BCH ควัก 300 ล้านบาท เปิดศูนย์รักษา “โรคมะเร็ง” นำร่อง จ.นนทบุรี
BCH ผนึก “ศูนย์วิจัยและรักษามะเร็ง กรุงเทพ” ควักเงิน 300 ล้านบาท เพื่อเปิดคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมรังสีรักษา เกษมราษฎร์อารี รองรับผู้ป่วยมะเร็งแห่งแรกในจังหวัดนนทบุรี
ศ.ดร.นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอก เซน ฮอสปีทอล จำกัด (มหาชน) หรือ BCH และประธานกรรมการ บริษัท ศูนย์มะเร็งรังสีรักษา เกษมราษฎร์อารี จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปีจากสถิติมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่มีจำนวน 140,000 คนต่อปี หรือ 400 คนต่อวัน และในเครือรพ.เกษมราษฎร์ มีโควตาผู้ประกันสังคมมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งข้อมูลปี 2566 มีคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งทั้งหมด 6,543 คน และต้องได้รับการฉายแสงรวมถึงฝั่งแร่ถึง 9,815 ครั้ง
โดยทางบริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ จึงเปิดศูนย์รักษาโรคมะเร็งขึ้นภายได้ชื่อ คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมรังสีรักษา เกษมราษฎร์อารี โดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ศูนย์วิจัยและรักษามะเร็ง กรุงเทพ จำกัด เพื่อรองรับคนไข้โรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสี หรือ ฉายแสง ซึ่งรังสีรักษาสามารถใช้ได้ในหลายระยะของโรคมะเร็งและใช้ได้เพื่อการรักษาแบบหวังให้หายขาด หรือ รักษาเพื่อประคับประคอง โดยทางคลินิกฯมีเครื่องมือที่ทันสมัย
ทั้งนี้ คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมรังสีรักษา เกษมราฎร์อารี เป็นคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมรังสีรักษาแห่งแรกในจังหวัดนนทบุรี ที่มีบริการด้านรังสีรักษาครบวงจรด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยตลอดกระบวนการรักษาไม่ว่าจะเป็นเครื่องจำลองการรักษาด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูงที่สามารถให้การรักษาที่หลายหลาย ตั้งแต่การฉายรังสีขั้นพื้นฐานไปจนถึงการฉายรังสีด้วยเทคนิคขั้นสูงอย่างรังสีศัลยกรรม ช่วยให้สามารถเพิ่มการเข้าถึงการบริการตติยภูมิขั้นสูงของผู้ป่วยโรคมะเร็งในเครือโรงพยาบาลเกษมราษฎร์อารี และโรงพยาบาลอื่น ๆ
อีกทั้งยังมีบริการรังสีรักษาด้วยวิธีการใส่แร่ด้วยอัตราปริมาณรังสีสูงที่จะช่วยเสริมศักยภาพการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีรังสีรักษาให้รอบด้านและเพิ่มอัตราการหายขาดของผู้ป่วย นอกจากนี้ทางคลินิกยัง มีเครื่องมือที่ทันสมัย ได้แก่
1.เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบสามมิติ (CT Simulation) สามารถใช้ตรวจอวัยวะได้ทุกส่วนในร่างกายเพื่อนำภาพที่ได้ไปวางแผนการรักษาโดยสามารถกำหนดลำรังสี ปริมาณรังสีใสีให้ครอบคลุมกับรอยโรคและหลบเลี่ยงบริเวณอวัยวะที่สำคัญได้ และยังสามารถจำลองการรักษาแบบ 4 มิติได้เช่นกัน โดยจะมีอุปกรณ์ตรวจจับการหายใจระหว่างการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และนำมารวมกับภาพที่ได้เพื่อแสดงตำแหน่งการเคลื่อนที่ของก้อนเนื้อมะเร็ง หรือ ตำแหน่งรอยโรคในบริเวณนั้นๆ เหมาะสำหรับรอยโรคในบริเวณทรวงอก และ ช่องท้องทำให้ภาพที่นำไปวางแผนการรักษาคลุมรอยโรคได้มากขึ้น
2.เครื่องฉายรังสีความเข้มข้นสูง (Linear Accelerator รุ่น TrueBeam) เครื่องฉายรังสีภายนอกประสิทธิภาพสูง โดยใช้รังสีโฟตอน ( Photon ) และอิเล็กตรอน ( Electron ) สามารถรักษาได้ทุกเทคนิกของการฉายรังสี่ภายนอก ได้แก่ การฉายรังสีสามมิติ, การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม, การฉายรังสีแบบปรับความเข้มเชิงปริมาตร, รังสีศัลยกรรม, รังสีศัลยกรรมร่างกาย, สามารถปรับตำแหน่งบริเวณฉายรังสีตามการหายใจ, สามารถตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งการฉายรังสีทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ มีการขยายแบบความเข้มสูงลดระยะเวลาในการที่เทียบกับแบบปกติสูงสุดประมาณ 4 เท่า เครื่องนี้จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่รับการฉายรังสีภายนอกได้ทุกกลุ่ม
3.เครื่องรังสีรักษาระยะใกล้อัตราความเข้มรังสีสูง (High Dose Rate Brachytherapy; HDR-BT) เป็นรูปแบบหนึ่งในการรักษาด้วยรังสี โดยอาศัยเทคนิคการนำแหล่งกำเนิดรังสี เช่น สารกัมมันตรังสีหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “เม็ดแร่” ที่มีอัตราการปล่อยพลังงานสูงในช่วงเวลาอันสั้นมาวางให้แนบชิดหรือใกล้กับรอยโรคมะเร็ง เพื่อให้ก้อนมะเร็งได้รับค่าปริมาณรังสี่ความเข้มสูงอย่างแม่นยำในระยะทางสั้น ทำให้เนื้อเยื่อปาติได้รับรังสีต่ำ Rapid Dose Fose Falt เทคนิกนี้จึงมีประสิทธิภาพในการรักษาสูงและผลข้างเคียง (Complication) ต่ำ
ศ.ดร.นพ.เฉลิม กล่าวอีกต่อไปว่า ทางคลินิกฯ มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสี่รักษาและมะเร็งวิทยารวมทั้งมีทีมบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ นักฟิสิกส์รังสี นักรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางด้านรังสีรักษาที่มีความเชี่ยวชาญมามากกว่า 40 ปี พร้อมดูแลคนไข้ รวมถึงมุ่งมั่นให้การรักษายกรับมาตรฐานการรักษาด้วยวิธีการรักษาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาระของหน่วยงานภาครัฐ และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย ให้ได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานสากลอีกด้วย