AOT แพ้คดี CPN ปมตั้งเต๊นท์ขวางทางเข้า-ออก “เซ็นทรัลวิลเลจฯ” ศาลสั่งจ่ายค่าเสียหาย 2.9 ล.

“ศาลปกครองกลาง” สั่ง AOT จ่ายค่าเสียหาย CPN ปมตั้งเต็นท์ขวางทางเข้าออก “เซ็นทรัล วิลเลจ” เป็นจำนวน 2.9 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (24 ก.ย.67) ศาลปกครองกลางได้อ่านผลแห่งดำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ ๑๙๑๔/๒๕๖๒ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๒๐๐/๒๕๖๗ ระหว่าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ที่ ๑ และบริษัท ซีพีเอ็น วิลเลจ จำกัด ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี กับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ผู้ถูกฟ้องคดี

โดยคดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ ผู้ถูกฟ้องคดีตั้งเต็นท์ขวางทางเข้าออกโครงการเซ็นทรัล วิลเลจฯ ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ซึ่งได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินให้ทำทางเชื่อมในเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๙๐ ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านถนบางนา – บางวัว ได้เป็นการชั่วคราว โดยอ้างว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์

การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเสียหาย เนื่องจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๗๐ ไม่ใช่ที่ราชพัสดุ และโครงการเซ็นทรัล วิลเลจฯ มีกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งห้ามการกระทำและให้ผู้ถูถูกฟ้องคดียุติการกระทำอันเป็นการขัดขวาง รบกวน หรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการใช้ทางเข้าออกของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง พร้อมทั้งชดใช้ดำเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเงินจำนวน ๑๔๕,๕๘๗,๖๕๖.๗๖ บาท พร้อมดอกเบี้ย

ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่า ที่ดินบริเวณที่กรมทางหลวงก่อสร้างทางเข้าออกด้านทิศใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๙๐ มีกระทรวงการคลัง (ในราชการกรมการบินพาณิชย์) เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยกรมการบินพาณิชย์ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกรมท่าอากาศยาน) ได้ดำเนินการสำรวจและเจรจาตกลงซื้อขายกับราษฎรเจ้าของที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดสร้างทางเข้าออกสนามบินพาณิชย์ ในระหว่างที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. ๒๕๐๕ และ พ.ศ. ๒๕๑๑ เพื่อจัดสร้างสนามบินหรือท่าอากาศยานพาณิชย์ ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามมาตรา ๑๓๐๔ (๓) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยกรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดไว้แล้ว

แม้ต่อมาเมื่อกรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างทางเข้าออกด้านทิศใต้ของทำอากาศสุวรรณภูมิบนที่ราชพัสดุดังกล่าวแล้วเสร็จ และจัดระบบหมายเลขทางหลวงเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๗๐ ก็ตาม แต่เมื่อไม่มีการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๘ หรือมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ดินดังกล่าวจึงยังคงมีสถานะเป็นที่ราชพัสดุตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๖๖ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ตามแผนที่แนบท้ายข้อตกลงการใช้ประโยชน์ (สนามบินสุวรรณภูมิ) ฉบับลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ ที่กรมการบินพาณิชย์ตกลงให้การทำอากาศยานแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุที่อยู่ในความปกครองดูแลและใช้ประโยชน์ของกรมการบินพาณิชย์อันเกี่ยวกับสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๑๙,๒๕๑ ไร่ นั้น ไม่ได้รวมถึงที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างทางเข้าออกทำอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ด้วยแต่อย่างใด ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะตั้งเต็นท์ในที่ราชพัสุดุดังกล่าวเพื่อขวางทางเข้าออกหน้าโครงการเซ็นทรัล วิลเลจฯ

การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเสียหายจากการที่ไม่อาจใช้ทางเข้าออกได้ อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามมาตรา ๔๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ศาลพิพากษาห้ามผู้ถูกฟ้องคดีกระทำการและให้ยุติการกระทำใด ๆ อันเป็นการขัดขวาง รบกวน หรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์ทางเข้าออกหน้าโครงการเซ็นทรัล วิลเลจฯ ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่อยู่ติดกับเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๗๐ ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านถนบางนา – บางวัว ซึ่งผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินให้ทำทางเชื่อมในเขตทางหลวงได้เป็นการชั่วคราว และให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง เป็นเงินจำนวน ๒,๙๙๑,๒๐๑.๖๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนถึงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๔ และในอัตราร้อยละ ๓ ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งออกตามความในมาตรา ๙ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ ๒ ต่อปี ตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๙ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

โดยให้ชำระให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด คำขออื่นนอกจากนี้ไห้ยก และให้คำสั่งของศาลลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๖๒ ที่กำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาการอุทธรณ์ และในกรณีที่มีการอุทธรณ์ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคดีจะถึงถึงที่สุด หรือศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนตามส่วนของการชนะคดี และคำธรรมเนียมศาลที่ชำระไว้เกินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง

Back to top button