ย้อนรอยข่าวร้อนข่าวดัง Q1/59CTBC ฮุบ LHBANK กว่า 35%
กลุ่มการเงินเป็นที่จับตาอีกครั้ง หลังLH BANK หรือบริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้เป็นพันธมิตรเข้ามาเสริมแกร่งทั้งเงินทุน และเติมเต็มธุรกิจให้แก่ในธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ด้วยการซื้อหุ้นมากถึง 35.6% ไปเมื่อปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
กลุ่มการเงินเป็นที่จับตาอีกครั้ง หลังLH BANK หรือบริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้เป็นพันธมิตรเข้ามาเสริมแกร่งทั้งเงินทุน และเติมเต็มธุรกิจให้แก่ในธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ด้วยการซื้อหุ้นมากถึง 35.6% ไปเมื่อปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
โดยทาง LH BANK ได้บันทึกข้อตกลงร่วมกับแบงก์ใหญ่จากไต้หวัน คือ CTBC Bank ด้วยการออกและจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ในราคาหุ้นละ 2.20 บาท คิดเป็นมูลค่า 1.66 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 35.6% โดยกระบวนการซื้อขายหุ้นดังกล่าวคาดจะสมบูรณ์ในไตรมาส 3 ปีนี้
แน่นอนการเข้ามาซื้อหุ้นดังกล่าวส่งผลให้ CTBC Bank มีสัดส่วนการถือหุ้นเท่ากับการถือหุ้นของ บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) และบมจ.ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QH) ซึ่งถือหุ้นรวมกันเท่ากับ 35.6%
เนื่องจากทั้งนี้ภายหลังการซื้อหุ้นเพิ่มทุน CTBC Bank จะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร โดยจะมีกรรมการจาก CTBC Bank จำนวนเท่ากับกรรมการที่มาจาก LH และ QH ซึ่งจะมีผู้บริหารของ CTBC Bank เข้ามาอีก 3-4 คน เพื่อมาดูแลการทำธุรกิจด้านการบริหารการเงินส่วนบุคคล (Wealth management) Digital Banking และ Trade Finance
โดยภายใต้การเข้าซื้อหุ้นนั้นมีเงื่อนไข CTBC Bank จะไม่มีการขายหุ้นออกมาภายใน 3 ปีนับจากวันที่ได้รับเงิน 1.66 หมื่นล้านบาท แต่ในอนาคตหากจะมีการขายหุ้นหรือซื้อหุ้นเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องต้องพิจารณา ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ในขณะนี้
อย่างไรก็ตามการเข้ามาของแบงก์ CTBC ดูเหมือนจะไม่ธรรมดา เพราะอย่าลืมว่า CTBC Bank ถือเป็นปีกสำคัญของกลุ่ม Koo Group ซึ่งเป็นกลุ่มการเงินที่ใหญ่สุดในไต้หวัน
โดยสังเกตได้จากกลุ่มนี้มีธุรกิจหลัก 2 ปีกด้วยกัน โดยปีกแรกคือ KGI ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน มีธุรกิจ non-bank ที่ใหญ่โต แล้วก็รุกเข้ามาอยู่ในเมืองไทยนานกว่า 15 ปี หลังวิกฤติต้มยำกุ้งโดยเข้าถือหุ้นใหญ่ใน บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI นั่นเอง
ส่วนอีกปีกหนึ่งคือ CTBC Financial Holding กลุ่มการเงินขนาดใหญ่จากไต้หวันมีสินทรัพย์ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 1 หรือ 1.09 แสนดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3.83 ล้านล้านบาท ที่มีแกนหลักคือ ธนาคาร CTBC ที่เป็นธนาคารอันดับ 4 ของไต้หวัน แต่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งธนาคารนี้แหละที่ได้เข้ามาซื้อหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงของ LHBANK นั่นเอง
แน่นอนแม้ว่า LHBANK จะเป็นแบงก์ระดับหางแถวของกลุ่มแบงก์ชั้นนำในเมืองไทย แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่แบงก์ชั้นนำของเมืองไทยจะมองข้ามและไว้วางใจได้ โดยเฉพาะในด้านการแข่งขันทางธุรกิจ จะเห็นว่ารายละเอียดข้างต้น LHBANK ได้กลุ่มนี้มาหนุนหลังจากนี้ไปก็น่าไม่ธรรมดาเสียแล้ว
ขณะเดียวกันราคาหุ้นที่อ่อนตัวในช่วงนี้เป็นผลมาจากความกังวลของนักลงทุน เนื่องจากมองว่าการเข้าซื้อหุ้นจะไม่มีการทำเทรเทนเดอร์ อีกทั้งจากการเติบโตของ LHBANK ในรูปของบุ๊คแวลูหลังการเพิ่มทุน และกำไรต่อหุ้นที่อาจจะลดลงในระยะสั้น
แน่นอนหากมองระยะยาวหุ้นรายนี้มีโอกาสพุ่งขึ้นสูง เพราะหากมองถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ทางการเงินและเงินกองทุนที่กระโดดเป็นระดับอัตราสูงสุดในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย อีกทั้งนักวิเคราะห์หลายสำนัก ได้ออกมาปรับเป้าหมายใหม่เป็น 2.40 บาทต่อหุ้น
ตรงนี้บ่งบอกชัดเจนว่าจากนี้ไป ราคาหุ้น LHBANK ที่เคยต่ำเตี้ยใต้ 2.00 บาท น่าจะเป็นเพียงแค่อดีตเท่านั้นก็เป็นได้