KTAM แนะ RMF for PVD รับประโยชน์ภาษี “ลาออก-ย้ายงาน” ไม่เสียสิทธิ

KTAM แนะลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ตรงไลฟ์สไตล์ พร้อมแนะลงทุน RMF for PVD ต่อเนื่องเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ที่ลาออกหรือย้ายงาน


นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เปิดเผยว่า ในสภาวะปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการเกษียณอายุน้อยลง ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ และกระจุกตัวในวงจำกัด ในขณะเดียวกันกลับมีแนวโน้มอายุยืนขึ้น จึงยิ่งจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้านการเงินให้เพียงพอกับการใช้ชีวิตตลอดอายุขัยมากขึ้น ดังนั้นแหล่งเงินในยามเกษียณที่สำคัญอีกทางก็คือ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ซึ่งเป็นเงินลงทุนที่นักลงทุนควรต้องให้ความสำคัญ ใส่ใจดูแล พร้อมปรับพอร์ตเพื่อให้เข้ากับสภาวการณ์ และควรสร้างวินัยในการออมเพื่ออนาคตที่มั่นคง

ทั้งนี้ KTAM จึงแนะนำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ที่มีทางเลือกแผนการลงทุนที่หลากหลาย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความเสี่ยงที่รับได้ของตนเอง แนะนำ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยมั่นคง มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (เน้นการลงทุนผ่านกองทุนรวม) กองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนให้เลือกลงทุนถึง 16 นโยบาย ภายใต้ 4 กลุ่มนโยบายหลัก ได้แก่ กลุ่มนโยบายตราสารหนี้ กลุ่มนโยบายผสม กลุ่มนโยบายตราสารทุน และกลุ่มนโยบายทางเลือก โดยนโยบายการลงทุนทั้ง 16 นโยบายนี้ มีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย อาทิ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมแบบผสม กองทุนรวมหุ้น กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ กองทุนรวมที่ลงทุนในทองคำ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

อีกกองทุนที่แนะนำคือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงไทย มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (เน้นการลงทุนตรง) มีให้เลือก 3 นโยบาย ประกอบด้วย นโยบายการลงทุนใน

1.ตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน

2.ตราสารหนี้ภาครัฐ-ภาคเอกชนและหุ้น

3.หุ้นและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงไทย มาสเตอร์ พูล ฟันด์

นอกจากนี้ นักลงทุนที่ย้ายงานหรือลาออกจากงานก่อนอายุเกษียณ ยังไม่ต้องการรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และไม่ประสงค์จะคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม ก็สามารถโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกว่า “RMF for PVD” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับเงินโอนจาก PVD เพื่อให้สมาชิกกองทุนที่ยังทำงานอยู่แต่นายจ้างยกเลิก PVD หรือสมาชิกกองทุนที่ออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม สามารถลงทุนต่อเนื่องจาก PVD เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้

Back to top button