ปตท.- แก๊สรัสเซียพลวัต 2016

ทางออกที่ดีที่สุด แต่จะเป็นได้หรือยังไม่รู้ สำหรับเครือ ปตท.ในการหาแหล่งก๊าซธรรมชาติมาผลิตปิโตรเคมีในอนาคต ทดแทนแหล่งวัตถุดิบในอ่าวไทย ที่จะหมดลงในอนาคตอีกไม่นาน เริ่มเห็นแสงสว่างในอุโมงค์แล้ว จากการเดินทางไปร่วมกับคณะการทูตของคณะรัฐบาลทหารนำโดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในเดือนกุมภาพัน์ที่ผ่านมา


วิษณุ โชลิตกุล

 

ทางออกที่ดีที่สุด แต่จะเป็นได้หรือยังไม่รู้ สำหรับเครือ ปตท.ในการหาแหล่งก๊าซธรรมชาติมาผลิตปิโตรเคมีในอนาคต ทดแทนแหล่งวัตถุดิบในอ่าวไทย ที่จะหมดลงในอนาคตอีกไม่นาน เริ่มเห็นแสงสว่างในอุโมงค์แล้ว จากการเดินทางไปร่วมกับคณะการทูตของคณะรัฐบาลทหารนำโดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในเดือนกุมภาพัน์ที่ผ่านมา

คำแถลงของผู้บริหาร ปตท.อย่าง นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายวิรัตน์ เอื้อนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ที่ว่า ปตท.เตรียมจับมือเป็นพันธมิตรด้านพลังงาน Rosneft และ Gazpromของรัสเซีย คาดลงนามเอ็มโอยูร่วมกันในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้

การตกลงดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น ถือเป็นความสำเร็จของการทูตพลังงานที่ไปได้ดี เพราะการที่ ปตท.เตรียมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ บริษัท Rosneftซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ของรัสเซีย และบริษัท Gazprom ซึ่งเป็นบริษัทก๊าซแห่งชาติของรัสเซีย เพื่อเป็นพันธมิตรด้านพลังงานในระยะยาว ภายในอีก2-3เดือนข้างหน้านี้ ลดแรงกดดันเรื่องแหล่งวัตถุดิบด้านพลังงานที่มีความหมายมาก

โดยข้อเท็จจริง รัสเซียมีแหล่งทรัพยากรก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีแหล่งทรัพยากรถ่านหินใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และมีแหล่งทรัพยากรน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลก เป็นประเทศที่ส่งออกก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่ง และส่งออกน้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากซาอุดิอาระเบีย

 น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะ และไม้ เคยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีมูลค่ามากถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมดใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่หลังปี 2003 การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติก็เริ่มลดความสำคัญลงเพราะตลาดภายในประเทศขยายตัวขึ้นอย่างมาก

นอกจากนั้น รัสเซียยังนับว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรอื่นๆ เพราะมีจำนวนประชากรที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าประเทศอื่นในทวีปยุโรป

ที่สำคัญ การวางท่อก๊าซของรัสเซียไปยังชาติในยุโรปโดยตรงผ่านทางท่อนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงความต้องการด้านพลังงานของชาติในยุโรปตะวันตก ตะวันออก และยูโรใต้อย่างมีนัยสำคัญ แล้วกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัสเซียใช้เป็นการทูตปิโตรเลียมที่มีความสำคัญอย่างมาก

 

Rank

Country/Region

Natural gas
proven reserves
(m³)

Date of
information

Total

 World

187,300,000,000,000

 

1

 Russia

48,700,000,000,000

12 June 2013 est.[5]

2

 Iran (see: Natural gas reserves in Iran)

33,600,000,000,000

12 June 2013 est.[7]

3

 Qatar

24,700,000,000,000

June 2014.[8]

4

 Turkmenistan

17,500,000,000,000

June 2014.[8]

5

 United States (see: Natural gas in the United States)

9,860,000,000,000

12 December 2013[9][10]

6

 Saudi Arabia

8,600,000,000,000

June 2014.[8]

7

 Iraq

6,400,000,000,000

1 January 2012 est.[11]

8

 Venezuela

5,724,500,000,000

19 July 2011[12]

9

 Nigeria

5,100,000,000,000

June 2014.[8]

10

 Algeria

4,502,000,000,000

1 January 2010 est.

11

 Bolivia

281,000,000,000

1 January 2015[13][14]

12

 Australia

4,300,000,000,000

1 January 2014 est.[11]

13

 China (see: Natural gas in China)

4,643,000,000,000

1 January 2015[9]

14

 Indonesia

3,001,000,000,000

1 January 2010 est.

15

 Malaysia

2,350,000,000,000

1 January 2010 est.

 

แนวทางความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกันที่ ผู้บริหารของ ปตท. เปิดเผยว่ากำลังอยู่ระหว่างการพิจารณานยั้น มีหลายรูปแบบที่เป็นทางเลือก ได้แก่

การซื้อน้ำมันจากรัสเซีย ซึ่งเป็นน้ำมันที่เหมาะกับโรงกลั่นเมืองไทย

 การเข้าไปร่วมลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เนื่องจากเป็นประเทศที่มีทรัพยากรพลังงานมากและมีต้นทุนการผลิตต่ำ

การซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แบบสัญญาระยะยาว และเข้าไปร่วมถือหุ้นในแหล่งผลิต เนื่องจากการผลิตLNG ที่รัสเซียมีต้นทุนที่ต่ำกว่าตะวันออกกลาง เพราะมีสภาพอุณหภูมิที่ต่ำ บางช่วงติดลบเหมาะสมต่อการผลิต LNGที่ต้องทำให้อุณหภูมิติดลบเพื่อให้กลายสภาพจากก๊าซเป็นของเหลว

 ความน่าสนใจของก๊าซ ดูจะโดดเด่นกว่าเรื่องอื่นๆ เพราะระยะทางขนส่งLNG มาไทยจากเมืองท่าสำคัญวลาดิสอลต็อกทางตอนเหนือของเกาหลีเหนือ และญี่ปุ่น ถือว่าสะดวกมาก เพรานอกจากใกล้กว่าเมื่อเทียบกับการซื้อจากประเทศตะวันออกกลาง ยังไม่ต้องขนส่งผ่านช่องแคบมะละกาที่นับวันจะคับแคบและแออัดทุกขณะในอนาคต

ความน่าสนใจตรงที่ก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียสามารถเป็นแหล่งผลิตเพื่อป้อนโรงงานปิโตเคมี และสนองตอบความต้องการใช้ก๊าซของประชาชนและภาคอุตสหกรรมอื่นๆ ได้อย่างดี ลดปัญหากังวลในเรื่องขาดแคลนแหล่งพลังงานปิโตรเลียมในอนาคตไปได้อย่างมาก

เพียงแต่เงื่อนไขของการพึ่งพาแหล่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียนั้น เท่ากับเป็นการนำประเทศไทยให้ใกล้ชิดและขึ้นต่อพลังงานของรัสเซียอย่างมาก

รัสเซียใช้การทูตพลังงานนี้เป็นเครื่องมือสร้างอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศเหนือชาติคู่ค้ามาโดยตลอด คำถามก็มีเพียงแค่ว่าเจตนารมณ์ทางการเมืองของสังคมไทยนั้น พร้อมเพียงใดกับการที่ต้อง “ขึ้นต่อ” รัสเซียในอัตราที่เข้มข้นมากขึ้น

คำตอบเช่นนี้ เป็นมากกว่าประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพียงแค่เหตุผลว่าไทยต้องการแหล่งพลังงานที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และรัสเซียกำลังหาพันธมิตรที่เป็นตลาดรองรับ LNG และน้ำมันจากรัสเซีย และไทยน่าจะเป็นศูนย์กลางตลาดที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ก้าวเดินเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ต้องการความรอบคอบ มากกว่าเดินหน้าด้วยความโลภอย่างเดียว เพื่อจะไม่ซ้ำรอยกรณีจีนในเรื่องรถไฟความเร็วปานกลางที่จ่ายค่าโง่ไปแพงกว่าปกติมาก 

Back to top button