตัวที่ลงแรงคิดเป็น 96.1% ของการลงแรงในรอบ 1 เดือนตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

ถือว่าอยู่ในระดับที่ทิ้งห่างจากระดับปกติออกมามากแล้ว

ส่วนในอดีต 10 ปี ที่ผ่านมาดัชนีหุ้นไทยเคยลงได้ลึกสุด -9.3% ในช่วง 1 เดือน

ในช่วงเวลานี้ตลาดหุ้นไทยจะเกิด Overhang และไร้ซึ่งปัจจัยหนุนอย่างมีนัยต่อไป

ทำให้ฟันด์โฟลว์ต่างชาติยังไม่น่าจะไหลเข้าในช่วงเวลาดังกล่าว กดดันให้ดัชนีกลับไปยืนเหนือระดับ 1,330 จุดได้ยาก

ขณะเดียวกันหุ้นไทยก็ย่อตัวลงมาลึกในช่วง 1 เดือน และเป็นการลงลึกกว่าระดับปกติมาก

ดังนั้น ถ้าเห็นพัฒนาการเชิงบวกกลับมาเมื่อไหร่ ไม่ว่าจะเป็นมุมฟันด์โฟลว์ หรือมุมเทคนิคคอลก็มีโอกาสเห็นหุ้นไทยค่อย ๆ ทยอยฟื้นได้

มีคำแนะนำว่า “หุ้นปันผล” น่าจะเป็นพระเอกที่เอาชนะตลาดหุ้นที่ยังเผชิญความผันผวนจากประเด็นการเมืองในช่วงนี้

มีปัจจัยสนับสนุนหลัก ๆ 4 ส่วน

1.หุ้นปันผลสูง ปรับลงน้อยกว่าหุ้นอื่น ๆ ในช่วงการเมืองร้อนแรง โดยช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (15 พ.ค.-14 มิ.ย.) ดัชนีที่ลงแรงสุด คือ mai ปรับตัวลง 7.62% ตามมาด้วย SSET ปรับตัวลง 5.86%, SET ปรับตัวลง 5.09%, SET50 ปรับตัวลง 4.60% และ SETHD (หุ้นปันผลสูง) ปรับตัวลงน้อยสุด 8% แสดงให้เห็นว่าหุ้นปันผลแข็งแกร่งและปรับตัวลงน้อยกว่าหุ้นอื่น ๆ ในช่วงประเด็นการเมืองร้อนแรง

2.หุ้นปันผลสูงมักจะผันผวนน้อย ในโครงสร้างของหุ้นปันผลสูงมักจะมีความผันผวนน้อยกว่าตลาด หรือแปรผกผันกับค่า BETA สะท้อนได้จากหุ้นปันผลสูง มักจะมีค่า BETA ที่ต่ำ และหุ้นผันผวนต่ำมักจะมีค่า BETA ที่สูง

3.ในเชิงเทคนิค หุ้นปันผลสูง (SETHD) มีกราฟที่ดูดีกว่าดัชนีอื่น ๆ สะท้อนได้จากดัชนี SETHD ยังไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ในปีนี้ ผิดกับดัชนีอื่น ๆ SET SET50 SET MAI ทำจุดต่ำสุดใหม่ของปีหมดแล้ว

4.ในมุม Valuation SET INDEX ย่อตัวลงมาจนดิวิเดนด์เปิดกว้าง โดยดัชนี 1,310 จุด มีดิวิเดนด์ยีลด์สูงถึง 5% และเป็นระดับ +1SD ในรอบ 5 ปี

ทั้ง 4 ปัจจัยแสดงให้เห็นว่า หุ้นพื้นฐานแข็งแรงปันผลสูง น่าจะเป็นหุ้นผู้นำที่ดี สำหรับการก้าวข้ามความผันผวนประเด็นการเมืองในช่วงนี้

ASPS จึงคัดกรอง หาหุ้นพื้นฐานปันผลสูง ที่มีการจ่ายปันผลระหว่างกาล น่าทยอยซื้อสะสมก้าวข้ามความผันผวนในช่วงนี้

เช่น บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI, บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI, ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB, บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ SCCC

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK, บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU

และบริษัท บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC

ธนะชัย ณ นคร

Back to top button