โบรกฯแนะ “ลดน้ำหนักลงทุน” “กลุ่มยานยนต์” เซ่นยอดผลิตวูบ 16 เดือนติด
โบรกฯแนะ “ลดน้ำหนักลงทุน” “กลุ่มยานยนต์” เซ่นยอดผลิตเดือนพ.ย. ลดลง 21% โดยลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 คาดฉุดยอดผลิตรถยนต์ทั้งปีต่ำเป้าหมายที่ประเมินไว้ 1.5 ล้านคัน ด้าน SAT กระทบยอดผลิตชิ้นส่วน ฟาก KKP-TISCO-TTB กระทบจากสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อเรียงจากมากสุดไปหาน้อยสุด
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ทำการรวบรวมข้อมูลหลักทรัพย์ “กลุ่มยานยนต์” คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากยอดผลิตรถยนต์เดือน พ.ย. 2567 ที่ลดลง 21% มาอยู่ที่ 1.2 แสนคัน โดยลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 และมีแนวโน้มยอดผลิตรถยนต์ในเดือน ธ.ค.2567 ซึ่งเป็นข้อมูลจากบริษัท ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุข้อมูลไว้ดังนี้ จากประเด็นดังกล่าวมองเป็นลบต่อบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จากยอดผลิตรถยนต์ที่ ปรับตัวลดลง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ทั้งนี้ ยอดผลิตรถยนต์ 11 เดือนแรก ปี 2567 คิดเป็น 91% จากทั้งปี
สำหรับแนวโน้มยอดผลิตรถยนต์ในเดือน ธ.ค.2567 ยังมี ทิศทางลดลง เนื่องจากเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวในช่วงปลายปี ส่งผลให้ยอดผลิต รถยนต์ในปี 2567 จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ประเมินไว้เล็กน้อยที่ 1.5 ล้านคัน ลดลง19% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่เบื้องยังประเมินยอดผลิตรถยนต์ปี 2568 จะทรงตัว เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้ โดยกลุ่ม Automotive ยังให้น้ำหนัก underweight ไม่มี top pick โดย SATแนะนำถือเป้า 11.50 บาท โดยประเมิน SAT กำไรปี 2567 จะลดลง 34% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามทิศทางยอดผลิตรถยนต์ที่ลดลง โดยเฉพาะรถกระบะที่ยังลดลงมาก
ขณะที่ outlook ยังไม่สดใส จากแนวโน้มในอนาคตที่จะมีการผลิตรถกระบะ EV เพิ่มขึ้น อาจทำให้ SAT เสียประโยชน์ เนื่องจากส่วนใหญ่ผลิตชิ้นส่วนสำหรับ รถกระบะ ICE เป็นหลักมองเป็นลบต่อหุ้นปล่อยสินเชื่อรถยนต์และจำนำ ทะเบียนรถ จากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ลดลง สะท้อนถึงความต้องการ รถยนต์ที่ชะลอตัว ซึ่งกดดันต่อยอดปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อที่น้อยลงและราคารถ มือสองที่ยังทรงตัวในระดับต่ำจากความต้องการที่ยังไม่ดีขึ้นในช่วงเศรษฐกิจ ชะลอ ทำให้มีโอกาสรับรู้ขาดทุนรถยึดที่ยังทรงตัวในระดับสูง
โดยกลุ่มธนาคารประเมินผลกระทบจากมากไปน้อย ได้แก่ KKP แนะนำถือราคาเป้า 50.00 บาท เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อที่ 48% ส่วน TISCO แนะนำถือราคาเป้า 96.00 บาท มีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อที่ 46% และ TTB แนะนำถือราคาเป้า 2.00 บาท โดยมีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อที่ 31%
ด้านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.รายงานยอดผลิตรถยนต์เดือน พ.ย.24 อยู่ที่ 1.2 แสนคัน ลดลง 21% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน, ลดลง 1% เทียบเดือนก่อนหน้า ยังต่ำต่อเนื่องจากยอดขายรถยนต์ในประเทศและ ส่งออกที่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้รวม 11 เดือน 2567 มียอดผลิตรถยนต์ 1.36 ล้านคัน ลดลง 20% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนยอดขายในประเทศลดลง 31% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน, เพิ่มขึ้น 12% เทียบเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 42,309 คัน ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและลดลง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มากจากสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ จากหนี้ครัวเรือนสูง และเศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราต่ำ ทั้งนี้รวม 11 เดือน 2567 ยอดขายรถยนต์ในประเทศอยู่ที่ 5.2 แสนคัน ลดลง 27% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
ด้านยอดส่งออกลดลง 10% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน, เพิ่มขึ้น 6% เทียบเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 89,646 คัน ยังคงลดลง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากฐานสูงปีก่อน โดยความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ทำให้จำนวนเที่ยวเรือ ลดลง รวมทั้งหลายประเทศในเอเชียได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจของประเทศ จีนที่ชะลอตัว จึงส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย ตะวันออกกลางและ ยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ส่งออกเพิ่มขึ้นตลาดอเมริกาเหนือแห่งเดียว ทั้งนี้รวม 11 เดือน 2567
ส่วนยอดส่งออกรถยนต์ อยู่ที่ 9.4แสนคัน ลดลง 8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดจดทะเบียนใหม่รถยนต์นั่ง BEV (ไม่เกิน 7 คน) เดือน พ.ย.2567 อยู่ที่ 5.4 พันคัน ลดลง 40% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน, เพิ่มขึ้น 13% เทียบเดือนก่อนหน้า รวม 11 เดือน 2567 มียอดจดทะเบียนใหม่ 6.3 หมื่นคัน ลดลง 6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน