จับตา! ก.พลังงานนัดถก ก.เกษตรฯแก้ปัญหาที่ดิน ส.ป.ก.ตั้งวินด์ฟาร์มพรุ่งนี้

จับตา! ก.พลังงานนัดถก ก.เกษตรฯแก้ปัญหาที่ดิน ส.ป.ก.ตั้งวินด์ฟาร์มพรุ่งนี้


นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษกกกพ. เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะนัดหารือกันในวันพรุ่งนี้ (15 ก.พ.) เกี่ยวกับปัญหาการเช่าที่ดินสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เพื่อติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้า หลังก่อนหน้านี้ส.ป.ก.ระบุว่าจะขอพิจารณาเป็นรายโครงการ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เพิกถอนการอนุญาตให้ บริษัท เทพสถิต วินด์ฟาร์ม จำกัด ใช้ที่ดินเนื่องจากกิจการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมมิได้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร

ทั้งนี้ หากดูตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2553 จะพบว่ามีประกาศเพิ่มเติมว่าที่ดินของส.ป.ก.สามารถใช้ในกิจการอื่นที่สนับสนุนการปฏิรูปที่ดิน โดยสามารถเป็นกิจการบริการ ที่ช่วยเหลือความเป็นอยู่ของเกษตรกรด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ ทำให้ในปีเดียวกันนั้นกระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรฯ ได้ลงนามร่วมกันเพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทนร่วมกัน โดยหนึ่งในนั้นคือการที่ส.ป.ก.ให้เช่าที่เพื่อผลิตไฟฟ้าพลังงานลม โดยมีข้อตกลงสำคัญคือ เอกชนผู้พัฒนาต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ 35,000 บาท/ไร่/ปี ซึ่งผู้พัฒนานอกจากจ่ายเข้ากองทุนฯแล้วยังมีโครงการ CSR ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ด้วย

นายวีระพล กล่าวว่า โครงการพลังงานลมที่มีข้อตกลงเช่าพื้นที่จากส.ป.ก.มีทั้งหมด 15 โครงการ หากดูตัวเลขของ ส.ป.ก.จะมีโครงการมากกว่าเพราะบางโครงการเช่า ที่ดินคาบเกี่ยว 2 จังหวัด จึงต้องทำหนังสือเช่ากับ ส.ป.ก. 2 ฉบับ แต่หากดูจำนวนผู้พัฒนาโครงการและกำลังผลิตแล้ว จะมีตัวเลขเดียวกันกำลังผลิตรวม 1,065 เมกะวัตต์ ในจำนวนนี้มีการผลิตไฟฟ้าแล้ว 5 โครงการรวม 354 เมกะวัตต์ และอีก 10 โครงการ 711 เมกะวัตต์ อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งหากยกเลิกโครงการทั้งหมด ก็คงจะกระทบการลงทุน เพราะแต่ละรายลงทุน 80-90 ล้านบาท/เมกะวัตต์ หรือ รวม 8-9 หมื่นล้านบาท และส่วนใหญ่ก็มีโครงการ CSR ในการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ด้วย

รวมถึงผลการดำเนินงานบริษัทย่อย คือ บริษัท เอส เอ็น ซี ครีเอติวิตี้ แอนโทโลจี (SCAN) , บริษัท เอส เอส เอ็ม ออโต้เมชั่น จำกัด (SSMA) ,บริษัท เมอิโซะ เอสเอ็นซี พรีซิชั่น (MSPC) , บริษัท เอส เอ็น ซี ฟุกุอิ โฮลี อินซูเลชั่น (SFHI) ได้มีการปรับโครงสร้างภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ปีนี้จึงจะไม่ได้รับผลกระทบจากผลขาดทุนจากบริษัทย่อยอีก

“ด้วยการปรับโครงสร้างของบริษัทย่อย ทำให้ผลกระทบจากบริษัทย่อยไม่มีอีก และการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อป จะช่วยให้บริษัทสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้กว่า 10 ล้านบาทต่อปี ในขณะเดียวกันธุรกิจของเราทั้งด้านชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจว่าผลประกอบการทั้งในแง่รายได้และกำไรจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากปี 59″นายสามิตต์ กล่าว

นายสามิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทตั้งงบลงทุนไว้ราว 300-400 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับปรับปรุงเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ บริษัทเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ โดยเป็นการร่วมลงทุนกับพันธมิตรท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง กำลังการผลิตราว 3 เมกะวัตต์ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างขอรอความชัดเจนจากภาครัฐในเรื่องของสัญญาซื้อขาย (PPA) โดยเบื้องต้นวางงบลงทุนไว้ 240 ล้านบาท ขณะที่คาดว่าโครงการจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) ในระดับ 20% และคาดว่าภายใน 5 ปีจะสามารถคืนทุนได้ทั้งหมด

Back to top button