ITEL พร้อมลงสนาม 14 ก.ย.เต็มตัว “ณัฐนัย” มั่นใจ กำไรปีนี้โตเท่าตัว!

ITEL พร้อมลงสนาม 14 ก.ย.เต็มตัว "ณัฐนัย" มันใจ กำไรปีนี้โตเท่าตัว!


คุณณัฐนัย อนันตรัมพร กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ITEL เปิดเผยผ่านรายการ “ข่าวหุ้นเจาะตลาด ออนเรดิโอ” ทาง FM 98.5 MHz สถานีข่าวจริง สปริงเรดิโอ ช่วงเวลา 9.30-11.00 น. ว่าในวันที่  14 ก.ย.นี้ พร้อมที่จะเข้าเทรด และเตรียมดำเนินการทุกอย่างไว้แล้วอยู่ในระหว่างการจองหุ้นซึ่งหุ้นที่ขายระหว่างผู้ถือหุ้นเดิม 60 ล้านหุ้น และผู้ถือหุ้นเดิมก็จองเรียบร้อยไปตั้งแต่อาทิตย์ ( 4 ก.ย.59) ส่วนผู้ถือหุ้นใหม่ที่จะเข้ามาจองจะปิดดำเนินการทั้งหมดภายในวันนี้ (9 ก.ย.) แต่ล่าสุดค่อนข้างล้น เนื่องจากว่าธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยมีในตลาด หมายความว่ามีรายได้ต่อเนื่อง และสามารถเกาะเทรนไปกับดิจิตอลอะคาเดมี่ จึงทำให้เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน

โดยบริษัทเป็นธุรกิจที่มีรายได้ต่อเนื่อง ซึ่ง 70% จะเป็นธุรกิจที่มีลูกค้าและทำสัญญากับทางบริษัทในระยะยาว ส่วนอีก 30% เป็นงานลักษณะโครงการ ซึ่งภาพรวมของบริษัทได้ให้บริการหลักๆทั้งหมด 4 อย่าง การบริการแรกคือการบริการในการเชื่อมต่อโครงข่าย คือการเชื่อมต่อระหว่างสาขาและรับส่งข้อมูลระหว่างกัน เพราะฉะนั้นฐานลูกค้าคือใครก็ตามที่ต้องการเชื่อมต่อข้อมูลเป็นลูกค้าให้หมดไม่ว่าจะเป็น แบงก์ทีวี วิทยุต่างๆ นี่คือลูกค้ากลุ่มแรก

ขณะที่บริการที่สองคือ ให้บริการ ดาต้า เซ็นเตอร์ (Data cente) ซึ่งในประเทศไทยไม่ค่อยมี ดาต้า เซ็นเตอร์ (Data cente) ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ แต่ทาง ITEL มีดาต้า เซ็นเตอร์ (Data cente) ที่สร้างขึ้นเองโดยเฉพาะ และสามารถขายได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง เป็นหนึ่งในสิ่งหน้าสนใจในโปรดักส์ของบริษัท

ส่วนการให้บริการที่สามคือการรับติดตั้งโครงข่ายใหม่ นั่นคือการเดินสายใยแก้วนำแสงให้ผู้ให้บริการมือถือ ซึ่งปัจจุบันมี AIS, TRUE, DTAC โดยปัจจุบันสังเกตได้ถึงการขยายตัวของระบบ 4G ออกมาค่อนข้างมาก บริษัทจึงเข้าไปสนับสนุนตรงนี้

อย่างไรก็ตามการให้บริการรับติดตั้งโครงข่ายใหม่นั้น นอกเหนือจากโอเปอเรเตอร์ต่างๆแล้ว ทางกองทุนโครงสร้างพื้นฐานมีโอกาสต้องใช้บริการของทางบริษัท แต่ส่วนมากจะเป็นการซื้อหรือเอาโครงข่ายออกมาจัดตั้งกองทุน 3 ผู้ที่มีโครงข่ายเดิมอยู่แล้ว คือสุดท้ายแล้วลูกค้าก็กลับไปเป็นกลุ่มผู้ให้บริการมือถือ กลุ่มผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น AIS, TRUE, DTAC หรือแม้กระทั่ง  TOT, CAT เป็นต้น จะเป็นฐานลูกค้าที่จะเข้าได้หมด

และตัวสุดท้ายในเรื่องของดาต้า เซ็นเตอร์ (Data cente) หลายคนอยากสร้าง ดังนั้นทาง ITEL จึงรับการก่อสร้างดาต้า เซ็นเตอร์ (Data cente) ให้กับลูกค้าที่มีความต้องการ

ซึ่งการมีรายได้ต่อเนื่องของทางบริษัท มาจากการที่ลูกค้าทำสัญญากับทางบริษัทในระยะยาว หมายความว่า ลูกค้าในวันก่อนหน้าเป็นลูกค้าของบริษัทในวันนี้ เพราะฉะนั้นลูกค้าก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ และสัญญาที่ทำกับลูกค้านั้น มีตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 15 ปี การที่ลูกค้าทำสัญญาระยะยาวจะทำให้ฐานลูกค้ามั่นคงและเติบโตได้ทุกปี

เนื่องจากปีที่แล้วทางบริษัทมีกำไรเกือบ 30 ลบ. ส่งผลให้ครึ่งปีแรก 59 มาอยู่ที่ 36 ลบ. และปีนี้ทั้งปีอาจจะโตเป็นเท่าตัว ซึ่งเหตุผลที่โตแบบก้าวกระโดดนั้น มาจากอุตสาหกรรมดิจิตอลอโคโดมี่ ที่ทำอยู่หรือแม้กระทั้งผู้คนมีการใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ย้อนกลับมาที่โมเดลพิเศษของทางบริษัทที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว และหาลูกค้ามาเพิ่ม ซึ่งลูกค้าในปีที่แล้วมีอัตราการยกเลิกต่ำมาก โดยอยู่ที่ประมาณ 1.32% แปลว่าถ้ามีลูกค้า 100 ราย ยกเลิก 1 ราย เหลือ 99 ราย แต่ลูกค้าก็ยังหารายได้ ถ้าหาได้ 100 ราย ก็จะกลายเป็น 199 ราย ทำให้ฐานใหญ่ขึ้น คือ On Top

ทั้งนี้การระดมทุนอยู่ที่ 5.20 บาท ระดมทุน 200 ล้านหุ้น โดยได้เงินมาทั้งหมด 1,040 ล้าน และวางแผนในส่วนนี้ไว้ว่า 1 ในนั้นจะเป็นเงินจองส่วนแรกไว้สำหรับการขยายโครงข่าย ซึ่งปริมาณการใช้งานมีการเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน เพราะฉะนั้นจะต้องขยายจาก 10GB ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม 4 เท่า เพื่อรองรับอนาคตประมาณ 50 ล้านบาท

ส่วนที่สองคือเรื่องของธุรกิจดาต้า เซ็นเตอร์ (Data cente) ขายที่แรกไปเต็มแล้ว จึงขยายเพิ่มเพื่อไปร่วมทุนกับอีก 2 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วย AIT และ WHA ต้องระดมทุน และใส่เงินเข้าไปในบริษัทใหม่จะใช้เงินสดประมาณ 70 ล้านบาท ส่วนที่สามเป็นการใช้คืนเงินกู้เนื่องจาก 3 ที่แล้วที่เริ่มประกอบธุรกิจอย่างจริงจังจำเป็นที่ต้องใช้เงินลงทุนในปริมาณมากซึ่งต้องใช้เงินของธนาคารส่วนหนึ่ง กู้มากว่า 1,800 ล้านบาท ซึ่งจะคืนเงินกู้กว่า 600 ล้านบาท จะได้ผลดีจากประหยัดดอกเบี้ยทำให้กำไรสุทธิดีขึ้น ดีอี เรโช (d/e ratio)ลดมาจาก 6.5 เท่า เหลือต่ำกว่า 1.3

หนี้สถาบันการเงินอยู่ประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งหนีทั้งหมดที่มีได้จ่ายดอกเบี้ยต่อปีประมาณ 60 ล้านบาท การคืนเงินไป 600-800 ล้านบาท สามารถเซฟดอกเบี้ยได้ถึง 20 ล้านบาท ต่อปีทำให้ EP ต่ำ นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุมเวียน และดาต้า เซ็นเตอร์ (Data cente) ตัวใหม่จะแล้วเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 60 และจะมีลูกค้าประมาณ 30% ของพื้นที่ใช้บริการทั้งหมดเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลัง สิ่งที่แปลมาเป็นเงินได้ใน 30% จะได้สัญญาตลอด 5 ปี ประมาณ 200 ล้านบาท ต่อปีคิดเป็น 40 ล้านบาท แต่ต้องหารกัน 1 ใน 3 ซึ่งบริษัทได้จริงๆทั้งหมดประมาณ 60-70 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ILINK และ ITEL สามารถมีโครงการร่วมกันหลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วนั้น คือโครงการทางด้านไฟฟ้าและสื่อสาร อาจจะเป็นสมาร์ทมิเตอร์คือจากการที่เป็นคนเดินจดจะใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เป็นระบบไอทีในการบริหารจัดการซึ่งต้องมีทั้ง 2 ส่วน คือไฟฟ้าและสื่อสาร ความร่วมมือตรงนี้จะมีบุคคลากรทั้งสองส่วนเข้ามาร่วมกันในการจัดการจะเห็นโครงการนี้ประมาณต้นปีหน้า หรือกลางปีหน้า ซึ่งราคาดิสเคาท์เยอะพอสมควร

ในขณะที่ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเทศไทย ให้เป้าที่ 8.50 บาท

 

Back to top button