‘โรคทนรอไม่ได้’ วิถีใหม่ยุคไอที.!

ด้วยยุคแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร นำมาสู่การสื่อสารผ่าน “โซเชียลมีเดีย” การใช้อุปกรณ์สื่อสาร ที่อำนวยความสะดวกให้ทุกอย่างในการดำรงชีวิตประจำวัน


ด้วยยุคแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร นำมาสู่การสื่อสารผ่าน “โซเชียลมีเดีย” การใช้อุปกรณ์สื่อสาร ที่อำนวยความสะดวกให้ทุกอย่างในการดำรงชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างรวดเร็วทันใจ จนกลายเป็นชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และหลายคนเคยชินจนแทบลืมวิถีเดิมที่เคยเป็นไปแล้ว..!!

แหละนั่นทำให้พฤติกรรมยุคไอทีเปลี่ยนไป กลายเป็นคนขี้เบื่อ ใจร้อน หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย แม้แต่เรื่องเล็กน้อย เช่น ทนรอการดาวน์โหลดรูปภาพนาน ๆ ไม่ได้ เกิดการหงุดหงิดทุกครั้ง เมื่อคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเกิดอาการค้าง บางรายเกิดอาการกระวนกระวายใจ และลุกลามสู่ความสัมพันธ์เชิงลบต่อคนรอบข้าง..

จึงกลายเป็นที่มาของ “โรคทนรอไม่ได้” หรือ Hurry Sickness นั่นเอง..!!!

สำหรับโรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) คือพฤติกรรมที่มีอาการใจร้อน หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายกับการรออะไรบางสิ่งบางอย่าง เป็นผลกระทบจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือมักเกิดขึ้นสำหรับผู้ที่เสพติดการใช้โซเชียลมีเดีย การเปลี่ยนไปสู่โรคทนรอไม่ได้นี้จะทำให้ร่างกายและจิตใจเข้าสู่ภาวะผิดปกติ

แม้ว่า “โรคทนรอไม่ได้” จะเกิดขึ้นในยุคสมัยของคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี  แต่นิยามคำว่า Hurry Sickness เกิดขึ้นช่วง ค.ศ. 1974 จาก 25 แพทย์รักษาโรคหัวใจ 

นั่นคือ Meyer Friedman และ Ray Rosenman นิยามถึงพฤติกรรม หรือลักษณะอาการคนที่มักจะรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว เร่งรีบ ผ่านหนังสือเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลหมู่เลือด A กับเรื่องหัวใจ (Type A Behavior And Your Heart) ภาวะทนรอไม่ได้นี้ เป็นหนึ่งในลักษณะคนหมู่เลือด A เช่นเดียวกัน

สำหรับ 6 อาการ Hurry Sickness เริ่มจาก 1)ทุกการกระทำคือการแข่งขัน อาทิ การซื้อของ การกินหรือแม้แต่รถติดไฟแดง ที่ก่อให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดได้ 2)หนึ่งเวลาทำหลายงาน โดยคนประเภทนี้เวลาเดียวกันมักจะหยิบหลาย ๆ งานขึ้นมาทำ เพราะรู้สึกว่าจะได้ไม่เสียเวลา

3)ความล่าช้าคือความน่าหงุดหงิด ตัวอย่างเช่นหากเริ่มกดลิฟต์ซ้ำ ๆ เพราะอยากให้ถึงเร็ว หรือหงุดหงิดกับการต่อแถวยาว ๆ เริ่มเป็นสัญญาณเตือนชัดเจน 4)รู้สึกตัวเองล่าช้าตลอดเวลา มักเกิดจากคนที่พยายามทำอะไรให้สำเร็จแบบรวดเร็วเสมอไม่ว่าจะเป็นการงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การเดินทาง หากไม่สำเร็จในเวลาที่ต้องการก็จะเกิดความหงุดหงิด อารมณ์เสียได้ง่าย ๆ

5)ขัดจังหวะผู้อื่นบ่อย ๆ ด้วยการขัดจังหวะเวลาอยู่ในวงสนทนา แม้บางครั้งไม่ได้ตั้งใจ แต่มันเกิดจากอาการที่ทนรอไม่ได้ 6)หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ต้องทำมากเกินไป เป็นอาการรู้สึกกระวนกระวายที่อยากจะทำงานใหม่ เพราะอยากที่จะให้มันสำเร็จ สิ่งนี้อาจไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพงาน แต่กลายเป็นผลเสียต่องานและสุขภาพใจโดยไม่รู้ตัว

แม้ปัจจุบันภาวะ “ทนรอไม่ได้” ไม่ได้ถูกบรรจุเป็น “โรคทางจิตเวช” แต่คนที่ประสบกับภาวะเช่นนี้และยังไม่ทำการแก้ไข จะส่งผลให้มีความเสี่ยง จนกลายเป็นโรคทางประสาทได้ และหากแก้ไขด้วยตนเองแล้ว แต่ยังรู้สึกว่าไม่สบายใจ หรือยังไม่สามารถปล่อยวางอารมณ์ฉุนเฉียวลงได้ การปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะเป็นทางออกได้

แหละนี่คือ “ภัยเงียบ” ที่ซ่อนแอบมายุคเทคโนโลยีสื่อสาร ที่มิอาจมองข้ามได้เลยทีเดียว..!!

สุภชัย ปกป้อง

Back to top button