DTAC วอลุ่มแน่น-บวกแรง4% คาดเก็งฯ 6 โบรกฯเชียร์ซื้อสนั่น-อัพกำไรปี 61-63 ถ้วนหน้า
DTAC วอลุ่มแน่น-บวกแรง4% คาดเก็งฯ 6 โบรกฯเชียร์ซื้อสนั่น-อัพกำไรปี 61-63 ถ้วนหน้า โดย ณ เวลา 12.11 น. ราคาอยู่ที่ระดับ 46.50 บาท บวก 2.00 บาทหรือ 4.49% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 561.49 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ณ เวลา 12.11 น. อยู่ที่ระดับ 46.50 บาท บวก 2.00 บาทหรือ 4.49% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 561.49 ล้านบาท ฟากโบรกฯประสานเสียงแนะซื้อและปรับประมาณการกำไรปี 61-63 ดังนี้
บล.ทิสโก้ ระบุว่า โชคหันมาเข้าข้าง DTAC อีกครั้ง : หลังจากที่ กสทช. หันกลับมาเยียวยาคลื่น 850 MHz ให้ DTAC ตามคำสั่งศาลปกครองที่ให้คุ้มครองไปจนถึงสิ้นปี 2018 ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับการเยียวยาคลื่น 1800 MHz จะตัดสินเรื่องการเยียวยาในอาทิตย์หน้า (มีโอกาสสูงที่ผลจะออกมาในเชิงลบ) และด้วยอายุการเยียวยาเพียง 3 เดือนของ DTAC ทำให้ มองว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นต่อได้จำกัดในอนาคต อย่างน้อยจนกว่าจะมีข่าวการประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz
การเจรจากับ CAT : DTAC ได้เผยข้อมูลการตกลงเช่าอุปกรณ์เสาสัญญาณและไฟเบอร์รวมถึงอุปกรณ์ 2G/4G จาก CAT โดยมีค่าเช่า 1.69 พันล้านบาท/ปี และจ่ายล่วงหน้า 3.27 พันล้านบาท, ค่าเช่าไฟเบอร์ 810 ล้านบาท/ปี, ค่าเช่าอุปกรณ์ 2G/4G ปีละไม่เกิน 790 ล้านบาท
จากการคำนวณค่าเช่าเสาสัญญาณโดยใช้ WACC ที่ 8% ประมาณค่าเช่าไว้ที่ 2.16 พันล้านบาท หรือ 8.6 พันบาท/เสา ซึ่งถูกกว่าที่ คาดไว้ที่ 2.3 พันล้านบาท หรือ 9.1 พันบาท/เสา, ค่าเช่าอุปกรณ์ไฟเบอร์แพงกว่าที่ คาดไว้ และค่าเช่าอุปกรณ์ถูกกว่าที่ คาด (790 ล้านบาท เทียบกับคาด 1.85 พันล้านบาท) โดยรวมแล้วค่าเช่าทั้งหมดถูกกว่าที่ คาด 1 พันล้านบาท คิดเป็น NPV ราว 4.27 บาท/หุ้น แต่อย่างไรก็ตาม มองว่า DTAC มีความเสี่ยงที่จะต้องประมูลคลื่น 900 MHz ทำให้ ยังคงประมาณการรอดูความคืบหน้าของการประมูล แนะนำให้ “ซื้อ” โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 58 บาท (DCF)
บล.เคทีซีมิโก้ ระบุว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา DTAC ได้รับ 2 ข่าวบวกในเวลาไล่เลี่ยกัน ได้แก่ คำสั่งศาลปกครองกลางคุ้มครองชั่วคราว และการระงับข้อพิพาทกับ CAT ทั้งสองประเด็นดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทเปลี่ยนผ่านไปเป็นผู้ให้บริการภายใต้ระบบใบอนุญาตได้โดยอย่างราบรื่น ด้วยต้นทุนจากข้อตกลงใช้บริการกับ CAT ที่ต่ำกว่าคาด ทำให้ ปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้น ขณะที่การประหยัดค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์สัมปทานมีน้ำหนักมากกว่าต้นทุนที่เพิ่มเข้ามา ทำให้กำไรของ DTAC เติบโตแข็งแกร่งในปี 2019E คงคำแนะนำ “Outperform” และปรับราคาเป้าหมายเป็นราคาปี 2019E ได้ที่ 54 บาท คิดเป็น EV/EBITDA5 เท่า
บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า DTAC ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “BUY” จากเดิม “NEUTRAL” โดยประเมิน TP ปี 19F ใหม่เป็น 55 บ. (เดิม 50 บ.) อ้างอิงวิธีส่วนลดกระแสเงินสด (ใช้อัตราคิดลด 8.7%) เนื่องจากมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อแนวโน้มความสามารถในการทำกำไร โดยปรับ EBITDA ปี 19-20F ขึ้น +10%/+7% สะท้อนต้นทุนค่าเช่าเสาและอุปกรณ์ที่ต้องจ่ายให้ CAT ในแต่ละปีที่ดูเหมือนจะต่ำกว่า เคยคาดไว้ราว 1 พันลบ./ปี ส่วนหนึ่ง คาดเกิดจากการที่ DTAC ยอมยกกรรมสิทธิ์ในเสาสัมปทานให้กับ CAT
ประเมินการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองกลางเป็นระยะเวลา 3 เดือนจนถึง 15 ธ.ค.18 จะช่วยคลายความกังวลให้แก่ลูกค้า DTAC ที่ปัจจุบันใช้คลื่น 850 MHz อยู่ แต่คลื่นภายใต้ระบบใบอนุญาต (1800/2100/2300 MHz)ครอบคลุมไม่ถึง ซึ่งมีอยู่ราว 1.1 ล้านราย (4.5%ของรายได้ให้บริการรวม) ได้แค่ชั่วคราว แต่ไม่แก้ปัญหาการขาดคลื่นความถี่ต่ำในมือของบริษัท โดยเฉพาะเรื่องการสูญเสีย coverage 3G 850MHz ที่จะลดลงจากปัจจุบัน 95% ของผู้ใช้งานเหลือ 88-90%ของผู้ใช้งานภายใต้โครงข่าย 1800/2100/2300 MHz ทั้งนี้ ประเมินความเป็นไปได้แบ่ง 2 ทางเลือก คือ i) เร่งขยายโครงข่ายคลื่นความถี่สูง ซึ่ง ประเมินว่าต้องใช้เวลา จึงให้น้ำหนักกับ ii) การขอ roaming คลื่นความถี่ต่ำของผู้ประกอบการรายอื่นมากกว่า
บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี ระบุว่า ศาลมีคำสั่งตัดสินให้ช่วงเวลาเยียวยาแก่ DTAC เป็นระยะเวลา 3 เดือนสำหรับสัมปทานคลื่น 850 MHz คาดว่าการที่การให้บริการจะหยุดชะงักจะบังคับให้ DTAC ต้องชนะประมูลคลื่น 900 MHz คาดว่า DTAC จะชนะประมูลที่ราคา 36,000 ลบ ซึ่งเป็นราคาประมูลเริ่มต้น
DTAC ได้ยุติข้อพิพากย์เรื่องเสาสัญญานกับ CAT โดย DTAC จะจ่ายให้ CAT เป็นจำนวนเงิน 3.7 พันล้านบาทต่อปีจากการใช้เสาสัญญานและเครื่องมือของ CAT ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าที่ คาดไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นจึงปรับประมาณการ EPS ของ ขึ้น 11-14% ในปี FY18-20Fยังแนะนำ “ซื้อ” DTAC ด้วยราคาอ้างอิง DCF ที่สูงขึ้นที่ 54.70 บาท
บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ศาลปกครองกลางคุ้มครองลูกค้า DTAC บนคลื่น 850 MHz โดยให้ DTAC บริการต่ออีก 3 เดือน ประกอบกับ ที่ กสทช. อนุมัติให้ใช้ 1800 MHz อีกคลื่นที่สิ้นสุดสัมปทาน 15 ก.ย. 61 ต่อ 1 เดือน ช่วย DTAC มีเวลาเร่งลงทุนโครงข่ายบนคลื่นที่เหลืออยู่ หลังสิ้นสัมปทาน คือ 1800 (ประมูลกลับมา 5 MHz จากเดิมใช้ 25 MHz) ,2100 และ 2300 MHz ซึ่งมีพื้นที่บริการครอบคลุมน้อยกว่า (90% ของประชากร)ให้ใกล้คลื่นเดิมโดยเฉพาะ 850 MHz (94%) ลดความเสี่ยงประสิทธิภาพให้บริการและการเสียลูกค้า
นอกจากนี้ DTAC ประกาศต้นทุนขอเช่าใช้อุปกรณ์คลื่นสัมปทานที่โอนให้ CAT ตามสัญญาสัมปทาน ปีละ 3.7 พันล้านบาท ถูกกว่าสมมติฐานที่กำหนด 9.0 พันล้านบาท
ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มกำไรปี 2561-62 ขึ้น 256% และ 55% หลักๆ เป็นการปรับลดต้นทุนลง จากผลบวกต้นทุนคลื่น 1800 MHz ที่ประมูลกลับมา 5 MHz ต่ำกว่าสมมติฐานที่ 15 MHz, ค่าเช่าอุปกรณ์สัมปทานต่ำกว่าคาด และแม้จะปรับเพิ่มงบลงทุนภายใต้หลักอนุรักษ์นิยม และปรับลดรายได้ค่าบริการลง ยังได้กำไรใหม่ปี 2561 อยู่ที่ 3.4 พันล้านบาท เติบโต 39% และจะเติบโตแรง 160% ในปี 2562 ซึ่งเป็นผลบวกการหยุดรับรู้ค่าตัดจำหน่ายอุปกรณ์สัมปทานไตรมาสละ 4.5 พันล้านบาท สูงกว่าต้นทุนใหม่ คือ ค่าคลื่น 1800+2300 MHz เต็มปี, ค่าเช่าอุปกรณ์สัมปทานและต้นทุนตามมาจากการลงทุนเพิ่ม
ทิศทางกลุ่มสื่อสาร 1-2 ปีจากนี้คาดเข้าสูช่วงเก็บเกี่ยวการลงทุน 4G และต้องเริ่มเตรียมเข้าสู่บริการในยุค 5G ที่จะต้องต่อยอดบริการใหม่ๆ เช่น lnternet of Things (loTs) ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพดำเนินงานในหลายอุตสาหกรรม ด้วยโซลูชั่นดิจิตอลต่างๆ และบริการดิจิตอลที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง อาทิ วีดีโอ, บริการการเงินออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ DTAC หากพิจารณาการเตรียมพร้อมต่อยอดบริการดังกล่าว ยังเห็นน้อยกว่า ADVANC, TRUE จึงอาจที่จะเป็นความเสี่ยงการเติบโตระยะยาว จึงยึดหลักอนุรักษ์นิยมปรับลด Terminal Growth เหลือ 1.5% จากเดิม 2.0%
คำตัดสินของศาล คาดช่วยลดความกังวลวามเสี่ยงรอยต่อธุรกิจ DTAC ไปมาก ซึ่งตามมาด้วยการพลิกกลับของผลประกอบการที่โดดเด่น ขณะที่มูลค่าพื้นฐานภายใต้ประมาณการใหม่ อิง DCF (9.63%, Growth 1.5%) แม้เหลือ 62 บาท (เดิม 68 บาท) แต่ยังให้ Upside สูงเกือบ 40% แนะนำ ซื้อ
บล.กสิกรไทย ระบุว่า DTAC (ซื้อ ปิด 44.5 บาท พื้นฐาน 59.6 บาท +33.93%) ค่าเช่าสินทรัพย์ที่ DTAC จ่ายให้กับ CAT ต่ำกว่าประมาณการของ อยู่ 31% ซึ่งกระตุ้นประมาณการกำไรปกติปี 2561-63 ขึ้น 11-15% และราคาเป้าหมายปี 2561 อิงวิธีคิดลดเงินสด (DCF) ขึ้น 8% เป็น 59.60 บาท
นอกจากนี้ ศาลปกครองมีมติเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยมีคำสั่งคุ้มครองผู้ใช้บริการคลื่นความถี่ต่ำ 850 MHz ของ DTAC จากเหตุขัดข้องบริการ ทำให้ DTAC มีเวลา 3 เดือนในการย้ายฐานลูกค้าสู่คลื่นความถี่ใหม่ ซึ่งการขยายกรอบเวลาดังกล่าวจะช่วยให้การย้ายจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาตของบริษัทเป็นไปอย่างราบรื่นมาก ทั้งยังช่วยรักษาระดับต้นทุนไม่ให้สูงเกินเช่นกัน
ทั้งนี้ จะเห็นได้ชัดว่าในประเด็นกฎเกณฑ์กลุ่มโทรคมนาคมไทยนี้ DTAC เป็นฝ่ายที่ได้เปรียบ เพราะมีกระแสเงินสดขาออกเพียงเล็กน้อย แลกกับการที่ยังคงขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่องและมีโครงสร้างต้นทุนที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” DTAC