รู้จัก IVF ผู้ให้บริการรักษา “ผู้มีบุตรยาก” จ่อเทรด “mai” 11 ธ.ค.นี้

หุ้นน้องใหม่ไอพีโอ IVF ผู้ให้บริการรักษา “ผู้มีบุตรยาก” แบบครบวงจร ชูจุดแข็งเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ที่ทันสมัย ผนวกกับทีมแพทย์เชี่ยวชาญสูง เตรียมเทรดตลาด (mai) 11 ธ.ค.67


ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ อยากชวนนักลงทุนมาทำความรู้จักหุ้นน้องใหม่ IPO ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ สำหรับผู้ที่มีบุตรยาก อย่าง บริษัท อินสไปร์ ไอวีเอฟ จำกัด (มหาชน) หรือ IVF ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจ คือ IVF ประกอบธุรกิจศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากตั้งแต่การให้คำปรึกษา การเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละคู่สมรส และการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์โดยนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทนั้น

โดย IVF มีแนวคิดของการเป็นศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่ได้มาตรฐานระดับสากลและได้เริ่มทำการตลาดในต่างประเทศตั้งแต่ในช่วงปี 2561 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากลูกค้าชาวต่างชาติคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 จากรายได้การให้บริการรวม

สำหรับ IVF แบ่งการประกอบธุรกิจเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.) ธุรกิจให้บริการรักษาผู้มีบุตรยาก บริษัทประกอบธุรกิจให้บริการศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากซึ่งมีผู้รับบริการทั้งคนไทยและต่างชาติที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน โดยบริการที่สำคัญประกอบด้วย

1.1 การให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธี /CS/ เป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์โดยการปฏิสนธินอกร่างกายประมาทหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการรักษาที่มีอัตราความสำเร็จสูงกว่าวิธีการรักษาแบบอื่น โดยวิธีการนี้เหมาะกับการรักษาภาวะมีบุตรยากซึ่งเกิดจากฝ่ายชายมีจำนวนอสูจิน้อยหรือไม่สมบูรณ์ หรืออสุจิไม่สามามารถเจาะเข้าไปในใช้เองได้ หรือฝ่ายหญิงมีความผิดปกติที่ท่อรังไข่ หรือคู่สมรสที่มีโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดในครอบครัวและเป็นปัญหาสุขภาพต่อมารดาระหว่างตั้งครรภ์และทารกต่อไปในอนาคต หรือคู่สมรสที่มีความต้องการตรวจคัดกรองพันพันธุกรรมก่อนการย้ายตัวอ่อน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะมีความผิดปกติและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ได้

1.2 การให้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้มีบุตรยาก เช่น การให้บริการสร้างเสริมสุขภาพแก่คู่สมรสที่รับบริการรักษาผู้มีบุตรยากโดยใช้เวชศาสตร์ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพ, การตรวจความผิดปกติทางพ้นธกรรมของตัวอ่อน (PGT) และการรักษาภาวะเจริญพันธุ์ เป็นต้น

2.) ธุรกิจให้บริการเวชศาสตร์ป้องกันและฟื้นฟสุขภาพแก่บุคคลทั่วไป (Preventative and Regenerative Medicine)เป็นศาสตร์การดูแลด้านสุขภาพโดยรวม(wellness)โดยเป็นการตรวจร่างกายเพื่อประเมินและวิเคราะห์และมีการเสริมวิตามินฟื้นฟูความเสื่อมของสุขภาพและปรับสมดุลให้กับร่างกายของมนุษย์แบบเฉพาะบุคคลเพื่อให้กลไกต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปัจจุบันบริษัทมีการให้บริการ 2 แบบ ได้แก่ การให้บริการการกรองพลาสมาโดยใช้ตัว กรองพิเศษร่วม (Double filtration plasmapheresis: DFPP) และการให้บริการวิตามินเพื่อบำรุงผิวผิวและเสริมสร้างฮอร์โมน

โดยจากการแบ่งรูปแบบธุรกิจ 2 ส่วนที่กล่าวมานั้น IVF มีรายได้จากการให้บริการ 2 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่1.) ธุรกิจให้บริการรักษาผู้มีบุตรยาก ประกอบด้วย การให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธี ICSI และการให้บริการอื่นๆ เช่นการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพแก่คู่สมรสที่รับบริการรักษาผู้มีบุตรยากโดยใช้เวชศาสตร์ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพ (บริการสร้างเสริมสุขภาพฯ), การตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อน (PGT) และการรักษาภาวะเจริญพันธ์ เป็นต้น

2.) ธุรกิจให้บริการเวชศาสตร์ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพแก่บุคคลทั่วไป (Preventative and Regenerative Medicine) (เวชศาสตร์ฟื้นฟูฯ)

นอกจากนี้ ผลประกอบการของ IVF ย้อนหลัง 3 ปีที่ผ่านมาในปี 64-66 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากการขายในปี 64 อยู่ที่ 11.24 ล้านบาท และในปี 65 มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 63.31 ล้านบาท ถัดมาในปี 66 มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 121.55 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการต่อปี (CAGR) สำหรับปี 64-66 อยู่ที่ 228.78%

อีกทั้ง IVF มีนโยบายการจายเงินปันผล ซึ่งจะพิจารณาการจ่ายเงินปันผลตามความสามารถในการทำกำไรแต่ละปี และผลการดำเนินงานโดยรวมภายใต้ข้อกำหนดทางกฎหมาย และงดจ่ายปันผลในกรณีที่นี่ที่มีการขาดทุนสะสม โดยบริษัทมึนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และเงินทุนสำรองตามกฎหมาย และเงินสำรองอื่น ๆ (ถ้ามี)โดยคำนึงถึงฐานะทางการเงิน กระแสเงินสด สภาพคล่อง แผนการลงทุน และปัจจัยอื่น ๆ ตามความเห็นสมควรของคณะกรรมการบริษัท และการจ่ายปันผลนั้นจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ

โดยคณะกรรมการมีมติให้จ่ายเงินผลแลและนำเสนอเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ซึ่งคณะกรรมการบริษัทมีอำนาจอนุมัติและรายะรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นรับทราบในการประชุมคราวต่อไปทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวต้องไม่เกินกว่ากำไรสะสมของงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท และต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับข้อมูลการเสนอขายหุ้น IOP ของ IVF นั้นบริษัทจะเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 130 ล้านหุ้น โดยภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว จะส่งผลให้บริษัทฯ มีทุนชำระแล้ว 220 ล้านบาท คิดเป็นจำนวน 440 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท จากทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 155 ล้านบาท

โดย IVF จะเสนอขายหุ้นในวันที่ 29 พ.ย. ถึง 3 ธ.ค. 67 ในราคา 3.10 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าเสนอขาย 403 ล้านบาท ซึ่งหุ้นจะเข้าซื้อขายใน ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กลุ่ม อุตสาหกรรม (Industry) บริการ วันที่ 11 ธ.ค.67 โดยมี บริษัท ฟินเน็กซ์ แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและมี บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

ทั้งนี้ IVF มีวัตถุประสงค์การใช้เงิน หลังจากได้รับจากการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรกภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหลักทรัพย์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีจำนวนประมาณ 388 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 84.00 ล้านบาท 2.ใช้เป็นเงินลงทุนในการขยายสาขา จำนวน 190 ล้านบาท และ 3.ใช้เป็นเงินลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจให้บริการดูแลสุขภาพ (wellness)  จำนวน 114 ล้านบาท

Back to top button