เกมใหม่ยักษ์ส่งออกน้ำมัน พลวัต 2016

ตลอดวันของพุธที่ 20 เมษายน 2559 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ร่วงติดลบจากวันก่อนหน้าตลอดทั้งวัน หลังจาก ทราบข่าวการยุตินัดหยุดงานของคนงานเจาะสำรวจน้ำมันในคูเวต


ตลอดวันของพุธที่ 20 เมษายน 2559 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ร่วงติดลบจากวันก่อนหน้าตลอดทั้งวัน หลังจาก ทราบข่าวการยุตินัดหยุดงานของคนงานเจาะสำรวจน้ำมันในคูเวต 

กลางดึก (ตามเวลาประเทศไทย) วันเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเกิดการพลิกผัน จนสามารถปิดตลาด บวกขึ้น 4-7% ที่ราคาสูงสุดในรอบ 5 เดือน แล้วมีผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯที่ผันผวน ทั้งบวก และลบสลับกันในช่วงแรกที่เปิดตลาด เปลี่ยนเป็นการบวกที่ยั่งยืนตลอดการซื้อขายวันดังกล่าว ดัชนี S&P500 ทำนิวไฮในรอบ 5 เดือน

การพลิกผันของราคาน้ำมันดิบ เกิดขึ้นจากการที่รัฐมนตรีช่วยกระทรวงน้ำมันของอิรัก ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทางโทรศัพท์ ระบุว่า ขณะนี้บรรดาชาติส่งออกน้ำมันทั้งที่เป็นสมาชิกของโอเปคและไม่ใช่ ได้หารือกันเพื่อวางแผนที่จะ เปิดการประชุมเพื่อตรึงผลผลิตน้ำมันดิบครั้งใหม่ในเดือนพฤษภาคมนี้ที่ประเทศรัสเซีย แต่ยังไม่ได้กำหนดวันและเวลาที่แน่ชัด

ข่าวดังกล่าวที่มีอิทธิพลต่อตลาดเก็งกำไรรุนแรง แม้ว่าจะถูก นายอเล็กซานเดอร์ โนวัค รมว.พลังงานของรัสเซีย กล่าวปฏิเสธในเวลาต่อมาก็ไม่มีความหมายให้เกิดการพลิกผัน เพราะนักลงทุนปักใจเชื่อกันเสียแล้วว่ามีความหวังครั้งใหม่ต่อการตรึงผลผลิตน้ำมันครั้งใหม่ เพื่อทำให้ตลาดน้ำมันดิบโลกมีเสถียรภาพ หลังจากที่ล้มเหลวมาจากการประชุมครั้งแรกที่โดฮา เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ข้อเท็จจริงอันคลุมเครือกลับไปกลับมาหาความแน่นอนไม่ได้เช่นนี้ ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้วในช่วงที่การหาทางออกจากช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลก ถูกแรงกดดันจากภาวะน้ำมันล้นตลาด ไม่ต่างอะไรกับ “เกมเล่นซ่อนหาความรัก”  ในละครโอเปร่าชื่อดัง “คาร์เมน

คำถามก็มีอยู่ว่า บรรดาชาติ ผู้ผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ของโลกมีการสมคบคิดกันเล่นเกมนี้ในลักษณะคนละบท หรือมีความขัดแย้งทั้งบนผลประโยชน์และโดยธรรมชาติ

ข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นวันดีราคาน้ำมันต่ำสุดในรอบเจ็ดปีที่ระดับ 20 7 ดอลลาร์เศษแล้วเริ่มมีการเสนอแนะจากรัสเซียเพื่อให้มีการเจรจาตรึงกำลังผลผลิตก่อนที่จะมาเป็นข้อตกลงเบื้องต้นวันที่ 20 มีนาคม ซึ่งเริ่มมีการเปิดเจรจาเพื่อตรึงกำลังการผลิตน้ำมันทั่วโลก อย่างเป็นทางการ ราคาน้ำมันดิบวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องมายืนที่ระดับใกล้เคียง 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก่อนการเจรจาเป็นทางการที่เมืองโดฮาและประสบความล้มเหลว

ราคาน้ำมันดิบที่วิ่งขึ้นประมาณ 29% ระหว่าง 17 กุมภาพันธ์-15 เมษายน ได้มีส่วนสร้างรายได้พิเศษที่เกินระดับปกติกับชาติที่ส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลก ทั้งที่เป็นสมาชิกโอเปคและไม่ใช่ มากถึง 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

การวิ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบที่สร้างรายได้มหาศาลภายในเดือน 775 ช่วยลดภาระทางการเงินการคลังของชาติส่งออกน้ำมันลงไปมหาศาล จากปัจจัยหลักที่ไม่ต้องเหนื่อยยากกันเลย นั่นคือ การ ใช้ประโยชน์จากสงครามข่าวสารว่าด้วย ความพยายามของ ชาติผู้ผลิตน้ำมันส่งออกในการสร้างเสถียรภาพของตลาด

ในทฤษฎีเกม นี่คือ การกระทำที่มีต้นทุนต่ำอย่างยิ่งแต่ให้สัมฤทธิผลที่สูง

โดยข้อเท็จจริง การทำข้อตกลงตรึงผลผลิตน้ำมันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาหลักของธุรกิจน้ำมันโดยตรงแต่อย่างใด เพราะปัญหาหลักของธุรกิจในขณะนี้คืออุปสงค์ของตลาดต่ำกว่าอุปทาน และน้ำมันส่วนเกินก็จะยังคงกดดันราคาให้ไร้เสถียรภาพต่อไป อีกนานรายไตรมาส 

ข้อตกลงตรึงผลผลิต เป็นเพียงข่าวที่เปิดทางให้กองทุนเก็งกำไรพากันออกแรงดันราคาน้ำมันขึ้นไป ทั้งที่มีคำถามตามมาว่า ดันขึ้นไปขายให้ใครกันแน่ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น เพราะราคาในตลาดเก็งกำไรจะสะท้อนออกมาที่ราคาซื้อขายน้ำมันจริงในตลาดทั่วโลกแถมยังส่งผลให้ราคาหุ้นพลังงานและปิโตรเคมีทั่วโลกได้รับมุมมองทางบวกจากนักลงทุนทุกกลุ่ม

ข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยคือ ช่วงเวลาเดือนเศษๆ ของขาขึ้นจากจุดต่ำสุดของราคาน้ำมันปีนี้ มาถึงก่อนการประชุมโดฮา ทำให้รัสเซียมีรายได้เพิ่มเติมจากระดับปกติมากถึง 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนซาอุดีอาระเบียได้รับรายได้เพิ่ม 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ประเทศที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการเจรจาอย่างสหรัฐฯ ก็ยังมีรายได้เพิ่มจากปกติมากถึง 3,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่แคนาดามีรายได้พิเศษเพิ่มขึ้น 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน

ความสำเร็จเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการประชุมสร้างเสถียรภาพให้ตลาด ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ จึงไม่ใช่ประเด็นเสียแล้ว เนื่องพื้นที่ข่าวว่าด้วยความพยายายามได้กลายเป็น “เหยื่อ” ชั้นยอดสำหรับการเก็งกำไร ไปเสียแล้ว

เกมเล่นข่าวสร้างราคาน้ำมันดิบให้พุ่งขึ้น เป็นเกมที่มีต้นทุนต่ำกว่าการกระทำอย่างอื่น เช่น การพยุงราคาน้ำมัน หรือ การแทรกแซงตลาดด้วยทุนสำรอง หรือภาษีของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือการสร้างสถานการณ์สงครามเทียมขึ้นมาเพื่อดึงราคาน้ำมัน อันเป็นเกมเก่าคร่ำคร่า ที่มีต้นทุนแพงลิ่ว และอาจควบคุมผลไม่ได้

เพียงแต่เกมสงครามข่าวสารนี้ มีประสิทธิผลในระยะสั้นๆ ไม่ยั่งยืน ดังนั้น การสร้างสงครามข่าวสารจึงต้องกระทำเป็นระยะๆ และพึ่งพาสถานการณ์จำเพาะประกอบด้วย

ทฤษฎีเกมในการสร้างสงครามข่าวสารเพื่อหลอกล่อให้ตลาดภายใต้การควบคุมของผู้ผลิตน้ำมันดิบทั่วโลกเรียกว่าชาติยักษ์ใหญ่ทั้งที่เป็นสมาชิกโอเปคและไม่ใช่  อาจจะกลายเป็นสูตรของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งใหม่ของธุรกิจน้ำมันโลก

ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา การต่อสู้ระหว่างรัสเซียกับโอเปคในการเพิ่มผลผลิตน้ำมันและแก๊สธรรมชาตินั้น เกิดขึ้นมาโดยตลอด แต่นั่นยังไม่ได้ส่งผลต่ออิทธิพลของโอเปคให้ลดลงมากมายเท่ากับช่วง3 ปีที่ผ่านมา

ความสำเร็จจากการขุดเจาะเชลล์ออยล์ของสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯกลายเป็นคู่ปรับสำคัญของโอเปคและรัสเซีย ในการกดดันให้ราคาน้ำมันดิ่งเหวเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา การที่ข้อเสนอของรัสเซีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ด้วยการประสานมือของเวเนซุเอลา ได้รับการเสนอตัว ซาอุดีอาระเบีย อิรัก และอื่นๆ  จึงมีส่วนในการสร้างเกมใหม่ของ “แนวร่วมอุปทานน้ำมันดิบ” ที่มีทั้งความหวังในความสำเร็จ และความล้มเหลวจากความขัดแย้งปะปนกัน ที่สามารถครอบงำทิศทางระยะสั้นของราคาน้ำมันในตลาดเก็งกำไร

เป้าหมายของเกมคือ ซื้อเวลาประคองสถานการณ์ในช่วงอุปทานล้นเกินไปเป็นระยะๆ จนกว่าจะเกิดดุลยภาพใหม่ของตลาดน้ำมันขึ้นมาครั้งใหม่ เกมนี้ก็จะเลิกรากันไปโดยปริยาย

Back to top button