สรุปปัจจัยสำคัญตลาดทุน-การเงิน-เศรษฐกิจวันนี้

สรุปปัจจัยสำคัญตลาดทุน-การเงิน-เศรษฐกิจประจำวันที่ 14 พ.ค.58


– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 119.20 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 119.19 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1412 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1356 ดอลลาร์/ยูโร

– ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,497.40 จุด เพิ่มขึ้น 1.45 จุด หรือ 0.10% มูลค่าการซื้อขาย 34,712.44 ล้านบาท

– สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 753.52 ล้านบาท (SET)

 

– นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ยืนยันเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะสามารถขยายตัวได้ในระดับ 3.5% อย่างแน่นอน ซึ่งถือว่าเติบโตได้ดีขึ้นมากจากปีก่อนที่ขยายตัวได้เพียง 0.7% หลังผ่านสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองมาตลอดในช่วงครึ่งแรกของปี 57

– ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ปี 2558 เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวค่อนข้างช้ากว่าที่คาด กอปรกับความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนชะลอตัวจากร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อน

ขณะที่ สัดส่วน Gross NPL ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.29 จากร้อยละ 2.15 ในไตรมาสก่อน ขณะที่คุณภาพสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ทรงตัว สินเชื่อธุรกิจ SME ขนาดเล็กและสินเชื่ออุปโภคบริโภคมี NPL เพิ่มขึ้น

– สำนักงานสถิติแห่งชาติของกรีซ หรือ ELSTAT เปิดเผยว่า เศรษฐกิจกรีซได้กลับเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสแรกของปี 2558 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศ

– นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า มีความเป็นไปได้ที่จีนจะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม หลังจากปริมาณเงินในระบบ M2 เพิ่มขึ้นเพียง 10.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายการเติบโตต่อปีที่กำหนดไว้ในช่วงต้นปีที่ 12%

– สภาทองคำโลก (WGC) เผยความต้องการทองคำทั่วโลกในไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 1,079 ตัน ลดลง 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากตลาดทองคำขนาดใหญ่ อาทิ จีนชะลอการซื้อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา

– นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) เปิดเผยว่าตลาดจะเผชิญกับภาวะผันผวนเล็กน้อยอีกรอบ เมื่อเฟดเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษ

– ธนาคารกลางฟิลิปปินส์มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ 4% ในการประชุมวันนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวรวดเร็วขึ้น ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติมในขณะนี้

 

ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์

Back to top button