ยืดเวลา มีส่วนลดแฉทุกวัน ทันเกมหุ้น
เอกสารของฝ่ายบริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 59 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยพนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องบริษัทเป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.287/2559 และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.288/2559 ของศาลจังหวัดสระบุรี โดยเรียกให้ใช้ราคาค่าแร่ฯ และค่าภาคหลวงฯ เป็นจำนวนทุนทรัพย์ 327,680,219.25 บาท และ 1,671,128,829.14 บาท ตามลำดับ
เอกสารของฝ่ายบริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 59 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยพนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องบริษัทเป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.287/2559 และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.288/2559 ของศาลจังหวัดสระบุรี โดยเรียกให้ใช้ราคาค่าแร่ฯ และค่าภาคหลวงฯ เป็นจำนวนทุนทรัพย์ 327,680,219.25 บาท และ 1,671,128,829.14 บาท ตามลำดับ
รวมแล้วตกประมาณ 1,998.80 ล้านบาท โดยบริษัทได้รับทราบสำเนาคำฟ้องโดยวิธีการปิดหมาย ฉบับลงวันที่ 8 เมษายน 2559
ข่าวดังกล่าว มีผลทำให้ราคาหุ้นตอนเช้าวานนี้ของ TPIPL ร่วงลงมากถึง 7% ในทันทีที่เปิดตลาด หลังจากหยุดยาว 5 วันรวด เพราะแม้ว่าคดียังไม่สิ้นสุดก็จริง (คงจะยืดเยื้อกันหลายปี) แต่ก็ไม่ใช่ข่าวดีสำหรับนักลงทุนแน่นอน
เรื่องดังกล่าว ทำให้คำแนะนำเชิงบวกก่อนหน้านี้ของนักวิเคราะห์หลายสำนักว่า ปีนี้จะเป็นปีที่โดดเด่นของ TPIPL หลังจากย่ำแย่ในช่วงปี 2557-2558 ธุรกิจซีเมนต์และคอนกรีตแข่งขันด้านราคารุนแรงมาก ทำให้ผลประกอบการในส่วนธุรกิจนี้ไม่สดใด แต่จะมีการทดแทนให้สวยงาม เพราะจะมีการนำธุรกิจโรงไฟฟ้า โดยธุรกิจโรงไฟฟ้าภายใต้ชื่อ บริษัท ทีพีไอโพลีน พาวเวอร์ จำกัด (TPIPP) มีกำลังการผลิต 73 MW (โรงไฟฟ้าขยะ 55 MW และโรงไฟฟ้าความร้อนทิ้ง 18 MW) ซึ่งในส่วนนี้คาดว่าจะทำกำไรได้ราว 1.2 พันล้านบาท ในปี 2559 (โรงไฟฟ้า 55 MW) เริ่มเดินเครื่องในเดือนกันยายน 2558) เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ กลายเป็นเรื่องรองลงไปทันทีในระยะเฉพาะหน้านี้
หากประเมินในระยะยาว รายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้า และการนำบริษัทย่อยเข้าตลาด อาจจะทำให้ฐานะการเงินแข็งแกร่งขึ้น ทำให้กลบปัญหาธุรกิจปูนซีเมนต์ที่คาดว่าปีนี้จะยังต่ำมาก รวมทั้งธุรกิจหลังคาไฟเบอร์และคอนกรีตที่คาดว่าจะขาดทุนต่อในปีนี้ เนื่องจากกำลังการผลิตใหม่ของโรงงานปูนซีเมนต์แห่งที่ 4 จำนวน 4.5 ล้านตัน/ปี ซึ่งคาดว่าจะทยอยเข้าสู่ตลาดในปีนี้เช่นกัน จะบังคับให้บริษัทต้องใช้แผนกลยุทธ์เรื่องลดราคาเข้าช่วยผลักดันยอดขายในประเทศ และเร่งผลักดันการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านใน CLMV ให้มากขึ้น…แต่ก็อย่างที่ทราบกันดี ข่าวร้ายจำง่ายกว่าข่าวดีเสมอ ยิ่งเป็นข่าวร้ายที่มีเร็ว ย่อมมีพลังเหนือกว่าข่าวดีที่มาช้า
เมื่อไม่ใช่ข่าวดี ก็ต้องส่งผลเสียหายต่อราคาหุ้น แม้ว่าจะยังใช้เวลาอีกนาน ก็เป็นเรื่องที่ทางผู้ถูกกล่าวหาต้องชี้แจง…ซึ่งเป็นธรรมดาอีกเช่นกันที่จะต้องชี้แจงแบบสูตรสำเร็จว่า ”ไม่ผิด ไม่ผิด”…จะให้รับสารภาพกันง่ายๆ มันก็กระไร
ตัวแทนของ TPIPL ชี้แจงว่า “…ที่ดินที่พิพาทในคดีแรกเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งมีทางสาธารณะผ่าน มิใช่ที่ดินของบริษัท และในคดีหลังที่ดินที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งบริษัทได้รับประทานบัตร โดยชอบด้วยกฎหมายและบริษัทได้ชำระค่าตอบแทนให้แก่รัฐ โดยถูกต้องตามกฎหมาย และรัฐไม่ได้รับความเสียหายดังที่กล่าวอ้างโดยพนักงานอัยการจังหวัดสระบุรีบุคคลเดิม ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล…” พร้อมกับยืนยันว่า บริษัทจะใช้สิทธิทางกฎหมายเพื่อต่อสู้คดีต่อไป
ที่น่าสนใจก็คือ คดีนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นคดีเก่า เพราะเรื่องเดียวกันได้เกิดขึ้นเมื่อพบว่า วันที่ 8 กรกฎาคม 2558 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยพนักงานอัยการ จากจังหวัดสระบุรี ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัทเป็นจำเลย ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 776/2558 ของศาลจังหวัดสระบุรี ฐานละเมิดโดยเรียกค่าเสียหายให้ใช้ราคาแร่อุตสาหกรรม เป็นจำนวนทุนทรัพย์ 4,066,515,823.54 บาท
ครั้งนั้น TPIPL ได้ชี้แจงต่อตลาดว่า ยังไม่ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องในคดีดังกล่าวแต่อย่างใด
แล้วครั้งนั้นเช่นกัน ที่บริษัทยืนกระต่ายขาเดียวคล้ายกับคดีล่าสุด โดยระบุว่า “…บริษัทไม่ได้กระทำผิดตามคำฟ้องของพนักงานอัยการดังกล่าว โดยที่ดินที่มีปัญหาข้างต้นเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งมีทางสาธารณะผ่าน ไม่ใช่ที่ดินของบริษัท ขณะนี้คดีอยู่ในดุลยพินิจของศาล…”
ความแตกต่างระหว่างคดีที่ “ไม่ใช่ที่ดินของบริษัท” ในปี 2558 แล้วเปลี่ยนมาเป็น “เป็นที่ดินของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายบางส่วน” ที่มีนัยต่างกันมากแล้ว ตัวเลขมูลค่าที่ดินก็เปลี่ยนไปชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้าเลยทีเดียว จาก 4,066.51 ล้านบาท เมื่อปีก่อน มาเหลือเพียงแค่ 1,998.80 ล้านบาท
เวลาเปลี่ยนไป คดีเดียวถูกแยกออกเป็น 2 คดี และที่สำคัญ…มูลค่าที่ดินก็เปลี่ยนไป แต่แทนที่จะเพิ่มขึ้น กลับลดลง…น่าประหลาดใจ
หรือว่า มูลค่าและราคาที่ดินมีดิสเคาท์กันได้ด้วย?????
คนที่รู้ดีเรื่องนี้ หนีไม่พ้น ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้ที่เคยทำให้ทุกอย่างในโลกนี้…เป็นไปได้เกือบทุกเรื่อง…อิ อิ อิ
ไม่เชื่อดูค่า พี/อี ล่าสุดของ TPIPL ที่ระดับมากกว่า 140 เท่า ก็แล้วกัน…55555