ตามคาด! “คลัง” ปรับเกณฑ์ TESG เพิ่มลดหย่อน 3 แสน ลดถือครองเหลือ 5 ปี
กระทรวงการคลัง พร้อมด้วย ก.ล.ต. และ ตลท. ประกาศปรับหลักเกณฑ์กองทุน TESG เพิ่มวงเงินลดหย่อนเป็น 3 แสนบาท และปรับลดเวลาการถือครองหน่วยลงทุนเหลือ 5 ปี หวังสร้างแรงจูงใจนักลงทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแถลง พร้อมด้วยนางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และนายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ร่วมกันแถลง “มาตรการขับเคลื่อนตลาดทุน” ของ 3 หน่วยงาน หลังจากที่ดัชนี SET Index ไปดูระดับ 1,300 จุดถือปรับตัวลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา
โดยทั้ง 3 หน่วยงานเห็นตรงกันที่จะปรับเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG : Thailand ESG Fund) ใหม่ โดยเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาท จากเดิมให้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี
พร้อมปรับลดระยะเวลาถือหน่วยลงทุนจากเดิมกำหนดต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 8 ปี เหลือไม่ต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเดิมทางกรมสรรพากรพิจารณาลดเวลาถือครองลงให้ 1 ปี เหลือ 7 ปี แต่ทางกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วให้ลดเหลือ 5 ปี เพื่อจูงใจนักลงทุนมากขึ้น
โดยจะบังคับใช้ในช่วง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2567-2569 เพื่อให้มีผลฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุน กระตุ้นตลาดหุ้นตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะมีการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีและลดเวลาการถือครองกองทุน TESG เพื่อให้จูงใจนักลงทุนมากขึ้น
ส่วนแนวทางการนำเงินไปลงทุนนั้น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่มีกองทุน TESG สามารถนำเงอนที่ขายหน่วยลงทุนได้ 80% ไปลงทุนหุ้นใน SET และ MAI ที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม หรือมีการเปิดเผยข้อมูลก๊าซเรือนกระจก หรือมีระดับการประเมิน cg rating ของ IOD และมีการเปิดเผยข้อมูลด้านบรรษัทภิบาลในระดับ และรูปแบบที่ ก.ล.ต.กำหนด
นอกจากนี้ยังสามารถนำเงินไปลงทุนใน ESG Bond และ Green Token รวมถึงหุ้นไทยที่อยู่ในดัชนี ESG ที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากล ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 128 ตัว หลังจากนี้จะมีหุ้นที่เข้าหลักเกณฑ์เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 200 ตัว ส่วนการปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน(TESG)ใหม่ คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่ออนุมัติในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า แต่ทั้งนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะมีผลย้อนหลังเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.67 โดยประเมินว่าจะมีเงินสะพัดประมาณ 3 หมื่นล้านบาทจนถึงสิ้นปีนี้
ด้านนายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาทาง ตลท. และก.ล.ต. ดำเนินการในหลายเรื่อง ทั้งการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน และการกำกับดูแลการซื้อขายโดยที่ผ่านมามีมาตรการยกระดับกระบวนการกำกับดูและทั้ง 5 ขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง (ดังภาพประกอบ) และภายในปีนี้จะมีมารตการจาก “ก.ล.ต. ตลท. และ ASCO” ได้ร่วมกันจัดตั้ง Securities Bureau เพื่อให้มีข้อมูลวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ที่ลูกค้าได้รับจาก Broker ต่างๆ มาใช้พิจารณาให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ โดยระบบจะพร้อมใช้ได้ในไตรมาส 3/67 นอกจานี้จะมีการปรับคุณสมบัติบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนทั้งในตลาด SET และ mai โดยจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.68
ด้านนางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า อยากได้รับการสนับสนุนจากถาครัฐในเรื่องของกองทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ กองทุน LTF ที่สิ้นสุดไปแล้ว รวมทั้งกองทุนที่ยังมีอยู่ และกำลังยุติในสิ้นปีนี้ อย่างกองทุน SSF, กองทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยเป็นช่องทางการออมที่ผลประโยชน์อย่างชัดเจน เช่น กองทุน RBF และกองทุนใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่าง ThaiESG เป็นต้น
โดยจากกองทุนข้างทุนนั้น อยากเปลี่ยนจากการออมให้เป็นเรื่องของการลงทุน ซึ่งมองว่าการออมที่ถูกช่องทางและสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอย่อมดีกว่าการออมโดยทั่วไป โดยเรื่องดังกล่าวต้องอาศัยการให้สิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากการไม่ออม เปลี่ยนมาออม และจากการฝากเงินในธนาคาร เปลี่ยนมาเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ โดยมองว่าการเปลี่ยนแปลงเรื่องดังกล่าวจะต้องเป็นการลงทุนในระยะยาว
ทั้งนี้ ทางก.ล.ต. ได้เสนอให้ครม. พิจารณาอนุมัติการปรับเงื่อนไขกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มีในปัจจุบัน คือ ThaiESG ให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการส่งเสริมให้เกิดการออม ผ่านการลงทุนในตลาดทุน และสร้างแรงจูงใจให้ผู้ระดมทุนให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยเสนอให้ปรับวงเงินเพิ่ม โดยไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท จากเดิมที่ 100,000 บาท โดยลดระยะเวลาถือครองเป็น 5 ปี (นับจากวันที่ซื้อ) จาก 8 ปี
สำหรับการกำกับการซื้อขายที่จะดำเนินการหลังจากนี้ ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 มาตรการเกี่ยวกับการลดความผันผวนที่ผิดปกติของราคาหลักทรัพย์ ประกอบด้วย 1.มาตารการทบทวนหลักทรัพย์ที่ Short Selling ได้โดยกำหนดให้หลักทรัพย์ที่ไม่ได้อยู่ใน SET100 ต้องมี Market Cap 7,500 ล้านบาทขึ้นไป จากเดิมกำหนดไว้ที่ 5,000 ล้านบาท และกำหนดให้มี T/O Ratio 12 เดือน ที่ระดับ 2% โดยเตรียมออกประกาศบังคับใช้ภายในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ และ 2.มาตรการเพิ่ม Uptick รายหลักทรัพย์ โดยให้ขายชอร์ตในทุกหลักทรัพย์ ได้ที่ราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick) ซึ่งปัจจุบันให้ขายชอร์ตได้ที่ราคาเท่ากับหรือสูงกว่า (Zero-plus Tick) โดยเตรียมออกประกาศบังคับใช้ภายใน 1 ก.ค.นี้
กลุ่มที่ 2 มาตรการเกี่ยวกับการกำกับดูแลพฤติกรรมการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม ประกอบด้วย 1.มาตารการเปิดเผยข้อมูลผู้ลงทุนที่ส่งคำสั่งไม่เหมาะสมให้แก่สมาชิกทุกราย โดยจะประกาศใช้ใน 1 ก.ค.นี้ และ 2.มาตการ Register ผู้ใช้ HFT (HFT = PT สร้างและส่งคำสั่งซื้อขายที่ SET Colocation) ต้องยื่นคำขอและ filing ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สามารถเห็นข้อมูลผู้ลงทุนในระดับ Sub-Account ของ Omnibus Account โดยจะประกาศบังคับใช้ 1 ก.ค.นี้
3.กำหนดเวลาขั้นต่ำของ order ก่อนที่จะสามารถยกเลิกคำสั่ง (Minimum Resting Time) โดยกำหนด Minimum Resting Time ของคำสั่งก่อนที่จะสามารถแก้ไข / ยกเลิก ไว้ที่ 250 milliseconds โดยจะเริ่มใช้ในไตรมาส 3/67 4.เพิ่มคุณภาพการตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ อาทิ การทำ KYP ลูกค้าตัวกลาง, ตรวจสอบการมีหุ้นก่อนส่งคาสั่ง, มีระบบ post trade monitoring ธุรกรรม short และ long sell รวมทั้งปรับปรุงระบบรับส่งคาสั่งให้มีประสิทธิภาพ โดยจะเริ่มใช้ในไตรมาส 3/67
5.มาตรการ Central Platform ในการ Check หลักทรัพย์ก่อนขาย โดยสรุปแนวทางการจัดทำแหล่งข้อมูลกลาง สำหรับบริษัทสมาชิกและตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการตรวจสอบ Availability ของหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนก่อนขาย โดยจะเริ่มใช้ในไตรมาส 4/67 6. มาตรการ Auto Halt รายหุ้น โดยเพิ่มการ Auto Halt รายหุ้น กรณีมีจานวนหุ้นรวมในคาสั่งมากกว่าจานวนที่กำหนด เพื่อป้องกันการจับคู่ของคาสั่งซื้อขายที่อาจผิดปกติ โดยจะเริ่มใช้ในไตรมาส 1/68
7.มาตรการ Central Order Screening โดยกำหนดแนวทางสาหรับระบบกลางในการคัดกรองคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนจับคู่ เพื่อบริหารความเสี่ยงในการส่งคาสั่งซื้อขาย โดยจะเริ่มใช้ในต้นปี 68
กลุ่มที่ 3 มาตรการที่เป็นการเพิ่มความคุ้มครองผู้ลงทุน ประกอบด้วย 1.ทบทวนบทระวางโทษสมาชิก เพิ่มโทษในกรณีที่สมาชิกฝืนหรือไม่ปฏิบัติคามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรขายขอร์ดและ Program Trading ในช่วงโตรมาส 3/2567
ขณะที่แนวทางพัฒนาตลาดทุนได้แก่ 1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure : DIF) เพื่อยกระดับตลาดทุนดิจิทัลและรองรับ tokenized securities อาทิ 1.1 พัฒนาระบบ Digital Infrastructure (DIF) ที่จะเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลและให้บริการผู้ที่เกี่ยวข้อง รองรับกระบวนการดิจิทัลแบบ End-to-End ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง โดยเริ่มจาก web portal สำหรับยื่น filing ตราสารหนี้พัฒนาระบบเฟส1 : รองรับการยื่น filing ตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้เอกชน plain vanilla โดยทดสอบภายใต้ sandbox กับกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันแล้วเสร็จเมื่อเดือนเม.ย. 66 และ
1.2 ผลักดันการแก้ไขกฎหมาย digital/tokenized securities เพื่อรองรับการออกหลักทรัพย์ เช่น หุ้นกู้,หุ้น หน่วยลงทุน แบบอิเล็กทรอนิกส์ คาดแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/68
2.การส่งเสริมการระดมทุนผ่านโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) ปรับเกณฑ์เพื่อสนับสนุนการเสนอขาย ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิ 2.1ปรับเกณฑ์ ICO รองรับ product รูปแบบที่หลากหลาย หรือ ตอบโจทย์ธุรกิจขณะที่มีกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนเพียงพอเหมาะสม และคาดว่า soft power/utility token คาดจะชัดเจนถภายในไตรมาส 3/67
1.2 สนับสนุนระบบนิเวศ (ecosystem) ของ investment token เพื่อปรับเกณฑ์ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิ ปรับปรุงเกณฑ์ให้โครงการ sandbox ครอบคลุมธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายในไตรมาส 3/67,การ outsource ของ ICO portal การสนับสนุน บล. ช่วยขายภายไตรมาส 4/67,ปรับปรุง พรก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ให้สอดคล้องกับ crypto asset ที่เหลืออยู่ คาดว่าเสนอกระทรวงการคลังภายในไตรมาส 3/67 และปรับปรุง พรบ. หลักทรัพย์ฯ โดยย้าย investment token มากำกับดูแลภายใต้ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
3.การส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลและสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้แก่ 1.1มาตรการ สนับสนุนการใช้ investment token ระดมทุนเพื่อพัฒนา green project โดยปรับปรุงเกณฑ์การเสนอขายโทเคนดิจิทัล/waive ค่าธรรมเนียมคาขออนุญาต/ การยื่น filing สำหรับgreen token และรองรับให้ TESG fund ลงทุนใน product ด้านความยั่งยืนได้ ซึ่งได้ปรับปรุงเกณฑ์การเสนอขาย investment token รองรับ green token มีผลเมื่อวันที่1 มิ.ย. 67
1.2 สนับสนุนการน่า blockchain มาใช้ tokenize carbon credit เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ลดปัญหา double counting และเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขาย โดยได้เปิดให้ คกก. ก.ล.ต. กำหนดประเภทของ utility token (เช่น tokenized carbon credit) ที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถให้บริการได้เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 67 และปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับ utility token คาดพร้อมใช้ไตรมาส 3/67
ด้านบล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(24 มิ.ย.67) ว่า ภายหลัง “กระทรวงการคลัง” ทุบโต๊ะมาตรการลดหย่อนภาษี TESG ลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ถือไม่ต่ำกว่า 5 ปี จากเดิม 100,000 บาท ถือ 8 ปี โดยประเมินหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ SCC, IVL, CRC, BTS, PTTGC, GPSC, CPALL, BGRIM, SCGP, AP