TTB กางแผนกลยุทธ์ 3 ปี พัฒนา 5 โมเดลใช้ดิจิทัล พัฒนากิจการองค์กร

TTB กางแผนกลยุทธ์ 3 ปี พัฒนา 5 โมเดลใช้ดิจิทัล พัฒนากิจการองค์กร แย้มแนวโน้มปี 68 ขอเน้นสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ธนาคาร


นางสาวดารารัตน์ อุระพันธมาศ ตำแหน่ง Head Of Investor Relations  ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)  หรือ TTB เปิดเผยข้อมูลภาพรวมธุรกิจของบริษัทผ่านงาน Opportunity Day เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 มีกำไรสุทธิ 5,229.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.45% จากงวดเดียวของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 4,734.89 ล้านบาท และมีรายได้ดอกเบี้ยรวมอยู่ที่ 20,664 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.20% จากงวดเดียวของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับสัดส่วนสินเชื่อไปยังสินเชื่อรายย่อยที่ให้ผลตอบแทนสูงและการบริหารจัดการพอร์ตลงทุนช่วยสนับสนุนยังคง เป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของรายได้เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2566

นางสาวดารารัตน์ เปิดเผยถึงการปรับกลยุทธ์ไปทางกลุ่มลูกค้าสินเชื่อ SHORT TERM จากทั้งหมด 3 กลุ่ม SHORT TERM , MEDIUM  และ LONG TERM เพื่อหลีกเลี่ยงความกดดัน ในการล็อตเรตระยะยาว Loan yield โดยธนาคารมีความพยายามที่จะ Stabilized asset yield ด้วยการเพิ่ม POP UP LOAN ด้วย yield สูงขึ้นให้กับพวกที่บริษัทเก่งและถนัด ไม่ว่าจะเป็น CASH YOUR CAR, CASH YOUR HOME ถึงแม้ตลาดที่ผ่านมาอยู่ในช่วงขาขึ้นมาตลอด จนกระทั่งเป็นการพักเบรกจากการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ BOT ปรับลดเรตอัตราดอกเบี้ยลงอยู่ที่ 0.25% แต่ธนาคารก็ยังคงรักษารายรับและรายได้ (Revenue & Income) ทั้งแบบหลังหักค่าใช้จ่ายและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายให้คงที่มากที่สุด รวมถึงเรื่องวินัยด้านต้นทุนที่ผ่านมา ttb ทำได้ตามเป้าหมาย จากการควบคุมต้นทุนทางการเงินในประเภทต่างๆ และค่าใช้จ่าย รวมถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่บริหารจัดการอย่างดี

ในส่วนของ 4 กลยุทธ์หลักๆในการบริหารรายได้ของธนาคารในปีนี้ อาทิ LOAN Yield , DEPOSIT COST , INVESTMENT YIELD และ CREDIT CARD  ถึงแม้พวกค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับพวกสินเชี่อลดลงบ้าง แต่ค่าธรรมเนียมกองทุนรวม-เนียมบัตรเครดิตหนุนยังคงทำได้ดี ส่งผลให้เป็นปัจจัย NIM ขยายตัวได้อยู่  โดยยังระบุถึงผลกระทบในการลดอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ ทำให้กดดัน NIM จึงปรับกลยุทธ์จึงเรื่องสินเชื่อที่มี BETTER YIELD เพื่อให้รักษา NIM ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในอนาคต ด้วยการมอนิเตอร์สถานการณ์ดอกเบี้ยเพื่อปรับกลยุทธ์ให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ

สำหรับเรื่องที่รัฐบาลจะขอความร่วม ภาครัฐ จับมือกับธนาคารแห่งประเทศ (BOT) และ ธนาคารเอกชน เพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จากกลุ่ม SME ,บ้าน และ รถ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องรายละเอียดต่างๆ ซึ่งในอนาคตจะต้องรอดูความชัดเจนจากภาครัฐก่อน

นอกจากนี้ แนวโน้มการดำเนินงานไตรมาส 4/2567 ระบุเพิ่มเติมอีกว่ายังคงเน้นการเติบโตในเรื่องสินเชื่อตามเป้าหมายที่ทางบริษัทฯ วางเอาไว้ และอาจจะไม่ได้มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด เนื่องจาก TTB ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องสินเชื่อ อาทิ Personal Loan, Cash your Home และ Cash your Car ที่ทางธนาคารทำผลงานได้ดีอยู่แล้ว จึงต้องการรักษามาตรฐานหลักเอาไว้

ด้าน นายนริศ อารักษ์สกุลวงศ์ ตำแหน่ง Chief Strategy and Digital Group เปิดเผยข้อมูลถึงแผนการการปรับกลยุทธ์ระยะเวลา 3 ปีของทาง TTB  เมื่อธนาคารพัฒนาโมเดลการทำงานแบบ ดิจิทัล First และ ดิจิทัล Only มีเป้าหมายเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยมุ่งใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือหลักในการเสนอบริการผ่านช่องทางการสื่อสารและบริการลูกค้าตัวอย่างเช่น Mobile banking ยอดขายเติบโตขึ้น ไม่ได้หยุดแค่สร้างแอปพลิเคชัน แต่ยังต่อยอดขยายไปในส่วนเรื่องอื่นๆ  ด้วยการให้ ดิจิทัล เป็นฐานของทุกอย่าง ประกอบด้วย 5 ตัวหลักการปรับเปลี่ยนสู่ ดิจิทัล ดังนี้

1.Digital transformation ทีทีบีได้จัดตั้งทีมดิจิทัลขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อเดินหน้าพัฒนาแอป ttb touch และ ttb business one ภายใต้คอนเซ็ปต์ Humanized Digital Banking เพื่อยก  ระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าทั้งรายย่อยและธุรกิจ อีกทั้งต่อยอดโซลูชัน Beyond Banking ที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับลูกค้าได้อย่างรอบด้าน ซึ่งถือเป็นการวางกลยุทธ์สร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลขององค์กรเพื่อสร้าง New Business Model ใหม่ ๆ

  1. Revenue model transformation เริ่มต้นจากการนำผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของธนาคารขึ้นมาอยู่บนแอป ttb touch เพื่อให้ลูกค้าสามารถสมัครใช้ได้สะดวกสบายมากขึ้น และปัจจุบันธนาคารได้นำ Personalized AI Engine มาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษแบบเฉพาะบุคคล หรือ Segment-of-One พร้อมกับการผนึกกำลังพันธมิตรชั้นนำของธนาคารมุ่งเน้นเสริมสร้างให้เกิด Ecosystem Play เพื่อส่งมอบโซลูชันและบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ ตรงใจ ช่วยให้ลูกค้าแต่ละ Ecosystem มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นแบบรอบด้านในทุกช่วงเวลา
  2. Ecosystem play เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งมอบชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้านให้กับคนไทยผ่านการยกระดับดิจิทัลแบงก์กิ้งและโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง อีกทั้งตอกย้ำการเป็นธนาคารที่มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยกลุ่มมนุษย์เงินเดือนปลดภาระหนี้ผ่านโซลูชันรวบหนี้และสินเชื่อสวัสดิการกว่า 1.7 แสนคน ภายใน 3 ปี
  3. Branch and process transformation ทีทีบีต้องการยกระดับความสะดวกสบายของลูกค้าในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการส่งมอบ Digital-First Experience ซึ่งวันนี้ 94% ของธุรกรรมที่สาขา ลูกค้าสามารถเปลี่ยนมาทำธุรกรรมได้ผ่านแอป ttb touch และที่ผ่านมาธนาคารมุ่งเน้นให้พนักงานสาขาเป็น Digital Ambassador แนะนำให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านแอปฯ เพื่อความสะดวก ลดเวลาการเดินทางไปสาขา และปรับเปลี่ยนบทบาทพนักงานให้เป็นที่ปรึกษาและให้บริการในธุรกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น พร้อมยกระดับสาขาให้เป็น Digital Branch ที่มีเครื่องมือดิจิทัลในการอำนวยความสะดวก และให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและไร้รอยต่อ
  4. Organiztional transformation เพื่อให้ทีทีบีมีศักยภาพในการ Make REAL Change อย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการ ปรับเปลี่ยนทั่วทั้งองค์กรในช่วงที่ผ่านมา โดยสร้างทีมดิจิทัลที่แข็งแกร่ง หรือ ttb spark เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพทางด้านดิจิทัลอย่างเต็มที่ผ่านการพัฒนาแอป ttb touch และทีม ttb spark academy ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้ และทดลองฝึกงานด้าน Tech & Data รวมถึงการพัฒนา (Up-skill) และยกระดับทักษะ (Re-skill) ให้กับบุคลากรทั้งองค์กรให้มีความเชี่ยวชาญในทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน รองรับการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและการธนาคารในโลกอนาคต เพื่อให้ธนาคารสามารถขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างรวดเร็ว

“อย่างไรก็ดี แผนกลยุทธ์ 3 ปีของทางธนาคารนั้น ถึงแม้จะเน้นปรับเปลี่ยนมาเป็นเรื่องดิจิทัล แต่กลยุทธ์หลักที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดยังคงเน้นให้ความสำคัญที่ตัวลูกค้าเป็นหลักที่ตั้งเสมอ หลังจากควบรวมกันระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต ยังคงต้องอาศัยระยะเวลาสร้างความเชื่อมั่น จึงมองว่าเป็น Medium to Long Term Journey ซึ่งสิ่งที่ยังให้ความสำคัญทั้งในปีนี้และปี 2568 คือเรื่องสร้างความเชื่อมั่นในการควบรวมและผลิตภัณฑ์ต่างๆของธนาคารว่ามีศักยภาพมากพอจากฐานลูกค้า 10 ล้านราย ในอีก 3 ปีข้างหน้า เมื่อการทำธุรกรรมผ่าน Mobile banking เติบโตพัฒนามากขึ้น สาขาของแบงก์อาจจะลดลงตามเทรนด์พฤติกรรมของลูกค้า โดยอนาคตการทำงานของสาขาแบงก์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ซึ่งในปีนี้จากตัวเลขสาขาลดลง 10 % แต่อาจไม่ได้ลดลงแบบหวือหวา อย่างกรณีสาขาของสองธนาคารควบรวมกันก่อนหน้านี้” นายนริศ กล่าวทิ้งท้าย

Back to top button