เมื่อ LTF ครบกำหนด ควรขายหรือถือต่อ?

เมื่อนักลงทุนที่ถือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มาถึงจุดที่สามารถขายหน่วยลงทุนได้โดยไม่เสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี คำถามสำคัญคือ ควรขายหรือถือต่อ?


เมื่อนักลงทุนที่ถือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มาถึงจุดที่สามารถขายหน่วยลงทุนได้โดยไม่เสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี คำถามสำคัญคือ ควรขายหรือถือต่อ? 

สองเหตุผลของการตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลัก คือ ด้านการลงทุน กับ ภาษี

มุมมองจากการลงทุน (Financial Perspective)

1.พิจารณากำไร-ขาดทุน

หากพอร์ตมีกำไร–อาจพิจารณาขายบางส่วนเพื่อทำกำไร แล้วนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น เช่น กองทุน ESG (TESG), RMF ถือครองถึงอายุ 55 ปี, หุ้น หรือตราสารหนี้

หากพอร์ตขาดทุน–อาจถือต่อ หากเชื่อมั่นในศักยภาพของกองทุนและแนวโน้มตลาดหุ้นระยะยาว

2.ประเมินความเสี่ยงของพอร์ตปัจจุบัน

สัดส่วนการลงทุนในพอร์ตของ LTF เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นระยะยาว หากตลาดหุ้นมีความผันผวน อาจลดความเสี่ยงโดย “ขายบางส่วน” แล้วโยกไปสินทรัพย์ที่ปลอดภัยขึ้น เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้, พันธบัตรรัฐบาล ฯลฯ

3.แนวโน้มเศรษฐกิจและตลาดหุ้น

หากมองว่า เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มเติบโต และหุ้นที่ LTF ลงทุนมีพื้นฐานแข็งแกร่ง การถือต่ออาจสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว 

มุมมองเป้าหมายการเงินส่วนบุคคล และด้านภาษี 

1.เป้าหมายทางการเงิน

ต้องการเงินสด–หากมีแผนใช้เงินก้อน เช่น ซื้อบ้าน, ลงทุนธุรกิจ หรือค่าใช้จ่ายสำคัญ อาจพิจารณาขาย

ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน-ถือต่อเพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าในอนาคต

แผนการลงทุนหลังขาย LTF

โยกเงินไป RMF หากต้องการลดหย่อนภาษีต่อและวางแผนเกษียณระยะยาว

ลงทุนในกองทุน TESG (Thailand ESG Fund)–ลดหย่อนภาษีเหมือน LTF และ RMF แถมได้ลงทุนในบริษัทที่มีธรรมาภิบาลและใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ทำไมต้อง TESG? (Thailand ESG Fund)

สนับสนุนธุรกิจที่ยั่งยืน–ลงทุนในบริษัทที่เน้นสิ่งแวดล้อม (E), สังคม (S), ธรรมาภิบาล (G)

กระจายความเสี่ยง–หุ้น ESG มีความผันผวนต่ำกว่า 

แนวทางสำหรับนักลงทุน LTF

ถือต่อ–หากมั่นใจในศักยภาพของกองทุนและแนวโน้มตลาดหุ้น

ขายบางส่วน–แล้วโยกเงินไป TESG, RMF เพื่อลดความเสี่ยงและคงสิทธิลดหย่อนภาษี

ตัดสินใจอย่างรอบคอบ โดยพิจารณาจาก กำไร-ขาดทุน, เป้าหมายการเงิน และผลกระทบด้านภาษี เพื่อให้เหมาะสมกับแนวทางการลงทุนระยะยาว

อึ้งย้ง

Back to top button