จังหวะเก็บ 3 หุ้นเด่น รับราคา “ยางพารา” พุ่งแรง เก็งงบ Q4 สดใส

คัด STA-NER-TEGH รับราคายางพาราในตลาด SICOM มีแนวโน้มสูงขึ้น จากความต้องการยางอุตสาหกรรมรถยนต์ ฟากนักวิเคราะห์คาดผลการดำเนินงานไตรมาส 4/67 สดใส


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ราคายางพาราในตลาด SICOM ที่ผ่านมา พบว่าราคายางแท่ง (STR20) ปรับตัวสูงขึ้นจาก 11 เดือนแรกของปี 2567 ค่าเฉลี่ย 165-170 Cent/kg ประกอบกับทางฝ่ายวิจัยมีมุมมองเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมยางพาราในปี 2568 หลังราคายางพาราในตลาด SICOM มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลประมาณการราคายางพาราในตลาด SICOM ปี 2568 มีค่าเฉลี่ยราว 175-180 Cent/kg โดยปรับตัวสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของปี 2567 ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการยางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องใช้ยางสำหรับผลิตยางล้อ (Tires) ซึ่งเติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังสถานการณ์ COVID-19 และการขยายตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV)

ทั้งนี้ ราคายางพาราในตลาด DICOM รับปรับตัวสูงขึ้น เกิดผลบวกต่อกลุ่มยางพาราด้วยเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องจากบทวิเคราะห์ที่ประเมินต่อกลุ่มดังกล่าวไว้ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ประเมินเกี่ยวกับ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA คาดการณ์ปี 2567 มีกำไรสุทธิ 1,050 ล้านบาท เติบโต 341.70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าในปี 2568 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 1,356 ล้านบาท โต 29.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หนุนจากความต้องการยางพาราที่เพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ และตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV)

สำหรับ Demand (ยาง EUDR และ Non-EUDR) ในปี 2568 คาดขยายตัวจากการเร่งซื้อวัตถุดิบเพื่อไปสต๊อกก่อนการบังคับใช้ของกฎ EUDR จากลูกค้าผู้ผลิตยางล้อ รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการขยายตัวของอุตสาหกรรมขั้นปลาย เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าในจีนและยุโรป, ถุงมือยาง, อุปกรณ์การแพทย์ นอกจากนี้แนวโน้มราคาน้ำมันต้นปี 2568 คาดทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตยางสังเคราะห์สูง ผู้ผลิตหันมาใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น

ทั้งนี้ทางฝ่ายคาดราคาพื้นฐานปี 2568 ราคาหุ้นปัจจุบันยังต่ำกว่าราคาพื้นฐาน ยังคงคำแนะนำ ซื้อ” ให้ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 22.25 บาท

ขณะเดียวกัน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุว่า  บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER คาดไตรมาส 4/67 จะมียอดขายดีที่สุดในรอบปี โดยผู้บริหารยังคงเป้าปริมาณขายทั้งปีที่ 440,000 ตัน ส่งผลให้ช่วงไตรมาส 4/67 ปริมาณขายจะสูงสุดในรอบปีที่ 130,000 ตัน ทั้งนี้ทำให้ฝ่ายวิเคราะห์มีการปรับประมาณการใหม่สำหรับทั้งปี 67

โดยคาดยอดขายทั้งปีเท่ากับ 2.74 หมื่นล้านบาท และกำไรสุทธิ เท่ากับ 1.93 พันล้านบาท

อีกทั้งแนวโน้มไตรมาส 4/67 นอกจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นแล้ว ราคาขายเฉลี่ยมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นคาดอยู่ที่ราว 10% เทียบกับไตรมาสก่อน ส่งผลให้ฝ่ายวิเคราะห์ประมาณการรายได้ไตรมาส 4/67 เท่ากับ 8.88 พันล้านบาท GPM กลับมาปรับตัวดีขึ้น เบื้องต้นคาดอยูที่ระดับ 12% ดีขึ้นจากไตรมาส 3/67 ที่ 8.28% และช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 11.28% รวมถึงกำไรจากการดำเนินงานปกติ เท่ากับ 640 ล้านบาท

ขณะที่ปรับประมาณการรายได้และกำไรสุทธิปี 68 ขึ้นจากครั้งก่อนประมาณ 4% โดยรายได้ปรับตัวขึ้น มาอยูที่ 2.97 หมื่นล้านบาท หลักๆมาจากราคาขายเฉลี่ยมี แนวโน้มสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลงจากที่คาดรอบก่อน 20% จากคาดการณ์สัดส่วนยอดขายต่างประเทศที่ลดลง ส่งผลให้โดยรวมกำไรสุทธิในปี หน้าปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 2.13 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโต 5.7% ทั้งนี้ให้ราคาเป้าหมาย 6.00 บาท

ส่วนด้านบริษัท หลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด ประเมินหุ้น บริษัท ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEGH ว่า มีมุมมองเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 4/67 โดยคาดปริมาณขายยางแท่งเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทำระดับสูงสุดของปี บริษัทคาดสัดส่วนปริมาณการขายยาง EUDR ในงวดไตรมาส 4/67 ประมาณ 40% ซึ่งราคาขายยาง EUDR จะสูงกว่าราคายางทั่วไป ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดการณ์กำไรปี 67 ประมาณ 526 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 145% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปี 68 ประมาณ 611 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

พร้อมกับปริมาณขายยางในอนาคตมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง บริษัทตั้งเป้าปริมาณการขายยางปี 68 ประมาณ 2.6-2 8 แสนต้น เติบโต 24-27% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงครึ่งแรกปี 68 สัดส่วนบริมาณขายยาง FUDR คิดเป็น 40% และสำหรับช่วงครึ่งปีหลัง 68 สัดส่วนปริมาณขายยาง EUDR ปรับตัวขึ้นประมาณ 70% ทั้งนี้ทางฝ่ายวิเคราะห์จึงแนะนำ “ซื้อ” โดยให้ราคาเป้าหมาย 4.90 บาท

Back to top button