COM7 มีศักยภาพ
COM7 ถือเป็นผู้นำตลาดจำหน่ายสินค้าประเภทไอทีในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนสาขามากถึง 287 แห่งในทำเลที่ดี ครวบคลุม Apple Outlets และ icare centers โดยมีจุดเด่นจากส่วนครองตลาดการจำหน่ายมือในแบรนด์ของ Apple มากที่สุด 97 แห่ง จากทั้งหมด 148 แห่ง และ iCare centers มีอยู่ 20 แห่งจากทั้งหมด 39 แห่ง หรือคิดเป็น 66% และ 51% ตามลำดับ และปัจจุบันบริษัทมีสินค้าครอบคลุมถึง 10,000 รายการ และคิดเป็นแบรนด์มากกว่า 100 แบรนด์ เป็นที่รู้จักดีในหมู่ผู้บริโภค
–คุณค่าบริษัท–
บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7 ถือเป็นผู้นำตลาดจำหน่ายสินค้าประเภทไอทีในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนสาขามากถึง 287 แห่งในทำเลที่ดี ครวบคลุม Apple Outlets และ icare centers โดยมีจุดเด่นจากส่วนครองตลาดการจำหน่ายมือในแบรนด์ของ Apple มากที่สุด 97 แห่ง จากทั้งหมด 148 แห่ง และ iCare centers มีอยู่ 20 แห่งจากทั้งหมด 39 แห่ง หรือคิดเป็น 66% และ 51% ตามลำดับ และปัจจุบันบริษัทมีสินค้าครอบคลุมถึง 10,000 รายการ และคิดเป็นแบรนด์มากกว่า 100 แบรนด์ เป็นที่รู้จักดีในหมู่ผู้บริโภค
ทั้งนี้ คาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรงวดปี 59 ก้าวกระโดดถึง 55% ผลพวงจากอัตรากำไรขั้นต้นของสินค้า iPhone ที่สูงขึ้นประมาณ 2 ppt หลังมีการเจรจากับ Apple ที่จะส่ง iPhone โดยตรงมายังบริษัท ผลตอบแทนจาก SIM ที่มากขึ้น จาก 500 บาทเป็น 1,000 บาทต่อ SIM ตลอดจนการจัดตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใช้แล้ว สำหรับอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นงวดปี 59 และ 60 คาดว่าเป็น 32% และ 21% ตามลำดับ
การเพิ่มสาขาการจัดจำหน่ายสินค้าจะส่งผลบริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในอนาคต!
ด้านผลการดำเนินงานสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีรายได้รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14,991.73 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 14,102.46 ล้านบาท เป็นผลจากรายได้จากการขายและการให้บริการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 268.46 ล้านบาท หรือ 0.26 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 209.72 ล้านบาท หรือ 0.23 บาทต่อหุ้น
เมื่อวิเคราะห์ฐานะทางการเงินเพื่อเป็นตัวแปรในการตัดสินใจการลงทุน ก็พบว่า มีฐานะการเงินที่มั่นคงขึ้นอย่างมาก เพราะบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากถึง 3,397.07 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับหนี้สินหมุนเวียนเพียง 2,533.89 ล้านบาท ได้ค่าCurrent ratio อยู่ที่ระดับ 1.34 เท่า แสดงว่า สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทยังมีพอสมควร และสภาพคล่องเริ่มมีมากขึ้น
ส่วนหนี้สินของบริษัทยังไม่น่าเป็นห่วง แม้ว่าจะมีเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินเข้ามาจำนวน 53.61 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีหนี้สินรวม 2,637.53 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น 1,764.25 ล้านบาท ได้ค่า D/E อยู่ที่ระดับ 1.50 เท่า ถือว่าหนี้สินของบริษัทเริ่มเยอะ ถ้าเป็นไปได้ผู้บริหารต้องรีบแก้ไขเสียดีกว่า เพราะบริษัททำกำไรได้อย่างแข็งแกร่ง
ในขณะที่นักวิเคราะห์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ยังแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาพื้นฐาน 8.00 บาท ซึ่งประเมินด้วย P/E ปี 59 ที่ 24 เท่า แม้จะดูสูง แต่บริษัทมีอัตราการเติบโต CAGR ปี 58-61 ที่สูงเป็น 24% ROE ที่สูงขึ้น และมีฐานะเป็นเงินสดสุทธิ ส่วน P/E ปี 59 ขณะนี้ของปี 59 ที่สูงเป็น 21.3 เท่า จะลดลงเป็น 17.5 และ 14.7 เท่าในงวดปี 60 และ 61 ตามลำดับ ส่วน PEG ปี 59 ก็เป็นเพียง 0.71 เท่า เนื่องจากการเติบโตของกำไรที่สูงมาก
…
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
1.นายสุระ คณิตทวีกุล 392,655,200 หุ้น 32.72%
2.นายบัญชา พันธุมโกมล 158,024,800 หุ้น 13.17%
3.น.ส.อารี ปรีชานุกูล 70,600,000 หุ้น 5.88%
4.นายประชา ดำรงสุทธิพงศ์ 59,800,000 หุ้น 4.98%
5.นายกฤชวัฒน์ วรวานิช 37,840,000 หุ้น 3.15%
รายชื่อกรรมการ
1.นาย ศิริพงษ์ สมบัติศิริ ประธานกรรมการ
2.นาย ศิริพงษ์ สมบัติศิริ กรรมการอิสระ
3.นาย ศิริพงษ์ สมบัติศิริ ประธานกรรมการตรวจสอบ
4.นาย สุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
5.นาย สุระ คณิตทวีกุล กรรมการ