เปิด 6 ผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย

บล.ไอร่า ระบุในบทวิเคราะห์ (21 ก.ย.) ว่า DJIA ยังทำ New …


บล.ไอร่า ระบุในบทวิเคราะห์ (21 ก.ย.) ว่า DJIA ยังทำ New High ติดต่อกันเป็นวันที่ 7 หลังผลการประชุมเฟดเป็นไปตามความคาดหมายของตลาด โดยมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 1.00 – 1.25% พร้อมส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้งในปีนี้

โดยคาดน่าจะเกิดขึ้นในการประชุมเดือนธ.ค. วันที่ 12 – 13/12/60 ซึ่งจะเป็นครั้งที่ 3 ของปี หลังปรับขึ้นเมื่อมี.ค. และมิ.ย. ที่ผ่านมา และแผนการปรับงบดุล ประกอบด้วย พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ของหน่วยงานของรัฐ และหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน หรือ MBS ในเดือนต.ค. จากปัจจุบันที่ 4.5 ล้านล้านUSD โดยเฟดจะปล่อยให้ตราสารข้างต้นครบกำหนดอายุโดยไม่มีการนำเม็ดเงินไปลงทุนใหม่ และจะเพิ่มเพดานตามเป้าหมายที่เฟดกำหนด เบื้องต้น โดยจำกัดเพดานการลดวงเงินการถือครองตราสารเหล่านี้

 

ด้าน บล.ทรีนีตี้ ระบุในบทวิเคราะห์ (21 ก.ย.) ผลการประชุม Fed เมื่อคืนนี้มีไฮไลท์ที่น่าสนใจดังนี้

1) Fed ตัดสินใจเริ่มต้นกระบวนการลดขนาดงบดุลตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป โดยในช่วง 3 เดือนแรกจะทำการลดขนาดสินทรัพย์เฉลี่ยเดือนละ 1 หมื่นล้านเหรียญฯ

2) Fed กล่าวใน Statement ว่าจากเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนลูกต่างๆที่เกิดขึ้นอาจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะสั้นอาทิเช่นการจ้างงานมีการชะลอตัวลงได้ แต่ในระยะยาวจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

3) ค่า Median และค่า Mode ของ Dot plots ยืนยันการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ และ 3 ครั้งในปีหน้า

โดย เป็นไปตามคาดว่า Bond yield และเงินดอลลาร์สหรัฐฯมี Upside risk จากปัจจัยเมื่อคืนนี้ เนื่องจาก Dot plots ที่ออกมา ถือว่า Hawkish กว่าที่นักลงทุนอีก 50% ในตลาดคาดการณ์ไว้ ล่าสุด Fed Funds futures สะท้อนว่ามีโอกาส 64% แล้วที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมนี้ จนทำให้ Bond yield สหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 2.3% ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน

Implication: มองผลกระทบที่สำคัญจากปัจจัยเมื่อคืนนี้ดังต่อไปนี้

1) การปรับตัวขึ้นของ Bond yield สหรัฐฯ จะทำให้ส่วนต่าง (Gap) ระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยและสหรัฐฯลดลง (ล่าสุดอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.ปีก่อน) โดย Gap ที่แคบลงนี้ จะทำให้แรงจูงใจที่ Fund flow จะไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ไทยมีลดลง

2) การปรับตัวขึ้นของ Bond yield สหรัฐฯ จะทำให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่รวมถึง SET Index มีความน่าสนใจลดลงในมิติของ Earning yield gap ซึ่งอาจทำให้โอกาสที่ Fund flow จะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยในช่วงถัดไปมีลดลง ยกเว้นเสียว่า ประมาณการ EPS ของตลาดหุ้นบ้านเราจะถูก Upgrade ขึ้น ซึ่งล่าสุดเรายังไม่เห็นสัญญาณดังกล่าว

3) ปัจจัยเมื่อคืนอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมาปรับตัวแข็งค่าของเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งอาจทำให้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าในช่วงถัดไป แต่มองว่าการแข็งค่าของดอลลาร์ในช่วงแรกนั้นอาจจะยังไม่รุนแรงมากนัก จนกว่าปัจจัยสำคัญที่สุดจะเกิดขึ้น นั่นก็คือการออกมาตรการปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ

4) การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในช่วงถัดไปอาจส่งผลกดดันต่อราคาโภคภัณฑ์ แต่ผลกระทบนี้อาจถูก Offset ได้หากมีปัจจัยบวกอื่น เช่น ตัวเลขภาคการผลิตที่ยังคงแข็งแกร่ง และข้อตกลงของกลุ่ม OPEC/Non-OEPC ที่อาจขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบออกไปจากเดือนมีนาคมปีหน้า

5) เงินบาทน่าจะเริ่มขาดปัจจัยสนับสนุนจาก Fund flow ดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้การแข็งค่ามากไปกว่าระดับปัจจุบันนี้เริ่มเป็นเรื่องที่ยาก ส่วนการอ่อนค่าจะเป็นไปอย่างรวดเร็วหรือไม่นั้น มองว่าจะต้องขึ้นอยู่กับอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญนั่นก็คือดุลการค้าของประเทศ ซึ่งทางก.พาณิชย์เตรียมประกาศตัวเลขเดือนสิงหาคมออกมาในวันนี้ หากตัวเลขจริงออกมาขาดดุลเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน มองจะเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทได้

6) แนวโน้ม Bond yield และเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นในช่วงถัดไป น่าจะเป็นการลดแรงกดดันของธปท.ต่อการลดดอกเบี้ยลงพอสมควร ด้วยเหตุนี้ ประเมินว่ากนง.จะตัดสินใจคงดอกเบี้ยที่ 1.5% ในการประชุมวันที่ 27 กันยายนนี้ และตัดสินใจยกเลิกกลยุทธ์การเก็งกำไรในธีมลดดอกเบี้ยดังกล่าว ทั้งในกลุ่ม อสังหาฯ ค้าปลีก และเช่าซื้อ

ทั้งนี้คาด SET ตอบรับเชิงลบเล็กน้อยต่อผลการประชุม FOMC เมื่อคืนนี้ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในระยะสั้นได้แก่ Fund flow ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นของ Bond yield สหรัฐฯ ขณะที่ Reaction ของนักลงทุนพอร์ต บล.ที่ซื้อสุทธิสะสมรอบนี้มาแล้วกว่า 13,000 ล้านบาท ด้านตัวเลขดุลการค้าที่จะออกมาในวันนี้ มองกลุ่ม Export-oriented ซึ่งเป็น Top pick จะเริ่มกลับมาเป็นที่ Focus ของตลาด จากแนวโน้มการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ฯในช่วงถัดไป แนะนำถือหุ้นกลุ่มดังกล่าวต่อไปเช่นเดิม อาทิ HANA, KCE, SVI, CPF, TU, GFPT แนวรับ  1,664 แนวต้าน 1,680

Back to top button