CPF-CRESH กอดคอกันร่วง เหตุรับผลกระทบอียูให้ใบเหลืองประมงไทย

CPF-CRESH กอดคอกันร่วง เหตุรับผลกระทบอียูให้ใบเหลืองประมงไทย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ณ เวลา 10.46 น. อยู่ที่ระดับ 24.10 บาท ลบ 0.40 บาท หรือ 1.63% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 549.55 ล้านบาท ส่วน บริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ CFRESH ณ เวลา 10.50 น. อยู่ที่ระดับ 8.60 บาท ลบ 0.05 บาท หรือ 0.58% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 74.74 ล้านบาท

บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (22 เม.ย.) ว่า EU ประกาศให้ใบเหลืองประมงไทยเป็นทางการ กรณีทำประมงผิดกฎหมาย และให้เวลาแก้ไข 6 เดือน มิฉะนั้นจะถูกใบแดงห้ามส่งออกสินค้าประมงไป EU การให้ใบเหลืองครั้งนี้ยังไม่มีผลต่อการส่งออกสินค้าประมงทันที แต่หากโดนใบแดง อาหารทะเลของไทย (กุ้ง ทูน่า ปลาหมึก) ซึ่งมีมูลค่าส่งออกไปยัง EU ปีละ 3 หมื่นล้านบาทจะถูกห้ามส่งออกไป EU

หุ้นที่จะถูกกระทบมี บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร(CPF), บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นส์ โปรดักส์(TUF) และบมจ.ซีเฟรชอินดัสตรี(CFRESH) หากเทียบเคียงกรณีสหรัฐปรับลดการประมงไทยสู่ Tier 3 ประเด็นแรงงานค้ามนุษย์เมื่อ มิ.ย. 2014 ราคาหุ้น CPF, CFRESH ปรับลง 6% กินเวลา 2 สัปดาห์ ส่วน TUF ปรับลง 2% ระยะสั้น จึงแนะนำ”หลีกเลี่ยง”หุ้นเหล่านี้ไปก่อน  

ด้านบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ระบุว่า ปัญหาหรืออุปสรรคใหม่ที่เกิดขึ้นขณะนี้ คือ EU ได้ออกใบเหลืองให้ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ทะเลจากไทย โดยให้เหตุผลว่าผู้ส่งออกไทยยังมีปัญหาในเรื่องการใช้แรงงานที่ผิดกฏหมาย/ไม่ระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบ ทั้งนี้ทางยุโรปจะให้เวลาไทยแก้ไขเป็นเวลา 6 เดือน และหากยังแก้ไขไม่เสร็จก็จะให้ใบแดง โดยจะกลับมาทบทวนอีกครั้งในเดือน ต.ค. ปีนี้

ทั้งนี้ช่วงต้นปี 2558 ยุโรปได้ยกเลิกการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่กุ้งส่งออกจากไทย ทำให้มีการเก็บภาษีนำเข้ากุ้งแช่แข็งจากไทยเพิ่มขึ้นเป็น 12% จากเดิม 4.2% ขณะที่ได้เก็บภาษีนำเข้ากุ้งแปรรูปจากเดิม 7% เป็น 20% ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งยอดส่งออกสินค้าทะเลไปยุโรปปี 2557 อยู่ที่ 1.48 แสนตันหรือคิดเป็นมูลค่าราว 2.63 หมื่นล้านบาท แยกเป็นผลิตภัณฑ์กุ้ง 28.5% ของมูลค้าส่งออกทางทะเล ปลา 9.7% และปลาหมึก 5.81% อาหารทะเลกระป๋องอื่น ๆ 40% และอื่น ๆ 16% (เทียบกับ 1.76 แสนตัน มูลค่า 3.1 หมื่นล้านบาทในปี 2556) คิดเป็น 3.1% ของยอดส่งออกรวมในปี 2557

เชื่อว่าประเด็นนี้น่าจะกระทบต่อบรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทย โดยเฉพาะต่อหุ้นส่งออกอาหารทะเล คือ TUF และ CFRESH ที่มีสัดส่วนการส่งออกอาหารทะเล เมื่อเทียบกับรายได้รวมสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่ากระทบแต่ Sentiment เท่านั้น และไม่น่าจะประมาณการหรือกำไรในปี 2558 และ 2559 มากนัก

เพราะหากพิจารณาในรายละเอียดพบว่าบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่น่าจะกระทบผิดหรือเข้าข่ายกระทำความผิดน้อย โดยเฉพาะ CFRESH([email protected]) ยอดส่งออกเกือบทั้งหมดเป็นกุ้ง และมาจากการซื้อกุ้งที่ได้จากการเลี้ยงในฟาร์มเป็นหลัก จึงคาดว่าผลกระทบน้อย หรือ TUF(ซื้อ:FV@B26) แม้สัดส่วนรายได้จะมาจากผลิตปลาทูน่า และ กุ้ง ก็ตาม แต่เนื่องจากมีนโยบายชัดเจน ที่จะไม่ใช้อุปกรณ์หรือวิธีการจับปลาที่ผิดกฏหมาย ประเด็นนี้จึงน่าจะถูกตัดไป นอกจากนี้การที่ TUF มีบริษัทร่วมในต่างประเทศ ทำให้มีการกระจายแหล่งผลิตในหลายประเทศ เช่น อินเดีย(ถือหุ้น 25.12%) จึงน่าจะได้รับผลกระทบน้อย

ส่วน CPF(FV@B32) ปัจจุบันมีฐานรายได้หลักมาจากผลิตสัตว์บก อาหารสัตว์ และ การลงทุนในต่างประเทศกว่า % ของรายได้รวม ขณะที่มีรายได้จากการส่งออกกุ้งเพียง 2% และ เชื่อว่ากุ้งส่วนใหญ่ได้จากฟาร์มที่ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงในประเทศ ปัญหานี้จึงกระทบต่อ CPF น้อยเช่นกัน

Back to top button