เปิดโผ 12 หุ้นโบรกฯแห่อัพเป้า-ประมาณการกำไรปี 61-62 แนะสอยด่วน!
เปิดโผ 12 หุ้นโบรกฯแห่อัพเป้า-ประมาณการกำไรปี 61-62 แนะสอยด่วน! นำทีมโดย LH,DOD,ORI, SEAFCO,CHG,SGP,PYLON,DTAC,PLANB,HANA,GFPT,EKH
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” การสำรวจกลุ่มหุ้นพื้นฐานดีที่ได้ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายและประมาณการกำไรในปี2561-2562 มานำเสนอเพื่อประกอบการลงทุน เนื่องจากช่วงนี้ภาวะตลาดกลับมาสดใสภายหลังการเมืองมีความชัดเจน ซึ่งหนุนต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนรวมถึงแผนการประมูลโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐที่จะเร่งตัวขึ้นในช่วงปลายปีจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง
สำหรับกลุ่มหุ้นที่โบรกฯได้ปรับประมาณการดังกล่าวประกอบไปด้วย LH,DOD,ORI, SEAFCO,CHG,SGP, PYLON, DTAC, PLANB, HANA,GFPT,EKH โดยเป็นการวิเคราะห์จากโบรกเกอร์ชั้นนำของไทยในช่วงเดือนกันยายน 2561 โดยมีดังนี้
บล.ยูโอบี เคย์เฮียน ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH แนะนำซื้อราคาเป้าหมาย 13.50 บาท ปรับประมาณการณ์กำไรสุทธิ 2561 ขึ้น 11% เพื่อสะท้อนรายการกำไรพิเศษในไตรมาส 2/61 ยอด Presales ครึ่งแรกปี 2561 ของบริษัทโตขึ้น 5% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและคิดเป็น 45% ของเป้าหมายทั้งปี
โดยเชื่อว่าบริษัทน่าจะบรรลุเป้าหมายได้จากแผนการเปิดตัวโครงการที่แข็งแกร่งใน ครึ่งหลังปี 2561แม้ว่าการแข่งขันยังอยู่ในระดับสูง ยังคงชอบ LH จากความชำนาญทั้งในธุรกิจ High-end และ Low-rise ของบริษัท คงคำแนะนำซื้อที่ราคาเป้าหมาย 13.50 บาท
บล.โกลเบล็ก ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด (มหาชน) หรือ DOD แนะนำ”ซื้อ”ราคาเป้าหมาย 17.50 บาท/หุ้น ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 61 เป็น 359 ลบ. เพิ่มขึ้นจากเดิม 43% : หลังจากบริษัทสามารถสร้างยอดขายเติบโตได้ต่อเนื่องจาก ไตรมาส1/61 จึงปรับประมาณการรายได้รวมทั้งปีเพิ่มขึ้นราว 22% สู่ 754 ลบ. และสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นที่ราว 61% แต่คาดสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อรายได้รวม ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 20% สู่ 13% เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่ารายได้รวม ส่งผลให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 61 อยู่ที่ 359 ลบ. เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิม 43%
อีกทั้งยังมีมุมมองเชิงบวกหลังจากรับฟังผู้บริหารในงาน Opportunity Day พบว่ามีลูกค้ารายใหม่ติดต่อว่าจ้างผลิตสินค้าเพิ่มเข้ามา โดยอยู่ในขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนอย. ซึ่งคาดจะสามารถเริ่มผลิตได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 ในส่วนโรงงานสกัดวัตถุดิบแห่งที่ 2 ถือเป็นเจ้าแรกในไทยที่มีการสกัดสารโดยใช้ CO2 ในเชิงพาณิชย์ หลังจากลงนามร่วมมือกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของบริษัทในระยะยาว และสามารถสกัดสมุนไพรไทยเพื่อใช้ในประเทศและเพื่อส่งออกได้
ปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ” ประเมินราคาเหมาะสม 17.50 บาท: ประเมินราคาเหมาะสมโดยอิง Prospect PER ที่ 20 เท่า ต่ำกว่าธุรกิจที่ใกล้เคียงกันในตลาดหลักทรัพย์ที่ 25.4 เท่า (เฉลี่ยจาก MEGA และ APCO) จากความกังวลเรื่องความต่อเนื่องของรายได้จากการรับจ้างผลิตสินค้า แต่หลังจากปรับประมาณการกำไรสุทธิใหม่ส่งผลให้ได้ราคาเหมาะสมราว 17.50 บาทจากเดิม 12.30 บาท ซึ่งมีอัพไซต์จากราคาปิดล่าสุดราว 29% จึงปรับคำแนะนำจาก “ซื้อเมื่ออ่อนตัว” เป็น “ซื้อ”
บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI แผนการเปิดโครงการใน ไตรมาส3/61 น้อยกว่าที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยปลายเดือนนี้น่าจะเห็นเพียงการเปิดตัวโครงการ Park พญาไท มูลค่า 4.6 พันล้านบาท ซึ่งบริษัทคาดจะเห็น take up rate สูงถึง 50% ในช่วงเปิดตัว และจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้สำหรับโครงการ JV Origin 24 mixed-use คาดจะปิดดีลและรับรู้กำไรจาก Share premium ได้ใน ไตรมาส3/61 นี้
การเปิดตัวโครงการเกือบทั้งหมดน่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4/61 ซึ่งจะมี Park ทองหล่อ (มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท) ในเดือนตุลาคม และแนวราบ Britania อีก 3 โครงการ 4 พันล้านบาท และยังมีโครงการขนาดเล็กอื่นๆ หากอิงตามแผนต้นปี คาดจะเป็นโครงการดอนโดขนาดเล็กแบรนด์ Notting Hill หรือ Kensington อีก 1 โครงการ มูลค่าราว 2 พันล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ 4Q18 มีกิจกรรมเปิดตัวและยอดจองซื้อสุงที่สุด
ผู้บริหารมีการปรับเป้าหมายธุรกิจปี 2018 ขึ้น (ตามคาด) โดยปรับเป้าหมาย Pre-sales ขึ้น 20% เป็น 2.4 หมื่นล้านบาท และปรับเป้าหมายการรับรู้รายได้ขึ้นเป็น 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งตามที่ ได้ hint ไปก่อนหน้านี้
ปรับประมาณการกำไรปี 2018-19 ขึ้น 29% และ 13% เป็น 3.6 และ 3.9 พันล้านบาท โดยหลักๆมาจากการปรับมาร์จิ้นขึ้นหลังจากที่ ได้เห็นถึงมาร์จิ้นที่บริษัททำได้ดีมา 2 ไตรมาติดต่อกัน อนึ่งประมาณการของ ยังไม่รวม dilution จากการจ่ายหุ้นปันผล 2:1 ซึ่งจะ XD 16/10/18 โดยราคาเป้าหมายหลัง XD จะปรับเป็น 18 บาท
บริษัทเปิดแผนระยะยาว 5 ปี คาดภายในปี 2022 จะมีรายได้ 2.79 หมื่นล้านบาท เติบโตราว 23% CAGR โดยพอร์ตของบริษัทจะเริ่มสมดุลมากขึ้นระหว่างรายได้ดอนโดและบ้านแนวราบ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วน (คอนโด:แนวราบ) คือ 90:10 ซึ่งจะลดเหลือ 60:40 ในปี 2022 ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพิงสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง อีกทั้งโครงการแนวราบ จะสร้างเร็วโอนเร็ว ซึ่งจะเป็นตัวหนุนให้รายได้มีโอกาสปรับขึ้น นอกจากนี้ Backlog ที่บริษัทมีในปัจจุบัน มองว่ามีการกระจายตัวที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะบริษัทมี Backlog ในแบรนด์ High-end และ Luxury อย่าง Knightbridge และ Park อยู่ถึง 75% ซึ่งเป็น segment ที่สามารถโอนได้ต่อเนื่อง
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท ซีฟโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ SEAFCO ผลการดำเนินงานครึ่งแรกปี 2561 อยู่ที่ 146 ล้านบาท (+47.5% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) มากกว่าที่คาด จากกำไรขั้นต้นที่ทำได้ดีกว่าคาด แนวโน้มกำไร ครึ่งหลังปี 2561 เด่นขึ้น H-H และ เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหนุนจากรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นตามความคืบหน้าของงานก่อสร้างหลายโครงการใหญ่ บวกกับอัตรากำไรขั้นต้นที่คาดทำได้ในระดับสูงใกล้เคียงกับ ไตรมาส 2/61 ราว 22-23%
เบื้องต้นคาดกำไร ไตรมาส 3/61 โตดีทั้ง เทียบไตรมาสก่อนหน้าและ เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 95-110 ล้านบาท จากรายได้ที่คาดอยู่ที่ 700-800 ล้านบาท สูงกว่าปกติที่ทำได้เฉลี่ย 450 ล้านบาทต่อไตรมาส พร้อมได้รับข้อมูลสนับสนุนจากผู้บริหารที่เผยว่ารายได้งานก่อสร้างเดือนก.ค.-ส.ค. 2018 ทำได้แล้ว 570 ล้านบาท หรือ 285 ล้านบาทต่อเดือน มากกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตเกือบ 2 เท่าตัว
ประกาศรับงานใหม่ YTD ราว 1.35 พันล้านบาท หนุนให้ปัจจุบันมี Backlog อยู่ที่ 2.8 พันล้านบาท (ไม่รวม One Bangkok เฟส 4 มูลค่า 600 ล้านบาท) มากกว่า 2 เท่าตัวจากค่าเฉลี่ยในอดีต คาดว่าทยอยรับรู้เป็นรายได้ในช่วงที่เหลือของปีราว 40% จากทั้งหมด ซึ่ง Secured 100% ของประมาณการรายได้ของ แล้ว ขณะที่ส่วนที่เหลืออีก 1.4 พันล้านบาท รวมกับ One Bangkok เฟส 4 ที่จะเริ่มรับรู้ตั้งแต่ไตรมาส 4/61 อีก 600 ล้านบาท จะ Secured 76% ของรายได้ปี 2019 โดยส่วนใหญ่เป็นงานรถไฟฟ้าสีส้ม, One Bangkok (เฟส 1,2 และ 4) และรถไฟฟ้าสีชมพู แบ่งเป็นงานรับเฉพาะค่าแรง และค่าแรงรวมวัสดุที่ 48% และ 52% ตามลำดับ
ทำให้ปรับประมาณการกำไรปี 2018-2019 ขึ้นเฉลี่ย 10% เป็น 305 ล้านบาท (+45% Y-Y) ทำจุดสูงสุดใหม่ และ 323 ล้านบาท (+6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) ตามลำดับ จากการปรับเพิ่มคาดการณ์อัตรากำไรขั้นต้นเป็น 22% จากเดิม 20% สะท้อนสัดส่วนของงานรับเฉพาะค่าแรงที่มีมาร์จิ้นสูงมากขึ้น นอกจากนี้ คาดหวังว่าบริษัทจะรับงานเพิ่มอย่างน้อย 1 พันล้านบาทภายในปีนี้ หากอิงอัตราความสำเร็จ 20% ของการเข้าประมูล จากงานที่อยู่ระหว่างการยื่นประมูลราว 6.8 พันล้านบาท
ปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2019 ที่ 10.50 บาท (อิง PER 22 เท่า หรือค่าเฉลี่ย P/E ย้อนหลัง +1SD) และเพิ่มคำแนะนำจากเดิมถือเป็นซื้อ จาก Upside ที่เปิดกว้างขึ้น และได้รับประโยชน์โดยตรงในฐานะผู้นำฐานราก จากการเร่งเปิดประมูลโครงการใหญ่ของรัฐจำนวนมากในช่วงปลายปี 2018-2019 ขณะที่หุ้นซื้อขายบน PE2018-2019 เฉลี่ย 18 เท่า ต่ำกว่า PE2015 ที่ 20.5 เท่า ซึ่งมี Backlog เพียง 1 พันล้านบาท หรือน้อยกว่าปัจจุบันถึง 3 เท่า ทำให้ มองว่าราคาปัจจุบันยังไม่สะท้อน Backlog ที่แข็งแกร่ง และกำไรที่ทำระดับสูงสุดใหม่
บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) หรือ CHG ตั้งเป้าให้บริการแก่ผู้ป่วยจากตะวันออกกลางและจีนมากขึ้น ซึ่งน่าจะช่วยลดผลกระทบจากโรงพยาบาลรัฐใหม่ (CNMI) โดย CHG จะเน้นผู้ป่วยประกันสงคม (SSS) น้อยลงเพราะมีมาร์จินต่ำกว่าและผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจย้ายไปใช้บริการโรงพยาบาลรัฐแห่งใหม่ เชื่อว่าผลประกอบการของ CHG ใน ครึ่งหลังปี 2561 อาจถูกกดดันจากโรงพยาบาลใหม่สองแห่งที่จะเปิดดำเนินงานในเดือนก.ค. และพ.ย. 2018
ปรับประมาณการกำไรขึ้น 11-14% ในปี FY18-20 สะท้อนกลยุทธ์ใหม่ที่เน้นรับผู้ป่วยชาวต่างชาติ ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น “ถือ” และราคาเป้าหมายเป็น 2.60 บาท (P/E 37x FY19, -0.5SD ของค่าเฉลี่ยห้าปี)
บล.เคจีไอ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SGP ราคาก๊าซ LPG (Propane) เดือน ก.ย.61 อยู่ที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (+7.1% QTD) และล่าสุดราคาสัญญาล่วงหน้าส่งมอบเดือน ต.ค.61 ยังปรับขึ้นต่อเนื่อง วานนี้ปิดที่ 648 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (+8.0% QTD) ทำให้คาดว่าแนวโน้มกำไรไตรมาส 3/61 จะสามารถทรงตัวต่อเนื่อง QoQ ได้ที่ราว 700 ล้านบาท
อีกทั้งคาดด้วยปริมาณซื้อขายที่จะเร่งตัวขึ้นในไตรมาส 4/61 ตามปัจจัยฤดูกาล (ฤดูหนาว) รวมทั้งราคาก๊าซ LPG ที่ยังปรับขึ้นต่อเนื่อง จะทำให้แนวโน้มกำไรโตเด่นที่ ไตรมาส 4/61 เป็นจุดสูงสุดของปี ฝ่ายวิจัยฯปรับสมมติฐานราคาเฉลี่ยก๊าซ LPG ปีนี้ขึ้นเป็น 562 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน จากเดิม 545 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (ราคาเฉลี่ย 9M61 ตอนนี้เท่ากับ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน และคาดราคาเฉลี่ย ไตรมาส4/61 ที่ 629 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน)
โดยสรุปปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ขึ้น 14.5% เป็น 2.43 พันล้านบาท (EPS 1.32 บาท/หุ้น) อย่างไรก็ดี มีโอกาสที่กำไรสุทธิจะมากกว่าที่ฝ่ายวิจัยฯคาด จากเป้าหมายปริมาณขายก๊าซปีนี้ที่ผู้บริหารตั้งเป้าไว้ที่ 3.5 ล้านตัน ขณะที่ ใช้สมมติฐานเพียง 3.25 ล้านตัน
นอกจากนี้ EGAT เริ่มเปิดประมูลซื้อก๊าซ LNG เพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าทาง SGP จะจับมือกับ กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล (EGATi) บ.ลูกของ EGAT เข้าร่วมประมูล เมื่อมีการเปิดประมูลเป็นทางการ (คาดว่าจะเปิดประมูลช่วงปลายปีนี้ – ต้นปี 2562) และผู้บริหารคาดจะพิจารณาสร้างท่าเรือ – คลังก๊าซ LNG ที่ จ.ระยอง ภายในปลายปีนี้เพื่อรองรับการเปิดเสรีนำเข้าก๊าซ LNG เพิ่มเติม
ภายหลังการปรับประมาณการฯ ประเมินราคาเหมาะสมใหม่เท่ากับ 14.9 บาท (เดิม 13.1 บาท) โดยใช้วิธี Sum of the Parts โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกันดังนี้ i) ธุรกิจก๊าซและเทรดดิ้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ใช้เป้าหมาย PE 11 เท่า (+1 Std ของค่าเฉลี่ยในอดีต) อิง EPS 1.16 บาท/หุ้น (ไม่รวมส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้า) ได้ราคาเหมาะสมเฉพาะธุรกิจก๊าซฯ = 12.8 บาท และ ii) ธุรกิจโรงไฟฟ้า คำนวณมูลค่าได้เท่ากับ 2.1 บาท อิง WACC 10% (คงสมมติฐานตามเดิมสำหรับธุรกิจโรงไฟฟ้า) ที่ระดับราคาเป้าหมายของ คิดเป็น PE ปี 2561 เพียง 11.3 เท่า
บล.เคจีไอ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท ไพลอน จำกัด (มหาชน) หรือ PYLON กำไรในครึ่งหลังปี 2561 จะเร่งตัวขึ้นทั้ง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและ HoH จากการเริ่มงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง ซึ่งนอกจากจะทำให้รายได้จากการก่อสร้างเพิ่มขึ้นแล้วยังจะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นด้วยจากการที่มีสัดส่วนของงานที่เน้นใช้แรงงานเพิ่มขึ้น ปรับสมมติฐานปี 2561-63 และปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-63 ขึ้นอีก 20.2%/8.9%/9.1%
โดยปรับเพิ่มสมมติฐานรายได้ปีนี้ขึ้นอีก 12% และปี 2562-63 ขึ้นอีก 1% พร้อมทั้งปรับเพิ่มสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นปี 2561-63 ขึ้นเป็น 24.8%/25.0%/25.0% จาก 23.5% เพื่อสะท้อนถึงสัดส่วนของโครงการภาครัฐที่เพิ่มขึ้นยังคงแนะนำให้ถือ โดยให้ราคาเป้าหมายกลางปี 2562 ที่ 6.90 บาท อิงจาก PER ที่ 22.0x (PER เฉลี่ยระยะยาว +1S.D.).
บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 75 บาท/หุ้น โดยทำการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 เพิ่มขึ้นจากเดิมเพื่อสะท้อนสมมติฐานใหม่ของค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์หลังสิ้นสุดอายุสัมปทานที่ลดลงจากสมมติฐานเดิม ซึ่งกลบสมมติฐานค่าเช่าสินทรัพย์ที่ DTAC ต้องจ่ายให้กสท. ที่เพิ่มขึ้นจากสมมติฐานเดิม และการบันทึกค่าตัดจำหน่ายค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1.8 กิกะเฮิร์ซใหม่ที่ DTAC เพิ่งประมูลมาได้
ถึงแม้ว่ากำไรสุทธิจะปรับเพิ่มขึ้น แต่ EBITDA ปรับลดลงเนื่องจากการปรับสมมติฐานค่าเช่าสินทรัพย์ที่ต้องจ่ายให้กสท. เพิ่มขึ้นจากสมมติฐานเดิม DTAC ยังคงเป็นหุ้นที่ ชื่นชอบมากที่สุดในกลุ่มไอซีที โดยมีปัจจัยหนุนจากกำไรสุทธิปี 2562 ที่จะกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANB แนวโน้มกำไร ไตรมาส3/61 ยังแข็งแกร่ง คาดทำ New High ที่ 160 ลบ. +18% Q-Q, +20% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจากปัจจัยฤดูกาล การขยายตัวของตลาดโฆษณาสื่อนอกบ้านดีกว่าตลาดรวมต่อเนื่อง การพัฒนาสื่อใหม่ และเริ่มรับรู้กำไรจากการลงทุน 35% ใน BNK เล็กน้อย
ปรับประมาณการกำไรปี 2018-2019 ขึ้นจากเดิม 6-10% เป็นกำไรโต 35% อยู่ที่ 623 ลบ. ในปี 2018 และโต 22% อยู่ที่ 758 ลบ. ในปี 2019 ขณะที่การลงทุน 19.48% ใน BMN บ.ย่อยของ BEM คงมองเป็นบวกระยะยาวเนื่องจากจะเพิ่มโอกาสได้บริหารสื่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนขยายในอนาคต และโอกาสลงทุนเพิ่มในต่างประเทศ ปรับคำแนะนำขึ้นจากถือเป็นซื้อ โดยปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2019 ที่ 8.20 บาท
บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA ปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 45 บาท จากเดิม 44 บาท ตามการปรับประมาณการกำไรของ ขึ้นในปี 2561-63 เนื่องจากผู้บริหารยืนยันถึงความต้องการสินค้าที่แข็งแกร่งต่อเนื่องใน ครึ่งหลังปี 2561 จากการทำ M&A ของลูกค้าเอง, ยอดสั่งซื้อ Sensor สำหรับสมาร์ทโฟนจีนที่กลับมา และการได้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มจากคุณภาพการผลิตของบริษัทฯที่ปรับดีขึ้น
ดังนั้นคาดกำไรในครึ่งหลังปี 2561 จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง HoH และ เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนการขยายพื้นที่โรงงานที่ลำพูนและอยุธยาจะเป็นตัวหลักในการเติบโตต่อเนื่องในปี 2562 แม้ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นมา 11% ในช่วงสองสัปดาห์ก่อน แต่ มองว่าระดับ Valuation ปัจจุบันยังถูก และน่าสนใจ อยู่ เนื่องจากคิดเป็น PER ปี 2562 ที่เพียง 11.5 เท่า ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตของหุ้นที่ 12.2 เท่าอยู่
บล. บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) หรือ GFPT ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2562 และราคาเป้าหมาย เนื่องจากราคาไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มเฉลี่ยอยู่ที่ 32 บาท/กก. นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน จึงยังคงสมมติฐานราคาไก่มีชีวิตในประเทศของ ที่ 33 บาท/กก. สำหรับในปี 2561 แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เนื่องจากแนวโน้มและภาพที่ชัดเจนมากขึ้นของอุปทานไก่ในประเทศที่ลดลง จึงทำการปรับสมมติฐานราคาไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มสำหรับปี 2562 เพิ่มขึ้นอีก 9% (ไปอยู่ที่ 36 บาท/กก.)
ซึ่งจะอิงโดยตรงกับราคาขายผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนไก่ในประเทศของ GFPT ส่งผลให้ทำการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2562 ของ GFPT เพิ่มขึ้นอีก 10% ไปอยู่ที่ 1.5 พันล้านบาท ทำการปรับเปลี่ยนไปใช้เป็นราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2562 แทน (จากเดิม ณ สิ้นปี 2561) และได้ราคาเป้าหมายใหม่ซึ่งประเมินด้วยวิธี PEG ที่ 16.25 บาท ซึ่งราคาเป้าหมายใหม่ดังกล่าวคิดกลับมาเป็นอัตราส่วน PER ปี 2562 ได้เท่ากับ 13.57 เท่า
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท เอกชัยการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ EKH แนวโน้มกำไรไตรมาส3/61 คาดว่ายังโตทั้งเทียบไตรมาสก่อนหน้า และเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปีจากอานิสงส์ของ High Season และมีโรคระบาดค่อนข้างมาก ขณะที่ศูนย์ผู้มีบุตรยากเริ่มมีผู้ใช้บริการเร่งตัวขึ้นในช่วง 2 เดือนล่าสุดและมากกว่าเป้าของบริษัทซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่หนุนการเติบโตและคาดว่าจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบจากการเปิดอาคารศูนย์กุมารเวชในไตรมาส2/62
โดยได้ปรับประมาณการกำไรปกตีปี 2018-2019 ขึ้นเฉลี่ยราว 10% เป็นเติบโต 20.2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 4.3% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ สะท้อนกำไรครึ่งแรกปีก 61 ที่เด่นกว่าคาด พร้อมปรับใช้ราคาเหมาะสมปี 2019 ที่ 7.40 บาท โดยยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” และเป็น Top Pick สำหรับโรงพยาบาลขนาดเล็ก
*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน