โบรกฯงัด 10 หุ้นได้/เสีย กรณีกนง.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายรอบใหม่

โบรกฯงัด 10 หุ้นได้/เสีย กรณีกนง.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายรอบใหม่


บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์(29 พ.ค.)ว่า ปัจจัยเรื่องเงินบาทอ่อนค่าดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่อยู่ในกระแส เพราะนอกจากจะยังไม่เห็นเม็ดเงินทุนต่างชาติกลับเข้ามาในตลาดหุ้นในระยะสั้น ๆ แล้ว ตรงกันข้ามยังมีแรงขายสุทธิในตลาดพันธบัตรรัฐบาล (ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่ามียอดขายสุทธิแล้วราว 1.2หมื่นล้านบาท เทียบกับที่ยอดซื้อสุทธิต่อเนื่องมาหลายปี เช่นปี 2557 ซื้อสุทธิ 2.12 แสนล้านบาท และ 4.20 แสนล้านบาทในปี 2556

โดยรวมจึงมียอดคงค้างสุทธินับจากปี 2556 อยู่ 6.17 แสนล้านบาท) ทาง ธปท. ยังได้ปรับมุมมองใหม่ โดยเห็นว่าการปล่อยให้เงินบาทอ่อนค่าจะเอื้อต่อภาคส่งออก (แตกต่างในอดีตที่ ธปท. ไม่เชื่อว่าการใช้เงินบาทอ่อนค่าจะหนุนการส่งออก โดยเชื่อว่าขึ้นกับตลาดส่งออกเป็นสำคัญ) ซึ่งภายใต้แนวคิดนี้ทำให้ตลาดคาดหวังว่า ดอกเบี้ยนโยบายของไทย มีโอกาสจะปรับลดลงได้อีก หลังจากปรับลดลงไปแล้ว 2 ครั้งรวม 0.5% นับจากต้นปี

ASPS ประเมินว่าโอกาสลดดอกเบี้ยนโยบายของไทยน่าจะอยู่ในกรอบ 0.25-0.5%จากปัจจุบัน 1.5% (จนถึงสิ้นปีนี้จะมีการประชุม กนง. อีก 4 ครั้ง ครั้งถัดไปคือ 10 มิ.ย. 2558) ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐยังไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน โดยอย่างเร็วที่สุดน่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน

หุ้นที่ได้ประโยชน์/เสียประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง

ภายใต้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่อง น่าจะหนุนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงได้แก่ หุ้นลิสซิ่ง ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS คาดว่าดอกเบี้ยที่ลดลงทุก 25bp จะทำให้กำไรสุทธิปี 2558 ของกลุ่มฯ เพิ่มขึ้น 0.78% โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีต้นทุนการกู้ยืม (ภาระหนี้สิน) เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ส่งผลให้ส่วนที่เป็นฐานต้นทุนลดลง เร็วกว่าดอกเบี้ยรับจากการปล่อยสินเชื่อ (เพราะมีสัดส่วนที่เป็นดอกเบี้ยคงที่สูงกว่า ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว)

หุ้นเด่นคือ ASK ([email protected]) และยังมีจุดเด่นคือ มีค่า PER ต่ำเพียง 8.4 เท่าแต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูงมากถึง 8% ตามมาด้วย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แม้เชื่อว่าจะไม่ได้กระตุ้นกำลังซื้อโดยตรงก็ตาม แต่คาดว่าภาพอุตสาหกรรมโดยรวมน่าจะได้รับ sentiment เชิงบวก กล่าวคือ ผู้พัฒนาบ้านขาย สามารถรับรู้ได้ตามแผนหรือเร็วกว่าคาดเพราะดอกเบี้ยตํ่าจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจการโอนกรรมสิทธิ์เร็วขึ้น ขณะเดียวกันสถาบันการเงินจะมีอัตราการปฎิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ลดลง

จากการศึกษาของนักวิเคราะห์ ASPS ประเมินว่าดอกเบี้ยที่ลดลง 0.25% จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุน หายไป 139 ล้านบาท คิดเป็น 0.35% ของประมาณการกำไรปี 2558 หุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่ชื่นชอบ จะเน้นที่มีฐานลูกค้าระดับกลางและล่าง คือ SPALI ([email protected]) มีค่า PER ต่ำเพียง 5.6 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูงถึง 7.1% ตามมาด้วย PS([email protected]) มีค่า PER ต่ำเพียง 8.3 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูงถึง 4.2%

ตรงกันข้ามหุ้นที่คาดว่าจะเสียประโยชน์ยังเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าดอกเบี้ยที่ลดลง 0.25% จะทำให้กำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปี 2558 น่าจะหายไปราว 1 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 0.67% จากฐานกำไรที่ประเมินไว้ที่ 2.23 แสนล้านบาท โดย ธ.พ. ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบสูงสุดกรณีนี้ คือ KTB และ BBL

ตรงกันข้าม ธ.พ. ที่จะได้รับผลบวกจากดอกเบี้ยขาลง มากที่สุดคือ BAY, KKP อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ ASPS ได้มีการปรับลดประมาณการกำไรของกลุ่ม ธ.พ. โดยปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงล่วงหน้าแล้วที่ 1.25% แล้ว (ตามปกติ ธ.พ. จะลดลงล่าช้า และในอัตราน้อยกว่า ดอกเบี้ยนโยบาย หรือลดเพียง ครึ่งหนึ่งของที่ประกาศลดเท่านั้น) จึงคาดว่าผลกระทบต่อ ราคาหุ้นกลุ่ม ธ.พ. น่าจะเริ่มมีจำกัด หลังจากที่ปรับลดลง 26% จากจุดสูงสุดของปีนี้

เทียบกับ SET ปรับตัวลดลงเพียง 7.5% ในช่วงเดียวกันตามมาด้วยหุ้นประกันชีวิต เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงในภาวะดอกเบี้ยขาลง จากการศึกษาบริษัทจดทะเบียน 4 แห่ง (แบ่งประกันวินาศภัย 1 แห่งคือ BKI ประกันชีวิต 1 แห่ง คือ BLA ประกันภัยต่อ 1 แห่ง คือ THRE และประกันชีวิตต่อ 1 แห่ง คือ THREL)สามารถแยกพิจารณาผลกระทบได้ดังนี้

กลุ่มธุรกิจประกันชีวิต (BKI, BLA) จะได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจประกันวินาศภัย กล่าวคือ กลุ่มประกันชีวิตจะมีเบี้ยรับรวมที่มีอายุยาวนานกว่า (Duration) กว่าประกันวินาศภัย (เป็นปีต่อปี) ในช่วงดอกเบี้ยขาลง บริษัทฯ ประกันชีวิตจะต้องเผชิญกับ interestrate risk ในด้านหนี้สินคือเบี้ยประกันชีวิตรับ ซึ่งจะต้องคำนวณเปรียบเทียบมูลค่าของหนี้สินด้านการประกันชีวิตตาม GPV (Grosspremium valuation) ซึ่งใช้อัตราดอกเบี้ยตามราคาตลาดหรือ spot rate (benchmark อ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาว 10ปี)

ส่วนทางด้านฝั่งสินทรัพย์ ที่เกิดจากการนำเงินที่ได้จากเบี้ยประกันรับไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วย 2 กลุ่มคือสินทรัพย์ระยะสั้น ได้แก่ เงินลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ในกลุ่มเพื่อค้า (ผ่าน P/L)และเผื่อขาย ซึ่งจะต้องรับรู้ผลกำไร-ขาดทุนตามราคาตลาด (mark-to-market)

โดยกรณีที่ อัตราดอกเบี้ยลดลงนั้น จะส่งผลบวกต่อการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุน ซึ่งจะมีการรับรู้ผ่านงบกำไรขาดทุน ผ่าน comprehensive income ที่แสดงไว้ต่อจากงบกำไรขาดทุน และ จะต้องรับรู้ผ่านงบดุล) แต่บริษัทประกันชีวิตได้รับประโยชน์ตรงนี้น้อย เพราะเงินลงทุนระยะสั้นมีมีสัดส่วนไม่เกิน 10% ของเงินลงทุน และส่วนใหญ่ กว่า 90% เป็นประเภทที่จะถือจนครบกำหนด (Held to maturity) ซึ่งจะต้องแสดงไว้ที่ราคาทุนเสมอ

ดังนั้นจึงไม่ได้รับผลบวก/ผลกระทบจากการ mark-tomarket ทั้งในช่วงดอกเบี้ยขาลงหรือกลับเป็นขาขึ้นด้าน Reinvestment risk โดยทั้งบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย จะได้รับผลกระทบเท่าเทียมกันจากการที่เงินลงทุนที่ครบกำหนดในแต่ละปี ซึ่งต้องนำไปลงทุนด้วยอัตราผลตอบแทนที่ลดลงในกรณีที่ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง ดังนั้น จึงเห็น ROI จากพอร์ตพันธบัตรและตราสารหนี้ที่ลดลงมาโดยต่อเนื่อง

Back to top button