เปิดโผ 12 หุ้นใหญ่ฟื้นแรงช่วงดัชนีรีบาวด์ชูค่า Beta สูง ยังปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาด

บล.เอเซีย พลัส แนะกลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ในหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ ที่ยังปรับขึ้นน้อยกว่าตลาด แต่มีค่า Beta ที่สูงกว่าตลาด ฉะนั้น เมื่อดัชีอยู่ในภาวะรีบาวด์จึงมีโอกาสที่หุ้นเหล่านี้จะฟื้นตัวได้แรงกว่าตลาด


บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ (25 ม.ค.) ว่า ช่วงต้นปี 2559 ดัชนีตลาดหุ้นไทยติดลบ 1.5% แต่พบว่ามีบางกลุ่มที่สามารถชนะตลาด คือกลุ่ม ICT เพิ่มขึ้น 2.9% ทั้ง นี้คาดว่าราคาตลาดได้สะท้อนผลกระทบจากการประมูล 4G ทั้ง 2 คลื่น (คือ 1800 และ 900) เนื่องจากต้นทุนที่สูงกว่านักวิเคราะห์คาด
หลายเท่าตัว และการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น หลังผู้ประกอบการรายที่ 4 (JAS) เข้ามาแข่งขันในการทำธุรกิจมือถือ

ขณะที่บางรายไม่สามารถประมูลคลื่นใหม่ได้ (DTAC) รวมถึง ADVANC ที่ได้คลื่นใหม่น้อย ทาให้มีคลื่นให้บริการจำกัด จึงเป็นที่กังวลว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการในอนาคต อย่างไรก็ตาม หลัง กสทช เตรียมเจรจากับ MCOT เพื่อขอคืนคลื่น 2600 จำนวน 60 Mhz เพื่อนามาประมูล 4G รอบใหม่ (แต่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ MCOT ทำให้ MCOT มีกระแสเงินสดในการปรับเปลี่ยนการทาธุรกิจใหม่) น่าจะช่วยลดแรงกดดันต่อหุ้นรายตัว ทั้ง DTAC และ ADVANC ซึ่งทาให้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้น DTAC และ MCOT สำหรับ ADVANC นอกจากได้ประโยชน์จากการประมูลคลื่นใหม่ๆ แล้ว การที่ TRUE และ JAS ชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 ล่าช้า ทำให้มีเวลาในการโอนลูกค้าที่อยู่ในระดับ 2G บางส่วนมายัง 3G

 

ตามมาด้วย กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น 2.7% จากต้นปี แม้ภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะคู่ค้าสาคัญอย่างจีน จะมีการชะลอตัวลง รวมทั้งกระแสเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่บรรดาผู้ประกอบการในกลุ่มฯมีการปรับกลยุทธ์ธุรกิจและผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน อุตสาหกรรมยานยนต์ และ Data Center (ยกเว้นอุตสาหกรรมชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ชะลอตัวลง) ทั้งนี้ SVI และ KCE มีการปรับเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นนับตั้งแต่ต้นปีเป็นลำดับต้นๆ คือ 14.8% และ 13.2% ตามลำดับ สอดคล้องกับประมาณการของฝ่ายวิจัยที่คาดว่า norm profit ของกลุ่มฯในไตรมาส 1/59 จะเติบโต 9.2% จากไตรมาสก่อน และ 18% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนด้วยการขับเคลื่อนของ KCE, SVI และ DELTA

 

กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 2.1% จากต้นปี นำโดย KBANK 8.3%, KKP 6.9%, KTB 4.8% และ TCAP 2.7% ทัง้ นี้คาดว่าเป็นเพราะผลประกอบการไตรมาส 4/58 ออกมาดีกว่าคาด ได้แก่ TISCO, SCB, KTB ที่แสดงกำไรสุทธิโดดเด่นสุดในงวดนี้ จากค่าใช้จ่ายสารองหนี้ที่ลดลงมากเกินคาดหลังหมดภาระ SSI ส่วน TCAP ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมาก (PBV ต่ากว่า 1 เท่า) ขณะที่ TISCO และ KKP ปันผลสูงจูงใจ และ KBANK โดดเด่นหลังราคาหุ้นลงต่าสะท้อนข่าวร้ายไปเยอะแล้ว ขณะที่ผลการดาเนินรอเพียงการลงทุนของประเทศฟื้นตัว นอกจากนี้ยังความได้เปรียบทั้ง coverage ratio ระดับสูง และฐานสินเชื่อมีกระจายตัวที่ดี จึงเลือกเป็น Top pick

 

กลุ่ม Commerce เพิ่มขึ้น 2.6% แต่เป็นที่สังเกตว่าเป็นการขึ้นของหุ้น BIGC กว่า 14% เนื่องจากมีกระแสข่าวการทำ tender offer ของกลุ่มทุนใหญ่ในประเทศ (กลุ่ม TCC Holding กับกลุ่ม Central Group) จาก Casino Group ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เดิม โดยเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมามีการทา Big lot ราว 584 ล้านบาท ส่งผลให้ราคาหุ้น BIGC วิ่งขึ้นไปมาก

และกลุ่มขนส่งเพิ่มขึ้น ราว 0.2% จาก BA จากช่วง high season และต้นทุนน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ, ส่วนกลุ่มที่เหลือส่วนใหญ่จะให้ผลตอบแทนติดลบ เช่น Energy ติดลบ 5.3% หลักๆ มาจาก PTTEP -15.7% PTT 10.7% BCP 10.6% อสังหาติดลบ 4% จาก LPN -11% PS -8% LH -8% CPN -7% วัสดุก่อสร้าง -8.2% มาจาก SCCC -13.5% SCC -10.9% TASCO -6.2% เป็นต้น

กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ แนะนำหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ ที่ยังปรับขึ้นน้อยกว่าตลาด แต่มีค่า Beta ที่สูงกว่าตลาด ฉะนั้น เมื่อ SET Index อยู่ในภาวะ rebound จึงมีโอกาสที่หุ้นเหล่านี้จะฟื้นตัวได้แรงกว่าตลาด ดังตารางด้านล่าง

 

ASP20150125

ที่มา: บทวิเคราะห์ 25 ม.ค.59 (ข้อมูลก่อนเปิดตลาดรอบเช้า)

Back to top button