รัก (มาก) ของอินไซเดอร์แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

เส้นบางๆ ที่แบ่งระหว่างความเป็นอัจฉริยะกับความบ้าของคนนักจิตวิทยาเรียกว่าthe thin red lineเพราะมันบางมากเสียจนบางครั้งแยกไม่ออก


เส้นบางๆ ที่แบ่งระหว่างความเป็นอัจฉริยะกับความบ้าของคนนักจิตวิทยาเรียกว่าthe thin red lineเพราะมันบางมากเสียจนบางครั้งแยกไม่ออก

เช่นเดียวกันเส้นบางๆ ระหว่างการที่”คนใน” (หมายถึงผู้ถือหุ้นใหญ่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหาร) ซื้อขายหุ้นตัวเองโดยไม่กระทำผิดกฎกติกาว่าผิดธรรมาภิบาลว่าด้วย“อินไซเดอร์เทรดดิ้ง”หรือการใช้ข้อมูลวงในซื้อขายหุ้นก็ถือเป็น the thin red line ได้ง่ายมาก

บางคนเข้าใจว่า “อินไซเดอร์บาย” และ “อินไซเดอร์เซลล์”ไม่ใช่อินไซเดอร์เทรดดิ้งเพราะมีกุนซือดีและช่ำชองกฎกติกาเพียงพอ…ส่วนจะมีมารยาทหรือไม่ขอไม่ตอบอุบไว้ก่อน

แต่…ในโลกนี้กรณี”คนใน” ซื้อขายหุ้นตัวเองและซื้อขายบ่อยๆก็ยังมีคนชอบกระทำและทำสม่ำเสมอเสียด้วย…ด้วยเหตุผลที่ส่วนตั๊ว…ส่วนตัว

หนึ่งในบริษัทที่ “คนใน” นิยมซื้อขายหุ้นตนเองจนเห็นชาชินหนีไม่พ้นบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการจำกัด (มหาชน) หรือ BDMSที่เปลี่ยนรหัสเทรดใหม่จากชื่อรหัสเดิมBGH นั่นเอง

ปีที่ผ่านมานับแต่เปลี่ยนรหัสซื้อขายหุ้น“คนใน” หลายคนทำการซื้อโอนหรือขายกันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะและปีนี้ก็ยังคงเดินหน้าซื้อขายโอนกันคึกคักเหมือนเดิมแต่ข้อน่าสังเกตหลักอยู่ตรงที่ว่าซื้อมากกว่าขาย

โดยเฉพาะคนในรายชื่อตัวอย่างที่ยกมานี้นำโดยหมอปราเสริฐปราสาททองโอสถซึ่งถือหุ้นใหญ่สุดที่ทุ่มเงินเข้าซื้อหุ้นทุกราคาเสมือนหนึ่งโหยหิวหรือมีเงินเหลือไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหนเลยซื้อหุ้นเก็บไปเป็นว่าเล่นโดยมีรายการโอนให้ลูกสาวก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งระดับ 100 ล้านหุ้นแทรกเข้ามาเป็นกระสาย

ซื้อหุ้นเป็นกิจวัตรอย่างนี้มีคำถามว่าซื้อไปทำอะไร

ถามเจ้าตัวคงได้แต่รอยยิ้มไม่มีคำตอบ…เรื่องส่วนตัวไม่จำเป็นต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ 

ถามต่อว่าซื้ออย่างนี้เข้าข่าย “อินไซเดอร์เทรดดิ้ง”รึยัง 

อยากได้คำตอบต้องรอก.ล.ต. อีก 2-3 ปีข้างหน้าเพราะกรณีอย่างนี้ท่านมักจะบอกว่าต้องรอบคอบอย่าสุ่มสี่สุ่มห้ากล่าวหากันง่ายเกิน

ที่ผ่านมาก็มักจะเป็นเช่นนี้คือทำผิดจนคนลืมก.ล.ต. จึงกล่าวโทษเสียทีหนึ่งส่วนใหญ่ก็ปรับมีน้อยที่ส่งดีเอสไอฟ้อง

สอบถาม “กูรู” เรื่องอินไซเดอร์เทรดดิ้งมาแล้วได้ข้อมูลคร่าวๆ ว่าในกรณีไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 241 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 เรื่องอินไซเดอร์เทรดดิ้งนั้นจะต้องเป็นกรณีต่อไปนี้คือ1) ไม่ซื้อหรือขายหุ้นเมื่องบการเงินไตรมาสก่อนเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้แจ้งตลาด2) ไม่ซื้อหรือขายหุ้นเมื่อบริษัทหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกำลังเจรจาหรือมีแผนควบรวมกิจการหรือถูกควบรวมกิจการ 3) ไม่ซื้อหรือขายหุ้นเมื่อบริษัทวางแผนประกาศแผนธุรกิจขนาดใหญ่

หากพิจารณาตามหลักการที่ว่านี้เท่ากับว่าช่วงเวลาที่”คนใน” จะไม่ทำผิดกฎว่าด้วย”อินไซเดอร์เทรดดิ้ง” มีน้อยหรือสั้นมากๆ 

ใครที่ซื้อหรือขายหุ้นบริษัทตัวเองแล้วไม่เคยถูกข้อกล่าวหา (เพราะตามกฎกติกาแล้วการซื้อหรือขายจะต้องรายงานต่อตลาดทันทีทุกครั้งเป็นความโปร่งใสอย่างหนึ่ง) ถือว่าหากไม่เก่งระดับเทพ…ก็ต้องเฮงสุดๆ

เรื่องนี้หากย้อนรอยของ BGH จะเห็นว่าเคยมีร่องรอยที่ “คนใน” ถูกกล่าวหาว่าทำ “อินไซเดอร์เทรดดิ้ง” มาแล้วในปลายปี 2556

ครั้งนั้นก.ล.ต. ประกาศลงวันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2556 ระบุว่าได้เปรียบเทียบนายธวัชวงค์ธะนะสุมิตกรรมการของบริษัท กรณีใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้นบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการจำกัด (มหาชน) (BGH) เพื่อตนเองและบุคคลอื่น  ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายนถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2553  โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากนางสาววิพรจิตรสมหวังและนางนฤมลใจหนักแน่น ให้ซื้อหุ้น BGH จำนวน 1,030,000 หุ้นผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางสาววิพรและนางนฤมล

กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญด้านบวกต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น BGH ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชนเกี่ยวกับธุรกรรมที่ BGH เข้าควบรวมกิจการกับบริษัทเฮลท์เน็ตเวิร์คจำกัด (มหาชน) ด้วยการเข้าซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดของ HN (Entire Business Transfer) ในช่วงปี 2553 ต่อเนื่องปี2554

ครั้งนั้นนายธวัชวงค์นางสาววิพรและนางนฤมลยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ คณะกรรมการเปรียบเทียบได้เปรียบเทียบปรับนายธวัชวงค์ในฐานะตัวการเป็นเงิน9,821,867.35 บาท  นางสาววิพรและนางนฤมลในฐานะเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนเป็นเงินรายละ 333,333.33 บาท… เรียบร้อยโรงเรียนBGH

หลังจากเปลี่ยนรหัสมาเป็น BDMS เป็นต้นมา ยังไม่เคยมีข้อกล่าวหาเรื่องอินไซเดอร์เทรดดิ้งเกิดขึ้นเลย แต่การที่ “คนใน” ยังทำการซื้อ โอน หรือ ขาย กันต่อเนื่อง ก็ถือเป็นกิจวัตรปกติโดยปริยาย

ถามเซียน “ขาใหญ่” เรื่องราคาหุ้น เขาบอกว่า BDMS ถือว่ามีราคาต่ำเมื่อเทียบกับหุ้นโรงพยาบาลด้วยกัน  แม้ว่าพี/อีจะอยู่ที่ระดับเกิน 35 เท่า มายาวนาน แต่ถือว่าแพงเทียบกับมาตรฐานพี/อีตลาดที่ระดับ 15 เท่า…เหตุผลที่ราคาลงยาก ก็เพราะมีปรากฏการณ์ “คนใน” ซื้อต่อเนื่องเป็นระวิงอย่างนี้แหละ ทำให้ตลาดมีกรอบความเชื่อมั่น 4 ประการพร้อมกัน (ซึ่งไม่รู้อีกว่าเกิดจากหลงผิดหรือโมหาคติแค่ไหน) คือ

– “คนใน” ย่อมรู้เรื่องข่าวดีมากกว่าคนนอกเสมอ

– “คนใน” ที่ซื้อครั้งละก้อนใหญ่ แสดงว่ามีข่าวดีรออยู่จริง ไม่หลอก ถ้าซื้อประปราย แสดงว่าหลอก “เก็บของถูก”

– “คนใน” ในบริษัทขนาดกลางหรือเล็กจะรู้ข้อมูลวงในดีกว่าบริษัทบลูชิพ

– ข่าวดี-ร้ายหลังจากการซื้อ-ขายของ “คนใน” จะเกิดขึ้นภายใน 1 ปีข้างหน้า ไม่ใช่ในอีก 1-2 เดือน ถึงจะไม่เข้าข่ายอินไซเดอร์เทรดดิ้ง

คำถามสุดท้ายหลังคำอรรถาธิบายข้างต้นคือ แมงเม่าจะไล่แห่ตาม “คนใน” ดีหรือไม่

คำตอบที่ชวนให้งุนงงคือ “การกระทำบางอย่าง เป็นความสามารถพิเศษ ไม่ควรลอกเลียนแบบ”

อย่าเห็นช้างขี้ แล้วขี้ตามช้าง…ล่ะกัน

โดยเฉพาะตอนที่ BDMS เพิ่งทำนิวไฮมาหมาดๆ เมื่อวันอังคารก่อนหยุดสงกรานต์…เพราะมันเป็นช่วงเวลา “ออกของ” มากกว่า “ซื้อเก็บ” จ้าาาาา

 

 

Back to top button