สรุปภาวะตลาดต่างประเทศวันศุกร์
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 2 มิ.ย.60
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวก เมื่อวันศุกร์ (2 มิ.ย.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยหนุนดัชนีดาวโจนส์, S&P 500 และ Nasdaq เดินหน้าทำสถิติปิดที่ระดับสูงสุดติดต่อกันเป็นวันที่ 2 อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการซื้อขายในตลาดได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ แม้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ก็ตาม
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 21,206.29 จุด เพิ่มขึ้น 62.11 จุด หรือ +0.29% ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,439.07 จุด เพิ่มขึ้น 9.01 จุด หรือ +0.37% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,305.80 จุด เพิ่มขึ้น 58.97 จุด หรือ +0.94%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก เมื่อวันศุกร์ (2 มิ.ย.) โดยดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะได้แรงหนุนจากรายงานยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่งของเยอรมนี โดยข้อมูลดังกล่าวได้ช่วยสกัดปัจจัยลบจากรายงานที่ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.2% ปิดที่ 392.55 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,343.41 จุด เพิ่มขึ้น 24.74 จุด หรือ +0.47% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,822.94 จุด เพิ่มขึ้น 158.02 จุด หรือ +1.25% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,547.63 จุด เพิ่มขึ้น 3.86 จุด หรือ +0.05%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับขึ้น เมื่อวันศุกร์ (2 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเหมืองทองคำ อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ รวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งในอังกฤษซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 8 มิ.ย.นี้
ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 7,547.63 จุด เพิ่มขึ้น 3.86 จุด หรือ +0.05%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลง เมื่อวันศุกร์ (2 มิ.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า การที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ตัดสินใจนำสหรัฐถอนตัวออกจาก “ความตกลงปารีสว่าด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ” จะส่งผลให้สหรัฐขุดเจาะและผลิตน้ำมันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะน้ำมันล้นตลาด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐมีจำนวนเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 20
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ร่วงลง 70 เซนต์ หรือ 1.5% ปิดที่ 47.66 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค.
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 68 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 49.95 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้น เมื่อวันศุกร์ (2 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ยังได้ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. พุ่งขึ้น 10.1 ดอลลาร์ หรือ 0.80% ปิดที่ 1,280.20 ดอลลาร์/ออนซ์ และตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 1%
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 24.4 เซนต์ หรือ 1.41% ปิดที่ 17.525 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. พุ่งขึ้น 24.4 ดอลลาร์ หรือ 2.63% ปิดที่ 953.4 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 10.95 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 834.05 ดอลลาร์/ออนซ์
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (2 มิ.ย.) หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนเม.ย.
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 110.48 เยน จากระดับ 111.43 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9640 ฟรังก์ จากระดับ 0.9715 ฟรังก์
ส่วนยูโรแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.1277 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1212 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.2881 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2883 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 0.7438 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7379 ดอลลาร์สหรัฐ