เปิด 11 รายชื่อหุ้นโบรกฯแห่หั่นเป้า-ประมาณการกำไรปี 61-62
เปิด 11 รายชื่อหุ้นโบรกฯแห่หั่นเป้า-ประมาณการกำไรปี 61-62 นำทีม CPALL,TPIPP,BEC,AH,LPN,IT,GUNKUL, SPA,LPH,CBG,MODERN
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ทำการสำรวจบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งโบรกฯได้ปรับลดราคาเป้าหมายและปรับลดประมาณการกำไรในปี2561-2562 มานำเสนอเพื่อป็นแนวทางและปรับกลยุทธ์การลงทุน โดยกลุ่มหุ้นดังกล่าว ประกอบไปด้วย CPALL,TPIPP,BEC,AH,LPN,IT,GUNKUL,SPA,LPH,CBG,MODERN โดยเป็นการวิเคราะห์จากโบรกเกอร์ชั้นนำของไทยในช่วงเดือนกันยายน 2561 มีดังนี้
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ระยะสั้นแนวโน้มกำไรอาจทำได้เพียงทรงตัว เทียบไตรมาสก่อนหน้าในไตรมาส 3/61 จากทั้ง Low Season มีฝนตกเยอะ และผลตอบรับ Stamp Promotion ในปีนี้ไม่สดใสนัก แต่เชื่อว่าน่าจะได้เห็นการปรับกลยุทธ์นำเสนอของพรีเมี่ยมล็อตใหม่ในช่วงครึ่งหลังของ Promotion ซึ่งอาจเป็นที่ถูกใจลูกค้าได้มากขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของราคาเนื้อสัตว์น่าจะช่วยหนุนผลประกอบการของ MAKRO และลดทอนผลกระทบจากค่าใช้จ่ายการเปิดสาขาใหม่ในต่างประเทศได้
โดยคาดภาระดอกเบี้ยจ่ายอาจลดลงในไตรมาส 4/61 ภายหลังนำเงินที่ได้จากการขายหุ้น MAKRO มาชำระหุ้นกู้ 1 หมื่นล้านบาท ที่จะครบกำหนดในเดือน ต.ค. นี้ จึงคาดกำไรสุทธิ ไตรมาส4/61 จะกลับมาฟื้นตัวในแง่ เทียบไตรมาสก่อนหน้าอีกครั้ง
ทั้งนี้ปรับลดกำไรสุทธิปีนี้ลงเล็กน้อย 2% เป็นการเติบโต 2.7% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดิมคาดโต 4.8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนถือเป็นการเติบโตต่ำสุดในรอบ 4 ปี และคาดกำไรจะกลับมาเติบโตดีขึ้นในปี 2019 ราว 14.6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปรับลดราคาเป้าหมายปีนี้ลงเป็น 82 บาท จากเดิม 84 บาท (DCF) ยังมี Upside 19.7% มองราคาหุ้นได้สะท้อนกำไรที่ไม่สดใสในปีนี้ไปแล้ว และ CPALL ถือเป็นหุ้นในกลุ่มค้าปลีกที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงเลือกตั้ง เมื่ออิงการเลือกตั้ง 4 ครั้งหลังสุด ดัชนี SETCOM ให้ผลตอบแทนดีสุดในช่วง 3 เดือนก่อนเลือกตั้งที่ 9.2% และรองมาคือ 5 เดือนหลังเลือกตั้งที่ 8.2% แนะนำซื้อลงทุน
บล.เคทีซีมิโก้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP จากการขยายกำลังการผลิตกว่าเท่าตัวในปีนี้ จะทำให้กำไรของ TPIPP เติบโตทั้ง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และเทียบไตรมาสก่อนหน้า ต่อเนื่องไปอีก 3 ไตรมาสติดต่อกัน TPIPP ยังน่าสนใจ จากกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งและจ่ายปันผลจูงใจ ซึ่งคาดว่าบริษัทจะจ่ายปันผลรายไตรมาสในอัตรา 0.10 บาท/หุ้น ได้ต่อเนื่อง
ปรับลดประมาณการกำไรปกติลงเล็กน้อย 1% สำหรับปี 2018E และ 3.4%-3.6% สำหรับปี 2019E-20E จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงของโรงไฟฟ้า กำลัง 70 เมกะวัตต์ (MW) ปรับราคาเป้าหมายใหม่เป็นปี 2019E ที่ 7.25 บาท (ต่ำกว่าราคาเป้าหมายปี 2018E ที่ 8.10 บาท) ยังมี upside 9% และปันผล 6% คงคำแนะนำ “ซื้อ”
บล.เคทีซีมิโก้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC แม้สามารถเพิ่มรายได้สำเร็จจากการขายใบอนุญาตคอนเทนท์ และจากแพล็ตฟอร์มดิจิทัล แต่ มองว่ามูลค่าหุ้นดูแพงเกินไป ปรับลดคาดการณ์กำไรปกติลง 47%-65%สำหรับปี 2018E-20E จากการปรับลดคาดการณ์รายได้โฆษณาลงและปรับราคาเป้าหมายเป็นปีหน้าได้มูลค่าลดลงเป็น 5.60 บาท คงคำแนะนำ “ขาย”
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH แนวโน้ม ครึ่งหลังปี 2561 ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับ AH เพราะ ครึ่งแรกปี 2561 ที่ผ่านมา รายได้รวมโต 11% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมในประเทศ ที่ยอดผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น 11% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1.06 ล้านคัน
ซึ่งต่างจากผู้ผลิตชิ้นส่วนรายอื่นที่เมื่อกระจายธุรกิจไปแล้ว มีการเติบโตได้ดีกว่าอุตสาหกรรมในประเทศ แต่ที่กำไรปกติของ AH ยังโตสูง 49% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 702 ล้านบาท เพราะการบันทึกดอกเบี้ยรับจาก SGAH ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ ไตรมารส3/60 ทำให้การเทียบผลการดำเนินงานในครึ่งหลังปี 2561 จะไม่ได้รับผลบวกส่วนนี้
ขณะที่การขยายธุรกิจในต่างประเทศของ AH เริ่มยากขึ้น จากความผันผวนของค่าเงิน ประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและยุโรป และปัญหาขาดทุนสต็อกรวมถึงการขยายการลงทุนใน SGAH ที่สหรัฐฯ เบื้องต้น คาดกำไรสุทธิ ครึ่งหลังปี 2561 ที่ 583 ล้านบาท ลดลง 6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปรับกำไรสุทธิปี 2018-2019 ลง 9% และ 6% เหลือ 1,285 ล้านบาท (+11% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) และ 1,336 ลบ. (+4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) ตามลำดับ จากการปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ซึ่ง ครึ่งแรกปี 2561 เร่งตัวขึ้นมากกว่าคาด และปรับลดส่วนแบ่งกำไรของบริษัทร่วม โดย คาดว่ายังถูกถ่วงจาก SGAH ที่มีปัญหาขาดทุนสต็อกและการขยายการลงทุนในโรงงานที่สหรัฐฯ ส่วนการปรับลดด้อยค่า Goodwill ของ SGAH ลง 59 ล้านบาทใน 2Q18 แม้จะเกิดขึ้นไม่บ่อยแต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก ถ้ากำไรของ SGAH ไม่เป็นไปตามเป้าที่ให้ไว้
ผลจากการปรับลดประมาณการลง พร้อมไปกับการปรับลด PE Multiplier ลงจาก 11 เท่า เหลือ 10 เท่า ให้เท่ากับช่วงเติบโตปกติ ทำให้ราคาเป้าหมายปี 2018 ลดลงเหลือ 40 บาท จาก 47 บาท เมื่อพิจารณาร่วมกับผลประกอบการ ครึ่งหลังปี 2561 ที่ คาดว่าจะไม่โดดเด่น (คาด 583 ล้านบาท ลดลง 6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) เพราะฐานปีก่อนสูง และการลงทุนในเวียดนามที่จะได้ผลบวกแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเบื้องต้นมีคำสั่งซื้อแท่นพิมพ์และอุปกรณ์จับยึดรวมกันราว 1.8 พันล้านบาท จึงปรับลดคำแนะนำลงจากซื้อเป็นถือ
บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN (ถือ-พื้นฐาน 10.40 บาท -2.80%) ยังคงคำแนะนำ “ถือ” แม้จะปรับลดราคาพื้นฐานลงเล็กน้อยเป็น 10.40 บาทจาก 10.60 บาท หลังปรับลดประมาณการกำไรปี 2561-63 ลง 3.7/3.4/3.1% จากการที่ มีมุมมองอนุรักษ์นิยมมากขึ้นบนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทหลังยอดขายโครงการในมือหลายโครงการทำยอดขายได้ค่อนข้างช้า
ดังนั้นจึงคาดเห็นการใช้จ่ายการตลาดเพื่อสนับสนุนการขายที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามยอดขายไตรมาส 3/2561 ที่คาดจะสูงกว่ารายได้จะยังทำให้ backlog มีทิศทางขาขึ้น ซึ่งสนับสนุนทิศทางการฟื้นตัวของผลประกอบการ แต่ทั้งนี้ระดับ backlog ปัจจุบันยังไม่สูงหากเทียบกับรายได้ ทำให้การเติบโตยังมีความไม่แน่นอนและจำต้องพึ่งพาความสำเร็จของโครงการใหม่ๆอีกพอสมควรในภาพรวม จึงยังมีมุมมองเป็นกลางต่อบริษัท
โดยประเด็นที่คาดจะมีผลต่อราคาหุ้น ได้แก่ ยอดขายโครงการใหม่ และกำไรไตรมาส 4/2561 ที่ คาดจะทำจุดสูงสุดใหม่ใน 2 ปีก่อนที่จะปรับลดลงในครึ่งปีแรกของปี 2562 นอกจากนี้มาตรการกระตุ้นอสังหาฯจากรัฐบาลหากออกมาจริง คาดว่า LPN จะเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้ผลประโยชน์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท ไอที ซิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ IT ด้วยแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส3/61 ที่อาจชะลอตัวกว่าคาด จากผลของฤดูฝนที่ยาวนานกว่าปกติและปัญหาน้ำท่วมหลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้บรรยากาศการซื้อขายสินค้าไอทีในสาขาต่างจังหวัด ที่มีสัดส่วนราว 60% เป็นไปอย่างเงียบเหงา แต่ค่าใช้จ่ายกลับเร่งตัวขึ้นจากการเปิดสาขาใหม่ในโลตัส ทำให้ ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปีนี้ลงจากเดิม 13% เหลือ 73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยปรับลดราคาเป้าหมายปี 2018 ลงจาก 6.90 บาทเหลือ 5.00 บาท อิง PE Multiplier 20 เท่า พร้อมกับปรับลดคำแนะนำลงจากซื้อเป็นถือ โดยคาดหวังจะเห็นการฟื้นตัวอีกครั้งใน ไตรมาส 4/61 ที่กำลังซื้อควรจะกลับมาตามปัจจัยฤดูกาลที่เป็น High Season โดย ให้ switch ไปเป็น SYNEX ชั่วคราว จากลักษณะธุรกิจที่มีความอ่อนไหวต่อการบริโภคของภาคครัวเรือนน้อยกว่า และผลประกอบการครึ่งหลังปี 2561 ที่จะ Outperform กลุ่มเพราะฐานปีก่อนต่ำ
บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ยังคงคำแนะนำซื้อแต่ปรับลดราคาเป้าหมายกลางปี 2562 ลงจาก 4.60 บาทเป็น 4.10 บาท หลังจากที่ ได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 2561-63 ลง 1-5% อันเป็นผลมาจากการปรับสมมติฐานด้านการดำเนินงานหลักๆ และงบลงทุนบริษัท
อย่างไรก็ดีในเชิงพื้นฐานแล้ว ยังชอบ GUNKUL เพราะคาดว่าบริษัทจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ในด้านกำไรปี 2561-63 ที่ 48% และคาดว่ากำไรในระยะสั้นจะปรับดีขึ้นในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า ด้วยแรงหนุนจากปัจจัยตามฤดูกาลของความเร็วลม และการเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) ของโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ (solar farm) 2 โครงการในญีปุ่น ส่วนความเสี่ยงเชิงบวก (upside risk) คือโอกาสการลงทุนในโครงการ solar farm และโครงการแผงพลังแสงอาทิตย์บนหลังคา (solar rooftop) ในต่างประเทศ
บล.เคทีซีมิโก้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท สยามเวลเนสกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ SPA กำลังเปิดตัวคอนเซ็ปต์บริการสาขาใหม่ที่เน้นลูกค้ากลุ่มพนักงานบริษัท ซึ่ง มองว่าดูมีศักยภาพเติบโต นอกจากนี้ การขยายธรุกิจในปีนี้จะเป็นไปได้ตามเป้าหมายของบริษัท เพราะมีแผนเปิดสาขาใหม่อีก 9 สาขา ในครึ่งหลังปี 2561E ยังคงมุมมองบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของ SPA แม้ปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2018-19E ลง 5% และ 12% ปรับราคาเป้าหมายเป็นราคาปี 2019E ได้ที่ 23.00 บาท คงแนะนำ “ซื้อ”
บล.เคจีไอ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท โรงพยาบาล ลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) หรือ LPH กำไรสุทธิใน ครึ่งแรกปี 2561 อยู่ที่ 91 ล้านบาท (+12.1% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) ในขณะที่กำไรจากธุรกิจหลักในครึ่งแรกปี 2561 อยู่แค่ 33 ล้านบาทเท่านั้น (-54.5% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) ซึ่งเป็นระดับที่น่าผิดหวัง
เนื่องจาก i) margin ของโรงพยาบาลลดลงใน 2Q61 ii) ผลประกอบการของ AMARC ติดลบ (ขาดทุนประมาณ 2 ล้านบาทจากที่มีกำไรปกติไตรมาสละ 3 ล้านบาท) เนื่องจากมีการพัฒนาระบบเพื่อยกมาตรฐานให้สูงขึ้น และ iii) รายได้จากการลงทุนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (ขาดทุนสุทธิ 10 ล้านบาทใน 2Q61 จากไตรมาสก่อนๆ ที่มีกำไรอย่างน้อย 5 ล้านบาท) จากกองทุนส่วนบุคคล เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ดังนั้น ผลประกอบการใน ครึ่งแรกปี 2561 ของบริษัท จึงต่ำกว่าประมาณการของ และ consensus ของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ
ปรับลดประมาณการกำไรจากธุรกิจหลักในปี 2561-62 ลง 36.8% และ 37.2% ตามลำดับ และคาดว่ากำไรสุทธิของ LPH ในปี 2561-62F จะอยู่ที่ 180 ล้านบาท (-7.2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) และ 154 ล้านบาท (-18.0% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) ซึ่งสะท้อนถึงรายได้ที่ชะลอลงจากการที่ ใช้สมมติฐานอัตราการเติบโตของรายได้ที่ระมัดระวังมากขึ้นในช่วงสามปีที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บวกกับ margin ที่ลดลง และค่าใช้จ่าย SG&A ที่เพิ่มขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะปรับมุมมองมาเป็นบวกมากขึ้น หากศูนย์การแพทย์เฉพาะทางของบริษัทแสดงอัตรากำไรที่สูงกว่าคาดการณ์ของ ในอนาคต โดยที่ผ่านมา เห็นว่าพัฒนาการของการดำเนินงานของศูนย์การแพทย์เฉพาะทางยังต่ำกว่าคาด ส่งผลให้ margin ต่ำกว่าคาดในช่วงครึ่งแรกปี 2561ขยับไปใช้ราคาเป้าหมายกลางปี 2562 ที่ 7.36 บาท (DCF ใช้ WACC ที่ 8% และ TG ที่ 3.0%) ลดลงจากเดิมที่ 10.52 บาท ทั้งนี้ ปรับลดคำแนะนำเป็นถือ (จากซื้อ)
บล.เอเชีย เวลท์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG ครึ่งปีหลัง2561ก็ยังห่างไกลจากเป้าหมายเดิม: แนวโน้มไตรมาส 3/61 คาดว่ายอดขายจะฟื้นตัว เทียบไตรมาสก่อนหน้า จากยอดขายในประเทศ เติบโตต่อเนื่องจาก CLMV และคาดว่ายอดขายจีนจะกระเตื้องขึ้น แต่ทั้งนี้ ต้องหั่นเป้าหมายยอดขายที่จีนลงจากเดิมคาดไว้ประมาณ 300 ล้านกระป๋องในปี 2561 เนื่องจากครึ่งแรกปี 2561 เพิ่งทำยอดขายได้เพียง 50 ล้านกระป๋องจึงปรับลดเป้าหมายลงมาที่ 120 ล้านกระป๋อง ในปี 2561 และ 160 ล้านกระป๋องในปี 2562 แต่เริ่มกังวลแล้วว่าสินค้า CBG ไม่ได้รับความนิยมในประเทศจีน ซึ่งผิดไปจากที่ผู้บริหารเคยให้เป้าหมายไว้
นอกจากนี้ใน UK ก็หั่นเป้าลงมาจากเดิม 40 ล้านกระป๋อง มาเป็น 12 ล้านกระป๋อง เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง การเข้าไปขายใน Modern Trade ได้ช้ากว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ อีกทั้งมาประสบปัญหาใหม่คือ ทางรัฐบาลอังกฤษเตรียมออกกฎหมายห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังที่มีกาเฟอีนสูงให้แก่เด็กและเยาวชนต่ำกว่า 16 ปี (หรือ 18 ปี) โดยมองว่าการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังซึ่งมีน้ำตาลและกาเฟอีนสูงเป็นประจำคือสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วน และยังก่อปัญหาสุขภาพตามมา
ปรับคำแนะนำจากซื้อเป็นขาย ปรับลดประมาณการกำไร และปรับราคาเป้าหมายใหม่อยู่ที่ 36 บาท จากเดิม 89 บาท : ผิดหวังอย่างแรงกับยอดขายในจีนและอังกฤษที่พลาดเป้าหมายจากที่ผู้บริหารบริษัทให้ไว้อย่างมาก อีกทั้งตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศก็เติบโตน้อยในช่วง ครึ่งแรกปี 2561
แม้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยจะออกมาดี GDP Growth ไตรมาส 1/61 และ 2/61 เติบโตสูง 4.8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 4.6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับแต่ภาคการบริโภคในประเทศยังเห็นสัญญาณการเติบโตน้อย และไม่ได้รับผลบวกจากเศรษฐกิจในภาพรวมดีขึ้น
เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอย่างมากเป็นเวลาต่อเนื่อง กระทบอำนาจซื้อของประชาชนระดับรากหญ้าในวงกว้าง โดยเฉพาะเศรษฐกิจในต่างจังหวัด ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักกลุ่มหนึ่งของสินค้าเครื่องดื่มที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจระดับรากหญ้าอ่อนแอต่ออีกในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะยังไร้สัญญาณการฟื้นตัวของสินค้าเกษตร ซึ่งไม่เพียงแต่สินค้าเกษตรของไทยเท่านั้นที่ราคาตกต่ำ
โดยพบว่าสินค้าเกษตรหลายชนิดของประเทศสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ และจีน ก็ราคาตกต่ำด้วย ทั้งถั่วเหลือง ข้าวโพด กระเทียม และอื่น ๆ คาดว่าเป็นเพราะปีนี้ผลผลิตดี ไม่มีภัยธรรมชาติรุนแรง ซัพลลายสินค้าล้นตลาด และยังมีเหตุการณ์เรื่องสงครามการค้ามาบั่นทอนความมั่นใจในการผลิตของผู้ประกอบการโรงงานด้วย
ดังนั้นจึงแนะนำขายหุ้น CBG ออกไปก่อน รอสัญญาณความชัดเจนจากการเติบโตของยอดขายในอังกฤษและจีน ซึ่งคาดว่าต้องให้เวลาอีกประมาณ 2 ปีจากนี้ไป จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ลงจาก 1.4 พันล้านบาท เป็น 1.0 พันล้านบาท และปรับลดกำไรสุทธิปี 2562 ลงจาก 2.5 พันล้านบาท เป็น 1.5 พันล้านบาท ปรับลดคำแนะนำจากซื้อ เป็นขาย ปรับราคาเป้าหมายจาก 89 บาท เป็น 36 บาท อิงค่า PER ที่ 22 เท่าของปี 2562
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MODERN ปรับประมาณกำไรสุทธิปี 2018-2019 ของ MODERN ลงจากเดิม 24% และ 22% เหลือ 215 ล้านบาท (ทรงตัว เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) และ 232 ล้านบาท (+8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) ตามลำดับ จากการปรับลดอัตรากำไรขั้นต้นลง ตามสภาพการแข่งขันในตลาดลูกค้าบ้านและคอนโดฯที่รุนแรงขึ้น อีกทั้ง ยังปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจากทั้งการโฆษณาสินค้าใหม่และการรุกตลาดใหม่เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม
คาดผลประกอบการของ MODERN กำลังอยู่ในช่วง Bottom Out เพราะลูกค้าอีกกว่าครึ่งของรายได้รวมคือกลุ่มตลาดออฟฟิสและมิกซ์ยูสที่เติบโตดี อีกทั้ง โมเดอร์นฟอร์มเฮลท์แอนด์แคร์ยังมีกำไรเติบโตต่อเนื่อง และมีแผนเข้า MAI ในปีหน้า หลังจากปรับลดกำไรลง ทำให้ราคาเป้าหมายปีนี้ลดลงเหลือ 5.20 บาท (อิง PE 18 เท่า) แนะนำซื้อในฐานะหุ้นปันผลที่สม่ำเสมอราว 6-7% ต่อปี
*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน