KCE วอลุ่มแน่น-บวกคึก 5% โบรกฯชี้กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์รับผลดีบาทอ่อน

KCE วอลุ่มแน่น-บวกคึก 5% โบรกฯชี้กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์รับผลดีบาทอ่อน โดย ณ เวลา 11.43 น. อยู่ที่ระดับ 37.25 บาท บวก 1.75 บาท หรือ 4.93% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 269.84 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE ณ เวลา 11.43 น. อยู่ที่ระดับ 37.25 บาท บวก 1.75 บาท หรือ 4.93% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 269.84 ล้านบาท

บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุว่า +/- บาทอ่อนส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออก แต่เป็นลบกับผู้นำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ # หลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออก ที่ได้รับผล sentiment ด้านบวก เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ KCE, HANA, DELTA, SVI กลุ่มเกษตร-อาหาร ได้แก่ CPF, TU, GFPT, TIPCO, MALEE และหลักทรัพย์ท่องเที่ยวได้ประโยชน์ คือแลกเหรียญเป็นบาทได้มากขึ้นเป็น sentiment บวกกับ ERW, CENTEL และ MINT

#ด้านหลักทรัพย์เสียประโยชน์คือนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากต่างประเทศ ได้แก่ TVO, TSTH, IRPC, BCP, SAT, STANLY, AH, COM7, SYNEX และ SIS รวมทั้งหลักทรัพย์ที่มีหนี้เงินกู้ต่างประเทศจะมีขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ AAV, THAI และ RCL เป็นต้น

บล.กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า  กลุ่มอิเล็คทรอนิกส์ และ อาหาร ได้อานิสงส์เงินบาทอ่อนค่าลงล่าสุด 32.8 Bath/USD

บล.เอเซีย พลัส ระบว่าไทยเป็นประเทศเดียวที่ยังล่าช้าในการขึ้นดอกเบี้ย  เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ซึ่งขึ้นไปแล้วทุกประเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง ๆ ละ 0.25% ประเทศที่ขึ้นหลังสุดคือ อินเดีย เพราะปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัว ขณะมาเลเซีย นำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนตั้งแต่ต้นปี 2561 ตามด้วยฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ขึ้นดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งในเดือน พ.ค.

หากไทยขึ้นดอกเบี้ยล่าช้า ผลกระทบที่จะตามมาคือ เงินบาทจะยิ่งอ่อนค่า ซึ่งจะยิ่งกดดันสินค้านำเข้าโดยเฉพาะต้นทุนน้ำมันที่แปลงเป็นเงินบาทสูงขึ้น (ไทยเป็นผู้นำเข้าสุทธิ  ที่เห็นส่งออก เพราะโรงกลั่นมีกำลังการผลิตเกินความต้องการ จึงต้องนำเข้านำมันดิบมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนที่เหลือใช้ในประเทศจึงส่งออก) การขึ้นดอกเบี้ยจึงช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท โดยประเมินว่าเงินบาทจะอ่อนค่าแตะ 33-33.5 บาทต่อดอลลาร์   ภายในไตรมาส 3/61

อนึ่งค่าเงินบาทไทยวันนี้(21มิ.ย.) ณ เวลา 12.00 น. อยู่ที่ระดับ 32.9200 บาทต่อดอลลาร์  

Back to top button