กระแสที่เลี่ยงไม่พ้นพลวัต 2016

23 ปีก่อน บริษัท ไทยเรทติ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จากัด (ทริส) ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับเครดิตแห่งแรกของไทย ถูกก่อตั้งขึ้นมาโดยกลุ่มคนหลายกลุ่ม ประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ (กระทรวงการคลังและธนาคารออมสิน) ภาคเอกชน (ธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร บริษัทจัดการกองทุน และบริษัทประกันชีวิต) และบริษัทต่างประเทศ (แมกกรอว์-ฮิลล์) ต่อมา เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ทริส คอร์ปอเรชั่น จากัด ในปี พ.ศ. 2550 หลังจากมีการก่อตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเป็น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ในปี 2545


วิษณุ โชลิตกุล

 

23 ปีก่อน บริษัท ไทยเรทติ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จากัด (ทริส) ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับเครดิตแห่งแรกของไทย ถูกก่อตั้งขึ้นมาโดยกลุ่มคนหลายกลุ่ม ประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ (กระทรวงการคลังและธนาคารออมสิน) ภาคเอกชน (ธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร บริษัทจัดการกองทุน และบริษัทประกันชีวิต) และบริษัทต่างประเทศ (แมกกรอว์-ฮิลล์) ต่อมา เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ทริส คอร์ปอเรชั่น จากัด ในปี พ.ศ. 2550 หลังจากมีการก่อตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเป็น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ในปี 2545

“ทริสเรทติ้ง” ถือเป็นบริษัทเรตติ้งท้องถิ่นรายเดียวที่เผชิญกับแรงเบียดขับไม่มากนักโดยมีคู่แข่งในประเทศสำคัญคือ ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีธุรกิจหลัก คือ รับผิดชอบงานด้านจัดอันดับเครดิตเป็นหลัก ภายใต้การดำเนินงานของกลุ่มบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการจัดอันดับเครดิต และวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของบริษัทต่างๆ และตราสารหนี้ทั้งที่เป็นสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ

วันนี้ สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทำให้การปรับตัวครั้งสำคัญเกิดขึ้นนั่นคือ เปิดทางให้ บริษัท เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้ง (S&P Global Ratings) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก เข้ามาถือหุ้นร่วมทุนในสัดส่วนมากถึง 49%

จากแถลงการณ์ระบุ ด้วยถ้อยคำสวยหรูตามสูตรว่า การถือหุ้นในทริสเรทติ้งของ S&P Global Ratings จะเป็นการยกระดับและกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองบริษัทให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและจะเป็นนิมิตหมายอันดีต่อตลาดทุนของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองใน ASEAN และมีตลาดพันธบัตรที่ใหญ่ เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคอย่างประเทศไทย

หากมองข้ามถ้อยคำที่สวยหรูไปจะเห็นได้ถึงการปรับตัวเพื่อรองรับอนาคตที่มีความหมาย เพราะการอาศัยความช่ำชองของแบรนด์บริษัทท้องถิ่นไม่เพียงพอรับมือกับการแข่งขัน ต้องพึ่งพาแบรนด์ระดับโลกอย่าง S&P

“ทริส” มีข้ออ้างที่สมเหตุผลว่า ตนเองมีความสำคัญที่ S&P  ไม่กล้ามองข้าม และ มองเห็นศักยภาพของตลาดทุนไทยที่จะสามารถเติบโตได้อีกมากในอนาคต โดยทริสเองคาดหมายว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์และศึกษาวิจัยตลาดไทยและตลาดอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นอีกด้วย

ความสัมพันธ์ของทริสเรทติ้งและ S&P Global Ratings เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ผ่านความช่วยเหลือทางวิชาการ

หากมองในทางบวก การร่วมทุนดังกล่าวคือการสร้างพลังผนึกที่ดีเพราะว่าแบรนด์ยิ่งใหญ่ระดับโลกของ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ S&P มีอิทธิพลทำให้ตลาดหุ้นและตลาดทุนทั่วโลกยอมรับมายาวนาน

ดังที่ทราบกันดี บริษัทจัดอันดับเครดิตเป็นธุรกิจพิเศษ ที่ทำหน้าที่ประเมินความน่าเชื่อถือตามเกณฑ์เศรษฐมิติที่พิสูจน์ได้ เพื่อประเมินความสามารถการชำระหนี้ของบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ และรัฐบาลของประเทศต่างๆ ก่อนที่จะมีการออกตราสารระดมทุนมาใช้ เพื่อให้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการกำหนดราคาหรืออัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทน

หนี้สาธารณะ เป็นหนี้ที่กำหนดว่ารัฐบาลแต่ละประเทศ จะมีความสามารถจ่ายคืนหนี้ให้กับเจ้าหนี้ที่ถือตราสารหนี้ของตนได้มากหรือน้อย ซึ่งบริษัทจัดอันดับจะต้องวางตัวเป็นกลางเคร่งครัด

ข้อสรุปทำนองคาดเดาล่วงหน้าถึงอนาคต 10 ปีข้างหน้าของสหรัฐฯในสายตาของ S&P นั้น น่าสนใจอย่างมาก ที่ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2021 ระดับหนี้สาธารณะสุทธิของรัฐบาลสหรัฐฯ จะอยู่ที่ประมาณ 83% ของจีดีพี ดีกว่าปัจจุบัน ที่ระดับ 93% ของจีดีพี ค.ศ. 2021 แต่ความสำเร็จดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อก้าวข้าม 3 ปัจจัยที่เป็นปัญหาในปัจจุบันคือ ระดับหนี้สาธารณะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันจะลดลงได้อย่างไร การควบคุมสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่ให้เพิ่มขึ้น และความด้อยประสิทธิภาพของนักการเมืองในการสร้างวิสัยทัศน์ที่เป็นรูปธรรมในระยะปานกลาง

ข้อสุดท้ายนี่แหละที่โดนใจคนจำนวนมาก เพราะการบรรลุข้อตกลงในรัฐสภาในช่วงที่ผ่านมาล่าสุด สะท้อนได้ชัดเจนว่าผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯทั้งในระดับรัฐสภาและฝ่ายบริหารไม่ได้บรรลุข้อตกลง เกี่ยวกับวิธีการรับมือกับความท้าทายงบประมาณระยะกลางและระยะยาวอย่างแท้จริง แต่เอาตัวรอดเฉพาะหน้าเป็นสำคัญ

พูดให้กระชับก็คือ S&P ถือว่า การต่อรองระหว่างนักการเมืองที่ผ่านมา เป็นเรื่องยากลำบากในการเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างพรรคการเมือง จนกระทั่งนโยบายการคลังไม่สามารถก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมได้เลย หากยังมีการประนีประนอมเพื่อรักษาหน้าระหว่างกันเอาไว้

การเพิ่มหรือลดอันดับเครดิตของ S&P ทำให้บรรดาบริษัทต่างๆ พากันหวาดผวากันอยู่ได้เรื่อยๆ และพยายามรักษากรอบในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทอย่างรอบคอบ ด้วยเกรงว่าหากมีการประเมินแต่ละครั้งเสร็จแล้ว จะส่งผลต่อมูลค่าของกิจการอย่างมีนัยสำคัญ

การร่วมทุนครั้งนี้น่าจะเป็นวิน-วินและมีความหมายลึกซึ้งต่อไป

 

Back to top button