ส่อง 9 หุ้นรับอานิสงส์ “เทศกาลกินเจ” ลุ้นเม็ดเงินสะพัด 4.5 หมื่นล้านบาท

จับตาเทศกาลกินเจปี 2567 ช่วงวันที่ 3-11 ต.ค.67 ดึงนักท่องเที่ยวจีนกลับมาคึกคัก ลุ้นเม็ดเงินสะพัด 4.5 หมื่นล้านบาท มองบวกต่อหุ้น TVO, LST, KASET, TMILL, CPALL, TWPC, BJC, RBF และ NRF


ใกล้เข้าสู่ช่วง “เทศกาลกินเจ” ซึ่งปีนี้ตรงกับเดือนตุลาคมทุกปี จะเริ่มจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 โดยคาดการณ์ว่าบรรยากาศเทศกาลปีนี้จะคึกคักอย่างแน่นอน ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มกลับมาดูแลใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยการงดละเว้นเนื้อสัตว์ อีกทั้งความสะดวกในการซื้ออาหารเจได้ง่าย จากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ในตลาดอย่างต่อเนื่อง จึงได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ทั้งกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนที่สืบทอดเทศกาลต่อจากบรรพบุรุษ รวมถึงคนทั่วไป ประกอบกับรัฐบาลกระตุ้นนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ช่วยกระตุ้นใช้จ่ายจับสอย

ทั้งนี้ นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากร์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยพฤติกรรมการใช้จ่ายช่วงเทศกาลกินเจปี 2567 คาดว่ามีความคึกคักมากขึ้น จะมีการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจอยู่ประมาณ 45,003 ล้านบาท ซึ่งการเลือกบริโภคแต่อาหารเจ หรือ อาหารที่ปรุงขึ้นโดยไม่มีเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์

ดังนั้น ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” จึงทำการรวบหุ้นที่คาดว่าได้รับอานิสงส์จากเทศกาลกินเจมานำเสนอมุมมองของการลงทุนในช่วงนี้ เป็นกลุ่มธุรกิจอาหารเกี่ยวกับการปรุงอาหาร และกลุ่มบริการ ประกอบด้วย TVO, LST, KASET, TMILL, CPALL, TWPC, RBF, BJC และ NRF เป็นต้น

บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TVO ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันถั่วเหลือง ตราองุ่น และวัตถุดิบอาหารสัตว์

บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ LST ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันพืช ไขมันพืชผสม และเนยเทียม ผักและผลไม้แช่แข็งหรือบรรจุกระป๋อง น้ำผลไม้

บริษัท ไทยฮา จำกัด (มหาชน) หรือ KASET ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตร และเกษตรแปรรูป เช่น ข้าว วุ้นเส้น โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป และวุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก

บริษัท ที เอส ฟลาวมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TMILL ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแป้งสาลี ได้แก่ แป้งบะหมี่สด แป้งขนมปัง แป้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งบิสกิต แป้งอเนกประสงค์ แป้งอาหารสัตว์ เป็นต้น

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อภายใต้เครื่องหมายการค้า 7-Eleven และให้สิทธิแก่ผู้ค้าปลีกรายอื่นในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และลงทุนในธุรกิจสนับสนุนธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ

บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) หรือ TWPC ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์วุ้นเส้นและก๋วยเตี๋ยว เพื่อจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร (Food Ingredients) ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และ ภายใต้ตราสินค้าของบริษัท เช่น อังเคิลบาร์นส์, เบสท์ โอเดอร์ และ super-find เป็นต้น

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF ซึ่งเป็นผู้ผลิตจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงสำหรับประกอบอาหาร อาหารมังสวิรัติที่ไม่มีส่วนผสมของไข่และนม อาหารโปรตีนจากพืช และเครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผงและน้ำ

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจกลุ่มสินค้าและบริการทางการค้าปลีกสมัยใหม่ และกลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค

ด้าน นายกรภัทร วรเชษฐ์ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) หรือ KSS ระบุว่า ปลายสัปดาห์เริ่มที่จะเข้าสู่เทศกาลกินเจวันที่ 3-11 ต.ค.67 มองจิตวิทยาลบกลุ่มจำหน่ายเนื้อสัตว์อย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF, บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) หรือ GFPT, บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ BTG

รวมถึงจิตวิทยาบวกต่อหุ้นค้าปลีกอย่าง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่าโมเมนตัมกำไรปกติไตรมาส 3/67 ของ BJC คาดการณ์เติบโตเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เกิดจากทิศทางอัตรากำไรขั้นต้นที่จะยังปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ตามต้นทุนวัตถุดิบหลายชนิดยังถูกกว่าปีก่อน เช่น แก๊สธรรมชาติ, โซดาแอ๊ซ, ค่าไฟต่อหน่วย

บริษัทปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและบริหารสินค้าในสต็อคได้ดีขึ้น และส่วนผสมสินค้ามาร์จิ้นสูง เช่น กลุ่มอาหารสด, Personal care และ Private brand เป็นต้น

ในขณะที่เริ่มมีสัญญาณบวกเพิ่มจากทิศทางยอดขายสาขาเดิม (SSSG) เดือนส.ค.-ต้นเดือน ก.ย.ที่เริ่มเป็นบวกได้อีกครั้ง +2-3% โดยยังคงแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 32 บาท

Back to top button