KTB สินเชื่อภาครัฐโตเด่น

KTB โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 4/2567 1.สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 25.7% 2.สินเชื่อรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ 19.5% 3.สินเชื่อธุรกิจ SME 10.1%


คุณค่าบริษัท

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 4/2567 1.สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 25.7% 2.สินเชื่อรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ 19.5% 3.สินเชื่อธุรกิจ SME 10.1% 4.สินเชื่อรายย่อย 44.7% ภายใต้สินเชื่อรายย่อย 44.7% จำแนกต่อได้เป็น 1.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 18.8% 2.สินเชื่อบุคคล 23.1% 3.สินเชื่อบัตรเครดิต 2.7% 4.สินเชื่อเช่าซื้อ (Leasing) 0.10%

KTB รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2567 มีกำไรสุทธิ 10,474.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 71.41% จากไตรมาส 4/2566 แต่ลดลง 5.70% จากไตรมาส 3/2567 ที่มีกำไรสุทธิ 11,107.32 ล้านบาท กำไรสุทธิไตรมาส 4 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ 5% เนื่องจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ (credit cost) อยู่ที่ 1.02% ซึ่งต่ำกว่าคาดเมื่อเทียบกับประมาณการของ บล.กสิกรไทย ที่ 1.30% กำไรลดลงเมื่อเทียบไตรมาส 3/2567 เนื่องจากขาดทุนจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่ายุติธรรม (FVTPL) เทียบกับมีกำไร 1.8 พันล้านบาท ในไตรมาส 3/2567 ส่วนกำไรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบไตรมาส 4/2566 สาเหตุหลักจากการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตทีคาดว่าจะเกิดขึน (ECL) ทีลดลง 49% จากไตรมาส 4/2566 เนื่องจากไม่มีการตั้งสำรองพิเศษสำหรับลูกหนี้รายใหญ่รายหนึ่งที่คาดคือ ITD ด้านสินเชื่อรวมขยายตัว 5.2% จากไตรมาส 3/2567 และ 4.7% จากไตรมาส 4/2566 โดยได้รับแรงหนุนจากสินเชื่อภาครัฐทีเพิ่มขึ้น 25% จากไตรมาส 3/2567 และ 39% จากไตรมาส 4/2566 มาเป็น 5.257 แสนล้านบาท ในไตรมาส 4/2567 รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิมขึ้น 3.4% จากไตรมาส 3/2567 และ 6.9% จากไตรมาส 4/2566 มาเป็น 5.8 พันล้านบาท จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่งและบริการด้านบัตรเครดิต

ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ลดลง 0.07% จากไตรมาส 3/2567 หลังมีสัดส่วนสินเชื่อโครงการรัฐเพิ่มขึ้น ส่วนต้นทุนทางการเงินลดลง 0.02% จากไตรมาส 3/2567 บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ คาดว่า NIM ของ KTB จะลดลง 0.15% ในปี 2568 เนื่องจากคาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง 0.75% ในปี 2568 ด้านอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้เพิ่มขึ้น 1.83% จากไตรมาส 3/2567 และเพิ่มขึ้น 5.66% จากไตรมาส 4/2566 มาอยู่ที่ 44.69% จากปัจจัยฤดูกาล

NPL ratio ลดลงมาอยู่ที3.5% เทียบกับ 3.8% ในไตรมาส 3/2567 และ credit cost ลดลงเหลือ 1.02% จาก 1.30% ในไตรมาส 3/2567 จากการคำนวณของบล.กสิกรไทย NPL ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 4/2567 น่าจะมาจากการตัดจำหน่ายหนีเสียที่มากขึ้น ขณะที่การก่อตัวของ NPL (NPL formation) ใหม่ยังคงทรงตัวเมื่อเทียบไตรมาส 3/2567 ด้านลูกหนี้ stage 2 ลดลงเหลือ 7.1% จาก 7.6% ในไตรมาส 3/2567 โดยหลักมาจากการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 183% เทียบกับ 179% ในไตรมาส 3/2567

ข้อมูลจาก LSEG Consensus สำหรับ KTB ระบุว่า ประมาณการรายได้รวมปี 2568 ที่ 158,412.91 ล้านบาท และประมาณการกำไรสุทธิปี 2568 ที่ 44,820.88 ล้านบาท โดยมีราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 24.54 บาท จาก 20 โบรกเกอร์

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่า สำหรับปี 2568 คาดว่า KTB จะมีกำไรสุทธิ 45,991 ล้านบาท โต 4.9% จากปี 2567 หนุนจาก 1.พอร์ตสินเชื่อรวมที่ขยายตัวดีขึ้นจากสินเชื่อโครงการรัฐ ที่จะเพิ่มขึ้นตามการเร่งเบิกจ่ายเพื่อดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2.รายได้ค่าธรรมเนียมคาดโตต่อเนื่อง หนุนจากการทำ Cross Selling และการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมจาก “เป๋าตัง” และ 3.คาดการตั้งสำรองมีแนวโน้มชะลอตัวลง หลังคุณภาพสินทรัพย์ของ KTB อยู่ในระดับที่แข็งแรง

สำหรับการประเมินมูลค่า (Valuation) หุ้น KTB ราคาปัจจุบัน (ราคาปิดวันที่ 7 ก.พ. 2568 ที่ 23.80 บาท) เทรดที่ P/E 8.43 เท่า สูงกว่า P/E กลุ่มธนาคารที่ 8.07 เท่า ส่วนค่า P/BV ของหุ้น KTB อยู่ที่ 0.78 เท่า สูงกว่า P/BV กลุ่มธนาคารที่ 0.69 เท่า

Back to top button