“คุมค่ายา” กดกำไรหุ้นรพ.ฮวบ! LPH อ่วมสุดกระทบกำไร 12%
“คุมค่ายา” กดกำไรหุ้นรพ.ฮวบ! LPH อ่วมสุดกระทบกำไร 12%
สืบเนื่องจากกรณีที่วานนี้ (9 ม.ค.2562) คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้พิจารณาทบทวนรายการสินค้าและบริการประจำปี 2562 โดยในส่วนของบัญชีสินค้าควบคุมได้มีมติให้เพิ่มสินค้า 1 รายการ คือ ยาและเวชภัณฑ์ เข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าควบคุมส่งผลให้ปี 2562 มีสินค้าและบริการควบคุม 52 รายการ
โดย กกร.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 1 ชุด ประกอบด้วย ตัวแทนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข สมาคมประกันภัย ตัวแทนโรงพยาบาลเอกชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้เข้ามาทำหน้าที่ในการศึกษาและพิจารณาหาข้อสรุปเกี่ยวกับมาตรการที่จะเข้ามาดูแล
สำหรับประเด็นดังกล่าวหากมีผลบังคับใช้จริงคาดว่าจะกระทบต่อ หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล เนื่องจากจะส่งผลให้ธุรกิจโรงพยาบาลมีการเติบโตได้ยากขึ้นจากต้นทุนที่จะต้องแบกรับเพิ่ม
โดยนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนะสิน ได้มีการประเมินพร้อมกับเปิดเผยข้อมูลกับ “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ว่า สัดส่วนรายได้ค่ายาของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS อยู่ที่ 27-30% ส่วนค่าธรรมเนียมแพทย์ 21-23% ค่าแลปและอุปกรณ์พยาบาล 10-15% และค่าดำเนินการ 32-42% ทั้งนี้หากเกณฑ์การขึ้นบัญชีสินค้าควบคุมมีผลบังคับใช้จริงคาดว่าจะกระทบต่อกำไรสุทธิของ BDMS ประมาณ 9% จากกำไรสุทธิปี 2562 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 11,113 ล้านบาท
ด้าน บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BH สัดส่วนรายได้ค่ายาของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS อยู่ที่ 25-30% ส่วนค่าธรรมเนียมแพทย์ 22-25% ค่าแลปและอุปกรณ์พยาบาล 13-15% และค่าดำเนินการ 30-40% ทั้งนี้หากเกณฑ์การขึ้นบัญชีสินค้าควบคุมมีผลบังคับใช้จริงคาดว่าจะกระทบต่อกำไรสุทธิของ BH ปราณ 5% จากกำไรสุทธิปี 2562 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 4,465 ล้านบาท
ขณะที่ สัดส่วนรายได้ค่ายาของบริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) หรือ BCH อยู่ที่ 15-20% ส่วนค่าธรรมเนียมแพทย์ 20-22% ค่าแลปและอุปกรณ์พยาบาล 10-15% และค่าดำเนินการ 43-55% ทั้งนี้หากเกณฑ์การขึ้นบัญชีสินค้าควบคุมมีผลบังคับใช้จริงคาดว่าจะกระทบต่อกำไรสุทธิของ BCH ประมาณ 6% จากกำไรสุทธิปี 2562 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1,298 ล้านบาท
ด้าน สัดส่วนรายได้ค่ายาของ บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) หรือ CHG อยู่ที่ 15-20% ส่วนค่าธรรมเนียมแพทย์ 20-22% ค่าแลปและอุปกรณ์พยาบาล 10-15% และค่าดำเนินการ 43-55% ทั้งนี้หากเกณฑ์การขึ้นบัญชีสินค้าควบคุมมีผลบังคับใช้จริงคาดว่าจะกระทบต่อกำไรสุทธิของ CHG ประมาณ 5% จากกำไรสุทธิปี 2562 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 758 ล้านบาท
ขณะที่ สัดส่วนรายได้ค่ายาของบริษัท โรงพยาบาล ลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) หรือ LPH อยู่ที่ 20-25% ส่วนค่าธรรมเนียมแพทย์ 20-22% ค่าแลปและอุปกรณ์พยาบาล 10-15% และค่าดำเนินการ 38-50% ทั้งนี้หากเกณฑ์การขึ้นบัญชีสินค้าควบคุมมีผลบังคับใช้จริงคาดว่าจะกระทบต่อกำไรสุทธิของ LPH ประมาณ 12% จากกำไรสุทธิปี 2562 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 145 ล้านบาท
ด้านสัดส่วนรายได้ค่ายาของ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG อยู่ที่ 20-23% ส่วนค่าธรรมเนียมแพทย์ 20-22% ค่าแลปและอุปกรณ์พยาบาล 10-15% และค่าดำเนินการ 40-50% ทั้งนี้หากเกณฑ์การขึ้นบัญชีสินค้าควบคุมมีผลบังคับใช้จริงคาดว่าจะกระทบต่อกำไรสุทธิของ THG ประมาณ 10% จากกำไรสุทธิปี 2562 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 734 ล้านบาท
และสัดส่วนรายได้ค่ายาของ บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) หรือ VIBHA อยู่ที่ 25-30% ส่วนค่าธรรมเนียมแพทย์ 20-23% ค่าแลปและอุปกรณ์พยาบาล 10-15% และค่าดำเนินการ 32-45% ทั้งนี้หากเกณฑ์การขึ้นบัญชีสินค้าควบคุมมีผลบังคับใช้จริงคาดว่าจะกระทบต่อกำไรสุทธิของ VIBHA ประมาณ 9% จากกำไรสุทธิปี 2562 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 973 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ามาตรการที่จะทำออกมาจะทำให้ราคายาและเวชภัณฑ์ รวมถึงบริการทางการแพทย์ราคาลดลงหรือไม่ โดยต้องรอข้อสรุปของคณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้น
ด้าน บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์ โดยให้ความเห็นเกี่ยวกับการให้เวชภัณฑ์เป็นสินค้าควมคุม โดยมองว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ ซึ่งคิดเป็น 8% ของรายได้รวมซึ่งน้อยกว่ากรณีก่อนคือค่ายา (30% ของรายได้) ที่เป็นสินค้าควบคุมอยู่ในปัจจุบันอยู่แล้ว ดังนั้นหากรวมเวชภัณฑ์ด้วยจะมีสินค้าค้าควบคุมที่ 52 ซึ่งจะสร้างความสับสนหากรวมค่าบริการการแพทย์ซึ่งมันต้องเป็นรายการกระทรวงพาณิชย์คงพยายามผลักดันประเด็นนี้ต่อไป โดยต้องรับความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายรวมถึงฝั่งโรงพยาบาลด้วย
ดังนั้นเรื่องความเสี่ยงนี้จะยังคงยื่นต่อไป ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์เองหรือ รพ.เอกชน ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าจะควบคุมค่ารักษาพยาบาลอย่างไร ข่าวนี้อาจสร้างผลกระทบบรรยากาศการลงทุนในด้านลบต่อราคาหุ้นในระยะสั้น แต่คาดว่าไม่สามารถมีข้อสรุปด้านการคุมค่าบริการได้ในระยะสั้น จึงแนะกลยุทธ์ ทยอยเก็บถ้าหุ้นลงแรง : Trading BUY : BH, BDMS and BUY BCH